วิหารทรงจ้างมูบในพื้นที่จังหวัดพะเยาและพื้นที่ใกล้เคียงในแขวงไซยะบูลี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
คำสำคัญ:
จ้างมูบ, วิหาร, วัด, จังหวัดพะเยา, แขวงไซยะบูลีบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มุ่งศึกษารูปทรง ผังพื้น และการใช้งานพื้นที่ภายในของวิหารในพื้นที่จังหวัดพะเยาและพื้นที่ใกล้เคียงในแขวงไซยะบูลี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และมีระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยทำการศึกษาเชิงลึกในกลุ่มตัวอย่างวิหารทรงจ้างมูบหรือวิหารที่มีการลดชั้นหลังที่มุขโถงด้านหน้าวิหาร 1 ครั้งของวัดในพื้นที่จังหวัดพะเยา 24 หลัง และในพื้นที่ในแขวงไซยะบูลี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 19 หลัง การเก็บข้อมูลด้านสถาปัตยกรรมของวิหารทำโดยการร่างภาพผังพื้น การถ่ายภาพส่วนประกอบต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกวิหาร รวมทั้งสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องในเรื่องประวัติศาสตร์การก่อตั้งชุมชนและชาติพันธุ์หลักของชุมชน ประวัติศาสตร์การสร้างหรือซ่อมแซมวิหารและการใช้งานพื้นที่ภายในวิหาร ผลการวิจัยพบว่าวิหารทรงจ้างมูบในจังหวัดพะเยา และพื้นที่ใกล้เคียงในแขวงไซยะบูลีมีความคล้ายกันในรูปทรงของวิหารทรงจ้างมูบที่มีการลดชั้นหลังที่มุขโถงด้านหน้าวิหาร 1 ครั้ง และมีผังพื้นและการใช้งานพื้นที่ภายในวิหารที่แทบไม่ต่างกันเลย ซึ่งลักษณะของวิหารทรงจ้างมูบที่เชื่อมโยงกันนี้ถูกกำหนดด้วยคติความเชื่อและหลักพิธีกรรมที่ใกล้เคียงกันของชาติพันธุ์ไทลื้อและไทยวนซึ่งเป็นประชากรหลักตั้งถิ่นในทั้งสองพื้นที่ นอกจากนั้นชาวไทลื้อและไทยวนในทั้งสองพื้นที่ยังมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติและมีการไปมาหาสู่กันเพื่อค้าขายมานานก่อนการกำหนดเขตแดนระหว่างประเทศเช่นปัจจุบัน ลักษณะของวิหารทรงจ้างมูบซึ่งเชื่อมโยงวัฒนธรรมของทั้งจังหวัดพะเยาและแขวงไซยะบูลีเป็นตัวแทนแสดงถึงความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมที่มีมาอย่างยาวนานของคนทั้งสองพื้นที่ ซึ่งประเด็นการวิจัยนี้สามารถนำไปสู่ความร่วมมือทั้งทางการศึกษาด้านวัฒนธรรม และการท่องเที่ยวต่อไปในอนาคต
References
Herskovits, M. J. (1948). Man and his works: the science of cultural anthropology. New York: Alfred A. Knopf.
Linton, R. (1945). The science of man in the world crisis. New York: Columbia University Press.
Mekboonsonglap, S. (2012). Rubbab wihan nai changwat Phayao. (In Thai) [Patterns of vihara in Phayao province] (Master’s thesis). Chiang Mai: Chiang Mai University.
Ngaorangsi, C. (2001). Karn sueksa sathapattayakam phuen thin Phayao koranee sueksa arkhan praphet wat. (In Thai) [Study of Phayao local architecture case study of temple building]. Phitsanulok: Naresuan University.
Samakkaan, S. (1995). Karn plianplaeng tang wattanatham kub karn pattanakarn khong sangkhom. (In Thai) [Cultural change and social development]. Bangkok: NIDA Consulting Center.
Sirivejchapan, S. & Theeratanont, L. (1989). Sathapatayakam Phayao lae Nan. (In Thai) [Architecture of Phayao and Nan]. Chiang Mai: Social Research Institute, Chiang Mai University.
Vellinga, M. (2007). Anthropology and the materiality of architecture. American Ethnologist,
34 (4), 756-766.
Waterson, R. (2014). The living house: an anthropology of architecture in South-East Asia. Singapore: Tuttle Publishing.