สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นแบบเคลื่อนที่ของชาวเล: กรณีศึกษา ชาวมอแกนในหมู่เกาะสุรินทร์ จังหวัดพังงา และชาวอูรักลาโว้ยในบ้านโต๊ะบาหลิว เกาะลันตาใหญ่ จังหวัดกระบี่

ผู้แต่ง

  • อัมพิกา อำลอย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • วีระ อินพันทัง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

ชาวมอแกน, ชาวอูรักลาโว้ย, การตั้งถิ่นฐานชั่วคราว, สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น, นิเวศวิทยาวัฒนธรรม

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งศึกษาลักษณะการตั้งถิ่นฐาน และการก่อรูปสถาปัตยกรรมของชาวเลในช่วงก่อนการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตจากการเดินทางเร่ร่อนมาสู่การตั้งถิ่นฐานถาวร เป็นงานวิจัยภาคสนาม โดยเลือกทำการวิจัยในชาวเล 2 กลุ่ม คือ ชาวมอแกนในหมู่เกาะสุรินทร์ จังหวัดพังงา และชาวอูรักลาโว้ยในบ้านโต๊ะบาหลิว เกาะลันตาใหญ่ จังหวัดกระบี่ ซึ่งเป็นกลุ่มที่สามารถธำรงวัฒนธรรมดั้งเดิมไว้ได้เหนียวแน่น กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยการกำหนดคุณลักษณะขึ้นเพื่อเป็นบรรทัดฐานในการคัดเลือก ผลการวิจัยค้นพบว่า วิถีชีวิตเร่ร่อนทางทะเลเป็นทางเลือกที่เหมาะสมของชาวเลในช่วงเวลาหนึ่ง ความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติเป็นปัจจัยสำคัญที่ดึงดูดให้ชาวเลผู้ดำรงตนอยู่ในสังคมเก็บหาและล่าสัตว์เข้ามาอยู่อาศัย และทำมาหากินในเขตทะเลอันดามัน ชาวเลอาศัยอยู่ร่วมกับธรรมชาติในลักษณะพึ่งพา เน้นการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมมากกว่าการเข้าไปจัดการ เห็นได้จากแบบแผนการดำรงชีพที่หมุนเวียนไปตามสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ เมื่อชาวเลตัดสินใจปักหลักอยู่ ณ บริเวณใดบริเวณหนึ่ง จะจอดเรือ แล้วยกหลังคาเรือมาเสริมความแข็งแรงด้วยวัสดุที่หาได้ในละแวกถิ่นฐาน เพื่อดัดแปลงเป็นเพิงพัก เมื่อลมมรสุมได้ผ่านพ้นไปหรือความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งอาหารเริ่มลดลง จะออกเดินทางด้วยเรืออีกครั้ง ถือว่าเป็นการตั้งถิ่นฐานชั่วคราว เกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ ขึ้นอยู่กับฤดูกาล โดยเฉพาะอิทธิพลของลมมรสุม ทั้งนี้เรือและเพิงพักของชาวเล ถือว่าเป็นสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นแบบเคลื่อนที่ ซึ่งได้รับการจัดทำขึ้นเพื่อตอบสนองการอยู่อาศัยในชีวิตประจำวันให้รอดปลอดภัยและสะดวกสบายเพียงพอ สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นเป็นผลของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งที่มนุษย์สร้างและสิ่งแวดล้อม

References

Anawatprayoon, K. (2000). Phan mai kup patjai tee mee itthiphon tor pariman karn chai mai khong chao le Moken phuentee mu ko Surin changwat Phangnga. (In Thai) [Plant species and factors affecting on wood consumption of sea gypsy (Moken) at Surin archipelago Phang-Nga] (Master’s thesis). Bangkok: Kasetsart University.

Arunotai, N. (2006). Pracha sangkhom lae chumchon khemkhaeng nai boribot khong klum chai khop koranee sueksa klum chao le nai prathet Thai. (In Thai) [Civil society and community strength in the context of marginalized group: the case of sea nomads in Thailand]. Bangkok: Thailand Research Fund.

Arunotai, N. (2014). Taksa wattanatham chao le roi rueangrao chao le Moken Moklen lae Urak Lawoi phu kla haeng Andaman. (In Thai) [Cultural skill: many stories of Moken Moklen and Urak Lawoi the brave people of Andaman]. Bangkok: Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre.

Krainatee, M. (2009). Pattanakarn khong karn tang thinthan chumchon Urak Lawoi nai phuentee Phuket chak mum mong niwet wattanatham. (In Thai) [Development of Urak Lawoi community settlement in Phuket from cultural ecology perspective] (Master’s thesis). Bangkok: Chulalongkorn University.

Sadjarak, S. (2011). Neawtang karn songsoem karn rianru phuea raksa atta lak chao le Moken. (In Thai) [Approach to enhance learning on the preservation of Moken gypsies’ identity] (Doctoral dissertation). Bangkok: Silpakorn University.

Sopher, D. E. (1977). The sea nomads: a study of the maritime boat people of Southeast Asia. Singapore: National Museum.

Thaewchatturat, A. (2000). Phrueksasat phuenban khong chao Moken uthayan haeng mu ko Surin amphoe Khura Buri changwat Phangnga. (In Thai) [Ethnobotany of Moken at Moo Ko Surin national park, amphoe Khura Buri changwat Phangnga] (Master’s thesis). Bangkok: Kasetsart University.

Ukrisana, A. (1989). Phithi loi ruea phap sathon sangkhom lae wattanatham khong chao le koranee sueksa chumchon ban Hualaem ko Lanta changwat Krabi. (In Thai) [The boat floating ritual: a reflection of the social and cultural life of chao le a case study in ban Hua Laem, ko Lanta changwat Krabi, Thailand] (Master’s thesis). Bangkok: Silpakorn University.

Winthrop, R. H. (1991). Dictionary of concepts in cultural anthropology. New York: Greenwood.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

02-01-2020