The อัตลักษณ์สภาพอากาศจังหวัดเชียงใหม่ที่ส่งผลต่อสภาวะน่าสบายที่ยอมรับได้เพื่อการออกแบบอาคารระบบธรรมชาติ
คำสำคัญ:
สภาพอากาศ, สภาวะน่าสบาย, การออกแบบระบบธรรมชาติ, เชียงใหม่บทคัดย่อ
สภาพอากาศเป็นดัชนีการออกแบบอาคารหนึ่งในการเลือกใช้เทคนิคทางธรรมชาติ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เข้าใจสภาพอากาศเฉพาะท้องถิ่นเชียงใหม่ได้โดยประเมินจากแผนภาพไบโอไคลเมติก และเข้าใจศักยภาพการออกแบบระบบธรรมชาติ ด้วยเงื่อนไขที่ยอมรับได้ของสภาวะน่าสบายตามมาตรฐาน ASHRAE 55 วิเคราะห์ตามเงื่อนไขช่วงเวลาการใช้งานอาคาร มวลสารอาคาร และความเร็วลม พบว่าลักษณะเฉพาะสภาพอากาศส่วนใหญ่ 29.50% มีลักษณะอุณหภูมิสูง ความชื้นเหมาะสม รองลงมา 23.97% มีลักษณะอุณหภูมิเหมาะสมแต่ความชื้นสูงมาก และ 21.01% มีลักษณะสภาวะน่าสบาย ส่วนศักยภาพของการออกแบบระบบธรรมชาติ พบว่าการใช้งานในช่วงกลางวัน 10.00-17.00 น. มีสัดส่วนสภาวะน่าสบายที่ยอมรับได้น้อยเนื่องจากอิทธิพลของอุณหภูมิโดยเฉพาะในฤดูร้อนและฝน กรณีอาคารมวลสารน้อยจะมีสัดส่วนสภาวะน่าสบายใกล้เคียงกับภายนอก กรณีอาคารมวลสารกลางมีสัดส่วนสภาวะน่าสบายน้อยเนื่องจากปัญหาการสะสมความร้อน ซึ่งหากไม่เปิดหน้าต่างจะยิ่งมีสัดส่วนสภาวะน่าสบายน้อยลง ส่วนกรณีอาคารมวลสารมากจะมีความสามารถในการกักเก็บความร้อนได้นานกว่าจึงมีสัดส่วนสภาวะน่าสบายสูงที่สุด
References
Center for the Built Environment. (2017). CBE thermal comfort tool. (In English) [Thermal comfort tool] Retrieved April 13, 2018, from https://comfort.cbe.berkeley.edu.
Chanthima, U., Hengrasmee, S., Chansomsak, S. & Yiemwattana, S. (2017). Karn oakbab phananglae plueak arkan phuea prayad phalangngan samrab arkan anekprasong Mahawitthayalai Naresuan. (In Thai) [Wall and Building envelope design to save energy for Nasesuan University Multipuepose Building]. Journal of Environmental Design, 4 (2), 20-49.
Olgyay, V. (1992). Design with climate: bioclimatic approach to architectural regionalism, New York: Van Nostrand Reinhoold.
The Thai Meteorological Department. (2018, January 10). Hourly recording report. Sub Division of Thai Meteorological Department of Thailand, Chiang Mai.
The Thai Meteorological Department. (2018, January 10). Monthly recording report. Sub Division of Thai Meteorological Department of Thailand, Chiang Mai.
Tongtuam, Y. (2004). Prohgraem kompiwter phuea pramual phon lae pramuen kha datchani karn prayad phalangngan khong arkan nai phumi akat ron chuen. (In Thai) [Computer program to process and evaluate energy conservation index for buildings in a hot-humid climate] (Master’s thesis). Bangkok: Chulalongkorn University.