การรับรู้ถึงความใกล้ชิดกับพ่อแม่และการเปิดเผยตนเองของลูกในวัยรุ่น

Main Article Content

ปภาภรณ์ ไชยหาญชาญชัย

Abstract

บทความเชิงวิชาการชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอกรอบแนวคิดของความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ถึงความใกล้ชิดกับพ่อแม่ต่อการเปิดเผยตนเองของลูกในวัยรุ่น โดยอาศัยพื้นฐานแนวคิดจากทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ ทฤษฎีการบริหารความเป็นส่วนตัวในการสื่อสาร ทฤษฎีการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม และทฤษฎีการละเมิดความคาดหวัง มาเป็นแนวทางในการศึกษาประเด็นดังกล่าว โดยที่ในวัยเด็กนั้นลูกมักจะใช้เวลาอยู่กับพ่อแม่เสมอ แต่เมื่อก้าวเข้าสู่วัยรุ่นซึ่งเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงจากวัยเด็กสู่วัยผู้ใหญ่ ลูกกลับเริ่มตีตัวออกห่าง เช่น มีความลับกับพ่อแม่มากขึ้นหรือไม่ค่อยยอมเปิดเผยข้อมูลกับพ่อแม่เหมือนก่อน จึงกระทบต่อความสัมพันธ์ในครอบครัวและนำไปสู่ความไม่เข้าใจกันและความขัดแย้งระหว่างพ่อแม่กับลูกในที่สุด ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่กับลูกเป็นความสัมพันธ์ที่เป็นรากฐานสำคัญอันจะนำไปสู่ความรัก ความอบอุ่นและความเข้าใจในครอบครัว อีกทั้งยังเป็นกรอบพื้นฐานที่กำหนดรูปแบบความสัมพันธ์ในรูปแบบอื่นที่ตามมา เช่น ความสัมพันธ์กับเพื่อนหรือกับคนรัก เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยให้ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่และลูกยังคงแน่นแฟ้นเหมือนในวัยเด็ก นั่นก็คือ การที่ลูกรับรู้ถึงความใกล้ชิดที่พ่อแม่มีให้ ซึ่งการรับรู้ถึงความใกล้ชิดกับพ่อแม่นี้เองที่จะทำให้ลูกมีแนวโน้มที่จะมอบความสนิทชิดใกล้และเปิดเผยข้อมูลของตนเองให้พ่อแม่ฟังเหมือนในวัยเด็ก

 

Perceived Closeness and Self-disclosure in Adolescents

This conceptual paper aimed to propose a conceptual framework of the relationship between perceived closeness and self-disclosure in adolescents. The framework was developed from related theories, including operant conditioning theory, communication privacy management, social penetration, and expectancy violation theory. Whereas infants and young children form strong bonds with their parental figures, it can be observed that during adolescent years, attitudes routinely change, leading to a wider rift in parent-child relations. This distance can be attributed to a flaw in communication between parent and child. Previous studies have shown that positive mental health development in children can be closely linked to a strong foundation stemming from their home environment. Family relationships also play a vital role with regards to the forming other relationships, such as friendships and romantic relationships. In order to maintain a positive relationship an adolescent must perceive closeness and warmth from their parents. In addition, perceived closeness can encourage a deeper relationship and thus self-disclosure in the parent-adolescent relationship.

Article Details

Section
Articles