ปัจจัยการสื่อสารเพื่อพยากรณ์ความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของประชาชน ในจังหวัดชายแดนภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้

Main Article Content

พัชนี เชยจรรยา

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยการสื่อสารและความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของประชาชนในเขตชายแดน (2) ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้านปัจจัยการสื่อสาร (ได้แก่ คุณลักษณะผู้ส่งสาร การได้รับข่าวสารจากสื่อในชุมชน การสนับสนุนของสื่อ/กิจกรรมในชุมชน และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสื่อสาร) กับความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของประชาชนในเขตชายแดนและ (3) ปัจจัยการสื่อสารที่สามารถพยากรณ์ความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของประชาชนในเขตชายแดน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ คือ ประชาชนที่อาศัย หรือประกอบอาชีพในบริเวณจังหวัดชายแดนที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดตาก จังหวัดนครพนมจังหวัดหนองคาย จังหวัดสงขลา และจังหวัดนราธิวาส จำนวน 1,200 คน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยการสื่อสารที่สามารถพยากรณ์ความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของภาคประชาชนได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และ .01 มีทั้งหมด 5 ตัวแปรตามลำดับความสำคัญ คือ คุณลักษณะของผู้ส่งสาร (β = .416) สภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เอื้อต่อการสื่อสาร (β= .330) การสนับสนุนของสื่อ/กิจกรรมภายในชุมชน (β=.134) การได้รับข่าวสารจากสื่อบุคคล (β= .104) และการได้รับข่าวสารจากสื่อใหม่ (β= .053) โดยตัวแปรคุณลักษณะของผู้ส่งสารเป็นตัวแปรที่สามารถพยากรณ์ได้มากที่สุด

 

This research was aimed to study (1) communication factors and the readiness to join ASEAN Community of the public sector in border areas, (2) correlation between communication factors (i.e. Sender characteristics, Information acquirement from media in community, Supporting form activity and media in community, and Physical environment supported communicative atmosphere) and the readiness to join ASEAN Community of the public sector in border areas, and (3) the effective communication factors which could forecast the readiness to join ASEAN Community of the public sector in border areas. The research was implemented by quantitative method; the representative samples were the public sector who resided or earned a living in the provinces border with neighboring countries, which are: Chiang Rai, Tak, Nakhon Phanom, Nongkhai, Songkhla, and Narathiwat Provinces, totaling 1,200 respondents. The results revealed that the communication factors which could forecast the readiness to join ASEAN Community of the public sector of public sector in border areas at.001 and .01 level of significance, concluded with 5 variables respectively: (1) Sender characteristics (β = .416), (2) physical environment supported communicative atmosphere (β= .330), (3) Supporting form activity and media in community (β=.134), (4) Information acquirement from personal media (β=.104), and (5) Information acquirement from new media (β= .053); however, Sender characteristics were the most effective variable which could forecast the readiness to join ASEAN Community of the public sector in border areas .

Article Details

Section
Articles