กรอบความรู้เรื่องเพศสภาวะในเพลงไทย

Main Article Content

จิรเวทย์ รักชาติ
กาญจนา แก้วเทพ

Abstract

การศึกษากรอบความรู้เรื่องเพศในเพลงไทยพยายามที่จะแสดงให้เห็นถึงขอบฟ้าทางความคิดเกี่ยวกับเรื่องเพศในสังคมไทยในแต่ละยุคสมัยซึ่งปรากฏในบทเพลงไทยที่ทำหน้าที่ในการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับเรื่องเพศให้แก่คนในสังคมในแต่ละช่วงเวลาร่วมกันกับพื้นที่การสื่อสารอื่น ๆ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษากรอบความรู้เรื่องเพศที่กำหนดความเป็นชาย ความเป็นหญิง และความสัมพันธ์ชายหญิงที่ปรากฏในเนื้อร้องของบทเพลงไทยประเภทต่าง ๆ โดยออกแบบงานวิจัยเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบโบราณคดีของความรู้ในส่วนของการศึกษาวัตถุของวาทกรรมในการศึกษาผู้ชาย ผู้หญิง และความสัมพันธ์ชายหญิงในฐานะของวัตถุแห่งความรู้เรื่องเพศที่ปรากฏในเนื้อร้องของบทเพลงไทยประเภทต่าง ๆ ตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมาจนถึงปัจจุบัน

ผลการวิจัยพบว่า กรอบความรู้เรื่องเพศที่ปรากฏในสังคมไทยตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นจนถึงปัจจุบันที่กำหนดความเป็นชาย ความเป็นหญิง และความสัมพันธ์ชายหญิงนั้นสามารถแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบด้วยกัน คือ กรอบความรู้เรื่องเพศแบบเดิมจากศาสนาที่อาศัยหลักของการจัดระเบียบซึ่งพบในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น และกรอบความรู้เรื่องเพศแบบใหม่จากวิทยาศาสตร์ที่อาศัยมนุษย์เป็นศูนย์กลางของการจัดการความสัมพันธ์ต่าง ๆ โดยจะเริ่มพบรอยแตกระหว่างกรอบความรู้เดิมที่เปลี่ยนแปลงเข้าสู่กรอบความรู้แบบใหม่ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 และได้รับการยอมรับโดยสมบูรณ์หลังจากเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยตั้งแต่ พ.ศ.2475 เป็นต้นมา นอกจากนี้กรอบความรู้ยังแสดงความสัมพันธ์กันระหว่างพื้นที่การสื่อสาร อำนาจของสถาบันที่สร้างหรือกำหนดความรู้ และรูปแบบของความรู้ที่มีเหตุผลในแต่ละช่วงเวลาอย่างแยกไม่ออกอีกด้วย

 

Episteme of Gender on Thai Songs

The research of sexual episteme on Thai songs aims to reveal the horizon of thoughts about sexual knowledge in Thai history from Thai songs. The lyrics in Thai songs function for educating persons about sexuality in Thai society together with other communication areas. The objectives of this study are to study sexual episteme that order masculinity femininity and their sexual relationships emerge on the sorts of Thai songs. This qualitative research employed archaeology of knowledge (the formation of objects) as a methodology. The objects of sexual discourse are ‘man’ ‘woman’ and ‘man-woman relations’ in lyrics of Thai songs during Rattanakosin era (C.1781-2013) 

The results reveal that sexual episteme ordering masculinity, femininity and sexual relationships can divide to two types of sexual episteme. 1) the old sexual episteme from religion using ‘Order’ for sexual knowledge in early Rattanakosin era  (c.1781-1855) and 2) the new sexual episteme from science using ‘Man’ in the center of sexual relationships that start from the King Rama IV era and develop perfectly after the democratic revolution (c.1932-2013) In addition to, episteme reveal correlation between the communication areas, the power of the institutions constructing and ordering knowledge and the different forms of rational knowledge in Thai history.  

Article Details

Section
Articles