การพัฒนาเครื่องมือวัดการรู้เท่าทันสื่อทางสุขภาพเกี่ยวกับ การรับประทานและการออกกำลังกายสำหรับเด็กไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
เด็กและเยาวชนใช้สื่อแล้วได้รับข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการบริโภคอาหารและการออกกกำลังกาย การรู้เท่าทันสื่อทางสุขภาพเกี่ยวกับการรับประทานและการออกกำลังกายช่วยให้เด็กมีการบริโภคและการออกกำลังกายดีขึ้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครื่องมือวัดการรู้เท่าทันสื่อทางสุขภาพเกี่ยวกับการรับประทานและการออกกำลังกายสำหรับเด็กไทย วิธีการศึกษาคือการวิจัยแบบผสมประกอบด้วยการวิจัยเอกสารเพื่อทบทวนแนวคิดการรู้เท่าทันสื่อทางสุขภาพเกี่ยวกับการรับประทานและการออกกำลังกาย การสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 8 คน และการสนทนากลุ่มเด็กที่มีอายุ 10-14 ปี จำนวน 6 คน เพื่อพัฒนาเครื่องมือวัด และให้ผู้เชี่ยวชาญ 5 คน และกลุ่มเด็กอายุ 10-14 ปี จำนวน 40 คน ประเมินเครื่องมือวัด เพื่อทดสอบคุณภาพของเครื่องมือวัด ผลการศึกษาพบว่า เครื่องมือวัดการรู้เท่าทันสื่อทางสุขภาพประกอบด้วยคลิปวีดีโอโฆษณาและแบบสอบถาม ซึ่งมีกรอบการวัด 4 ทักษะ ได้แก่ (1) การรับรู้และเข้าใจ (2) การวิเคราะห์ (3) การประเมิน และ (4) ความตั้งใจจะทำ โดยมีข้อคำถามทั้งหมด 15 ข้อคำถาม ผลการทดสอบเครื่องมือวัดความเที่ยงตรงตามเนื้อหาด้านความเกี่ยวข้อง (CVI) และด้านความชัดเจน (CVR) เท่ากับ 1 ในส่วนของค่าเชื่อมั่นของเครื่องมือ ค่าความสัมพันธ์ Cronbach’s alpha มีค่าอยู่ระหว่าง 0.690-0.808 และค่าสหสัมพันธ์ภายในชั้น (interclass) มีค่าอยู่ระหว่าง 0.690-0.799 ซึ่งแสดงว่า เครื่องมือวัดนี้มีคุณสมบัติในการวัดที่ดี มีความเที่ยงตรงตามเนื้อหาเหมาะสม และมีความเชื่อมั่นในระดับดี ดังนั้น เครื่องมือวัดในการศึกษานี้สามารถนำมาใช้ประเมินการรู้เท่าทันสื่อทางสุขภาพเกี่ยวกับการรับประทานและการออกกำลังกายสำหรับเด็กไทยอายุ 10-14 ปี ได้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กลุ่มสาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการระบบสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2564). ผลสำรวจสถานภาพการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ ประจำปี พ.ศ. 2563. กรุงเทพ: สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2559). คู่มือประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับเด็กและเยาวชนไทยที่มีภาวะน้ำหนักเกิน. นนทบุรี: กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2561). การเสริมสร้างและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มเด็กและเยาวชน อายุ 7-14 ปี และกลุ่มประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป. ฉบับปรับปรุงปี 2561. นนทบุรี: กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.
ขวัญเมือง แก้วดำเกิง และนฤมล ตรีเพชรศรีอุไร. (2554). ความฉลาดทางสุขภาพ. กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์นิวธรรมดาการพิมพ์ (ประเทศไทย) จำกัด.
โครงการการพัฒนาองค์ความรู้การสื่อสารเพื่อสุขภาพ. (2549). การพัฒนาองค์ความรู้การรู้เท่าทันสื่อ: แนวคิด หลักการ และกรณีศึกษาการรู้เท่าทันสื่อเพื่อสุขภาพ. ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพฯ: โครงการการพัฒนาองค์ความรู้การสื่อสารเพื่อสุขภาพ.
ธาม เชื้อสถาปนศิริ. (2554). รู้ทันสื่อ: รวมบทความ แนวคิด ทฤษฎี เทคนิค และประสบการณ์ด้านการรู้เท่าทันสื่อ. กรุงเทพฯ: บริษัท ออฟเซ็ท ครีเอชั่น จำกัด.
วรรณ์ดี แสงประทีปทอง และทัศนีย์ ชาติไทย. (2562). การพัฒนาแบบวัดการรู้เท่าทันสื่อสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดนนทบุรี. สุทธิปริทัศน์, 33(108), 27-38.
วิโรจน์ สุทธิสีมา, พิมลพรรณ ไชยนันท์ และศศิธร ยุวโกศล. (2563). สถานภาพความรู้การวิจัยเกี่ยวกับการรู้เท่าทันสื่อในประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. 2540-2560. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย, 15(2), 209-238.
สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2562). สถานภาพการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศของประเทศไทยปี พ.ศ. 2562. กรุงเทพ: สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2564). ผลสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.
อมรรัตน์ ทิพย์เลิศ. (2550). รู้ทันตนเอง รู้เก่งใช้สื่อ: แนวคิดใหม่ขอองการรู้เท่าทันสื่อเพื่อสุขภาพ. นนทบุรี: โครงการสื่อสร้างสรรค์สุขภาพ.
อารยา องค์เอี่ยม และพงศ์ธารา วิจิตเวชไพศาล. (2561). การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย. วิสัญญีสาร, 44(1), 36-42.
อุณาโลม จันทร์รุ่งมณีกุล, กำจร หลุยยะพงศ์, นิษฐา หรุ่นเกษม, สมสุข หินวิมาน, วาสนา จันทร์สว่าง, และอมรรัตน์ ทิพย์เลิศ. (2549). เปิดประตูสู่การรู้เท่าทันสื่อ: แนวคิดทฤษฎีและประสบการณ์รู้เท่าทันสื่อเพื่อสุขภาพ. นนทบุรี: โครงการสื่อสร้างสรรค์สุขภาพ.
Amin, S. A., Lehnerd, M., Cash, S. B., Economos, C. D., & Sacheck, J. M. (2019). Development of a Tool for Food Literacy Assessment in Children (TFLAC). J Nutr Educ Behav, 51(3), 364-369.
Bailey., K. D. (1987). Methods of Social Research (3 ed.). New York: Free Press.
Bröder, J., Okan, O., Bauer, U., Bruland, D., Schlupp, S., Bollweg, T. M., & et al. (2017). Health literacy in childhood and youth: a systematic review of definitions and models. BMC Public Health, 17(361), 1-25. doi:10.1186/s12889-017-4267-y
Canadian Paediatric Society. (2003). Impact of media use on children and youth. Paediatr Child Health, 8(5), 301-306. doi:10.1093/pch/8.5.301
Doustmohammadian, A., Omidvar, N., Keshavarz-Mohammadi, N., Abdollahi, M., Amini, M., & Eini-Zinab, H. (2017). Developing and validating a scale to measure Food and Nutrition Literacy (FNLIT) in elementary school children in Iran. PLoS One, 12(6), e0179196. doi:10.1371/journal.pone.0179196
Escoda, A. P. (2014). Media Literacy in Primary School: New Challenges in the Digital Age. TESI, 15(1), 43-69.
Healthwise Staff. (2020). Growth and Development, Ages 11 to 14 Years. Retrieved May 7, 2020, from https://www.healthlinkbc.ca/health-topics/te7233
Hobbs, R. (1998). The Seven Great Debates in the Media Literacy Movement. Journal of Communication, 48(1), 16-32. doi:10.1111/j.1460-2466.1998.tb02734.x
Holmes D. (2005). Communication Theory: Media, Technology, Society. doi:10.4135/9781446220733
Ivanović, M. (2014). Development of Media Literacy – an Important Aspect of Modern Education. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 149, 438-442.
Ladner, J. (2018). Why media literacy is so important for children today. Telegram. Retrieved May 7, 2020 from https://www.telegram.com/article/20120905/NEWS/120909939/0
Levin-Zamir, D., Lemish, D., & Gofin, R. (2011). Media Health Literacy (MHL): development and measurement of the concept among adolescents. Health Educ Res, 26(2), 323-335. doi:10.1093/her/cyr007
Nunnally, J. C. B. I. H. (1994). Psychometric theory. New York: McGraw-Hill.
Nutbeam, D. (2008). The evolving concept of health literacy. Soc Sci Med, 67(12), 2072-2078. doi:10.1016/j.socscimed.2008.09.050
Polit, D. F., Beck, C. T., & Owen, S. V. (2007). Is the CVI an acceptable indicator of content validity? Appraisal and recommendations. Res Nurs Health, 30(4), 459-467. doi:10.1002/nur.20199
Renee Hobbs. (1997). Literacy for the information age. In James Flood, Shirley Brice Heath, & D. Lapp (Eds.), Handbook of Research on Teaching Literacy through the Communicative and Visual Arts (pp. 7-14). New York: Simon and Schuster Macmillan.
Revelle, W., & Condon, D. M. (2019). Reliability from α to ω: A tutorial. Psychological Assessment, 31(12), 1395-1411. doi:10.1037/pas0000754
Rodrigues, I. B., Adachi, J. D., Beattie, K. A., & MacDermid, J. C. (2017). Development and validation of a new tool to measure the facilitators, barriers and preferences to exercise in people with osteoporosis. BMC Musculoskelet Disord, 18(1), 540. doi:10.1186/s12891-017-1914-5
Villani, S. (2001). Impact of media on children and adolescents: a 10-year review of the research. Journal of the American Academy of Child and Adolescent Psychiatry, 40 (4), 392-401.
World Health Organization. (2020). Obesity and overweight (fact sheet). Retrieved May 7, 2020, https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/obesity-and-overweight
World Health Organization. (2020).Obesity and its roots. Retrieved May 5, 2020, from https://www.who.int/
news-room/events/detail/2020/03/04/default-calendar/world-obesity-day
Zamanzadeh, V., Ghahramanian, A., Rassouli, M., Abbaszadeh, A., Alavi-Majd, H., & Nikanfar, A. R. (2015). Design and Implementation Content Validity Study: Development of an instrument for measuring Patient-Centered Communication. J Caring Sci, 4(2), 165-178. doi:10.15171/jcs.2015.017