กระบวนการผลิต การนำเสนอ และการสร้างความหมายเชิงสัญญะ ในรายการเดอะวอยซ์ไทยแลนด์

Main Article Content

กะรัตพลอย ถ้ำแก้ว
สุกัญญา สมไพบูลย์

Abstract

การประกอบสร้างความหมายของสิ่งต่างๆ โดยสื่อมวลชนนั้นเกิดขึ้นมาโดยตลอด ในบริบทของสังคมไทยเอง สื่อมวลชนก็เป็นส่วนหนึ่งในการประกอบสร้างความหมายของสิ่งต่างๆ เช่นกัน อาทิ ความหมายของ “นักร้อง” รายการเดอะวอยซ์ไทยแลนด์ถือเป็นกรณีตัวอย่างที่สำคัญที่มีการรื้อถอนและประกอบสร้างความหมายของ “นักร้อง” โดยการประกาศจุดยืนในการเป็นสถาบันการผลิต “เสียงจริงตัวจริง” อันเป็นปฏิปักษ์ต่อ “นักร้องตัวไม่จริงเสียงไม่จริง” ในปัจจุบันที่ไม่ได้ใช้ “เสียง” ในการร้องเพลงอีกต่อไป ประเด็นคำถามที่น่าสนใจคือ รายการเดอะวอยซ์ไทยแลนด์มีการประกอบสร้างความหมายเชิงสัญญะต่างๆ เหล่านั้นอย่างไร รวมถึงมีปัจจัยใดบ้างที่มีอิทธิพลต่อเนื้อหาและการนำเสนอในรายการเดอะวอยซ์ไทยแลนด์ซึ่งเป็นรายการที่มีการซื้อลิขสิทธิ์มาจากต่างประเทศ เพื่อตอบประเด็นคำถามต่างๆ ดังกล่าว การวิจัยนี้จึงได้ศึกษาตามวัตถุประสงค์การวิจัย 4 ประการ ได้แก่ 1) ศึกษากระบวนการผลิตรายการเดอะวอยซ์ไทยแลนด์ 2) ศึกษาเนื้อหาและวิธีการนำเสนอในรายการเดอะวอยซ์ไทยแลนด์ 3) วิเคราะห์ความหมายและการสร้างความหมายเชิงสัญญะในรายการเดอะวอยซ์ไทยแลนด์ 4) วิเคราะห์ถึงปัจจัยภายในและภายนอกที่มีผลต่อเนื้อหาและวิธีการนำเสนอในรายการเดอะวอยซ์ไทยแลนด์ เพื่อนำไปสู่องค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับการประกอบสร้างความหมายเชิงสัญญะในรายการโทรทัศน์ที่มีลิขสิทธิ์จากต่างประเทศและเป็นแนวทางในการศึกษาวิจัยการประกอบสร้างความหมายในรายการประเภทเรียลลิตี้ทีวีอื่นๆ ต่อไปในอนาคต

 

Production, Presentation and Signification of The Voice Thailand

The media does construct “meaning” of “things” all the time. In the context of Thai culture as well, the media also becomes the crucial part in meaning construction; such as the meaning of “Singer”. “The Voice Thailand” is the significant example of deconstruction and reconstruction of meaning by declaration of itself as “The true academy that produces ‘true artists with true voices’ ”, which unsurprisingly stands against “those untrue artists with untrue voices” ones out there in the entertainment industry. The interesting points are, how does The Voice Thailand construct those opposed meaning? And what are the factors that affect message’s creation and presentation, including the connotative meaning in the messages, especially in the case of licensed TV program? To gain deeper understandings from these issues, the study is arranged its objectives to 4 points, which are 1) to understand the production of The Voice Thailand 2) to understand the text and its presentation of The Voice Thailand 3) to analyze the connotative meanings and their construction 4) to analyze the internal and external factors which affect media’s text and presentation. The findings are hoped to be the new knowledge about the meaning construction in licensed TV program, as well as the guidelines to study the meaning construction in moreover types of reality TV in the future.

Article Details

Section
Articles