การยอมรับนวัตกรรม 4 สมาร์ทในแกนนำผู้สูงอายุเขตดอนเมือง
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการเผยแพร่นวัตกรรมหลักสูตร 4 สมาร์ท ได้แก่ ไม่ซึมเศร้า ไม่ล้ม ไม่ลืม กินข้าวอร่อย ให้เกิดการยอมรับในกลุ่มแกนนำชมรมผู้สูงอายุ เขตดอนเมือง เพื่อประโยชน์ในการนำความรู้ทั้ง 4 สมาร์ทไปเผยแพร่บอกต่อขยายผลในกลุ่มสมาชิกของชมรมผู้สูงอายุใช้ในการดูแลสุขภาพของตนเองต่อไป ขั้นตอนของการวิจัยเริ่มจากนำแกนนำชมรมผู้สูงอายุจำนวน 14 ราย อบรมหลักสูตร 4 สมาร์ทจำนวน 2 วัน และทำการรวบรวมข้อมูลด้วยแบบประเมินทั้ง 4 สมาร์ท และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม โดยผู้วิจัยมีบทบาทเป็นวิทยากรนำ สนับสนุนการอบรม 4 สมาร์ท รวมทั้งติดตามแกนนำผู้สูงอายุไปสังเกตการจัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับการอบรมไปยังเพื่อนสมาชิก ทำการวิเคราะห์แบบประเมินทั้ง 4 สมาร์ท ด้วยการการแจกแจงจำนวนความถี่ ทั้ง 4 สมาร์ทพบว่า ด้านโภชนาการมีแกนนำผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงด้านโภชนาการ ถึง 13 ราย และพบว่าผู้สูงอายุมีโอกาสที่จะพลัดตกหกล้มได้ในอนาคตแม้ว่าผลประเมินด้านการพลัดตกหกล้มแกนนำชมรมทุกคนจะมีความเสี่ยงต่ำ แต่พบว่ามีปัจจัยหลายอย่างที่อาจทำให้เสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มได้ในอนาคต เช่น อาศัยอยู่บ้านยกพื้นสูงตั้งแต่ 5.1 เมตรขึ้นไปหรือมีลักษณะเป็นบ้านสองชั้น มีประวัติการได้รับยารักษาโรคอย่างต่อเนื่อง และแกนนำในบางชมรมมีแต่เพศหญิง ด้านแบบประเมินภาวะซึมเศร้าไม่พบแกนนำมีภาวะซึมเศร้า ผลการวิจัยเชิงคุณภาพด้านการยอมรับนวัตกรรมดังกล่าวของแกนนำชมรมผู้สูงอายุเน้นใช้การสื่อสารภายในกลุ่มชมรม และระหว่างกลุ่มชมรมผ่านการสื่อสารแบบเห็นหน้ากัน และการสื่อสารผ่านสื่อสังคมด้วยแอพพลิเคชั่นไลน์ซึ่งใช้ส่งข่าวสารที่เป็นข้อความและรูปภาพและสามารถใช้โปรแกรมดังกล่าวได้อย่างคล่องแคล่วเนื่องจากใช้งานง่ายและมีต้นทุนค่าใช้จ่ายในการใช้สื่อนี้เพื่อการสื่อสารกับเพื่อนสมาชิกไม่สูง และได้ผลของการสื่อสารเกินกว่าที่คาดหวังไว้ทั้งนี้เป็นไปตามคำอธิบายในทฤษฎี Technological acceptance model (TAM) ผลจากการศึกษานี้สามารถบูรณาการการใช้สื่อสารระหว่างบุคคล ร่วมกับการสื่อสารเพื่อผ่านสื่อสังคมด้วยแอพพลิเคชั่น ทั้งนี้เพื่อสร้างการยอมรับนวัตกรรมแนวทางการป้องกันสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุ และควรเน้นจัดกิจกรรมด้านโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุเนื่องจากหากผู้สูงอายุมีภาวะโภชนาการไม่ดีจะนำไปสู่ ภาวะสมองเสื่อม การพลัดตกหกล้ม และซึมเศร้าในอนาคตได้
Article Details
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ศูนย์การแพทย์
กาญจานภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล. โภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ. วันที่เข้าถึงข้อมูล 6 ธันวาคม 2563 แหล่งที่มา www.gj.mahidol.ac.th/main/knowledge-2/nutrition/
กองยุทธศาสตร์สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สยป. กรุงเทพมหานคร. รายงานข้อมูลผู้สูงอายุของกรุงเทพมหานครจากฐานประชากรในระบบทะเบียนราษฎร ณ เดือนธันวาคม 2561 และเปรียบเทียบกับข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2560. วันที่เข้าถึงข้อมูล 12 ธันวาคม 2563 แหล่งที่มา http://www.bangkok.go.th/upload/user/00000132/download/22_02_fullpaper.pdf
กานดาวสี มาลีวงษ์ และคณะ (2561) ความรอบรู้สุขภาพของชมรมผู้สูงอายุเพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ “ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย” กรณีศึกษาเขตดอนเมือง. วารสารเกื้อการุณย์, 25(2). 119-136.
จินตนา สุวิทวัส.(2561). การประเมินภาวะโภชนาการ. ขอนแก่น : เพ็ญพริ้นติ้ง.
จุฬารัตน์ ห้าวหาญ ชัยวัฒน์ อ่อนไธสง วีระพงษ์ เปรมสถิต. (2561). ปัจจัยทำนายความเสี่ยงต่อภาวะหกล้มในผู้สูงอายุเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 1(1), 26-38.
ดาราวรรณ รองเมือง, ฉันทนา นาคฉัตรีย์, จีราพร ทองดี, และจิตติยา สมบัติบูรณ์. (2561). อุบัติการณ์ ของ การหกล้ม และ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการหกล้มในผู้สูงอายุที่อาศัยในชุมชน จังหวัด สุราษฎร์ธานี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 27(3), 123-138.
ตรีธันว์ ศรีวิเชียร. (2559). การศึกษาภาวะโภชนาการและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะทุพโภชนาการของผู้สูงอายุที่อาศัยในพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์แพทย์ชุมชนป้อมเพชร. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ปัองกันแห่งประเทศไทย, 6(2), 119-130.
ทิตยาวดี ศรีพนม. (2551). การพัฒนาบริการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ธัญพร ชื่นกลิ่น; นงณภัทร รุ่งเนย; นภัส แก้ววิเชียร; เบญจพร สุธรรมชัย; วิชาญ เกิดวิชัย; ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย. (2563) การประเมินผลการดูแลสุขภาพระยะกลางของผู้สูงอายุในประเทศไทยตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
นงนุช วรไธสง. (2551). การศึกษาปัจจัยเสี่ยงต่อการหกล้มของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงที่อาศัยอยู่ในชุมชน จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
นันทวัฒน์ ภัทรกรนันท์.(2559). ศาสตร์และศิลป์การสอนผู้ใหญ่. วารสารศึกษาศาสตร์, 14(2). 40-53.
ปิ่นนเรศ กาศอุดม และมัณฑนา เหมชะญาติ.(2554). รายงานการวิจัย ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลตำบลบางกะจะ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี, 22(2), 61-70.
ปิยะ ศักดิ์เจริญ. (2558). ทฤษฎีการเรียนรู้ผู้ใหญ่และแนวคิดการเรียนรู้ด้วยการชี้นำตนเอง : กระบวนการเรียนรู้เพื่อการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต. วารสารพยาบาลทหารบก, 16(1). 8-13.
มะลิ โพธิพิมพ์, วลัญช์ชยา เขตบำรุง, จุน หน่อแก้ว, จิรวุฒิ กุจะพันธ์. (2562). ประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างเสริมพฤติกรรม.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.).(2559). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2559. วันที่เข้าถึงข้อมูล 12 ธันวาคม 2563 แหล่งที่มา http://www.dop.go.th/download/knowledge/th1512367202-108_0.pdf
วิกรม รุจยากรกุล. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุคุณภาพ จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์).
สมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย. (มปป.) คู่มือชมรมผู้สูงอายุ. กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ. กรุงเทพมหานคร.
สวรรยา ธรรมอภิพล,นันทิชา อ่อนละมัย,จรรยพร ตันเจริญ. (2561). ปัจจัยความสำเร็จของชมรมผู้สูงอายุบ้านไร่แค จังหวัดเพชรบุรี. Veridian E-Journal, Silpakorn University.11(2).352-365.
สุขภาพต่อความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติสร้างเสริมสุขภาพ ในสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา.14(1). 119-130.
สุขภาพผู้สูงอายุและความพึงพอใจในการมีส่วนร่วมของผู้ที่ให้การดูแลผู้สูงอายุ.รายงานการวิจัย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท.
อมาวสี อัมพันศิริรัตน์ พิมพิมล วงศ์ไชยา. (2560). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม : ลักษณะสำคัญและการประยุกต์ใช้ในชุมชน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 38(6). 192-202.
อรวรรณ แผนคง และสุนทรีย์ คำเพ็ง. (2551). ผลของการส่งเสริมสุขภาพโดยใช้ชุมชนเป็นฐานต่อพฤติกรรมการส่งเสริม.รามาธิบดีพยาบาลสาร, 16(1), 1-13.
Archer, D. & Cameron, A. (2009). Collaborative leadership: building relationship handling conflict and sharing control. NY : Routledge.
Coto, Mayela., Fulvio, Lizano, Sonia Mora, and Jennifer Fuentes. (2017). Social Media and elderly People: Research Trends. Conference Paper, May 2017.
Crainer, S. and Dearlove, D. (2014). Leadership: Organizational success through leadership. McGrawHill Education.
Dearing, J. W. (2009). Applying Diffusion of Innovation Theory to Intervention Development. Research on social work practice, 19(5), 503–518.
Endriulaitiene, A., Stelmokiene, A., Geneviciute-Janoniene, G., Gustainiene,L., Jarasiunaite, G. and Buksnyte-Marmiene, L. (2017), Attitudes of staff members towards development of elder care organizations: The role of leadership effectiveness in private and public sectors, International Journal of Public Leadership, 13(1), 40-50.
Eun Hwa Jung, S. Shyam Sundar. (2021) Older Adults’ Activities on Facebook: Can Affordances Predict Intrinsic Motivation and Well-Being?. Health Communication. DOI: 10.1080/10410236.2020.1859722
Gans, K.M. et al. (2015). Innovative video tailoring for dietary change: final results of the Good for you! Cluster randomized trial. International Journal of behavioral nutrition and physical activity, (12): 130.
Janio, E. A., & Sorkin, D. H. (2020). Food insecurity and healthcare access, utilization, and quality among middle and later life adults in California. Journal of Aging and Health. 33(3-4), 171-186
Madden, M. (2010). Older adults and social media: social networking use among those ages 50 and older nearly doubled over the past year. Pew Research Center.
Quinn, K. (2018). Cognitive Effects of Social Media Use: A Case of Older Adults. Social Media + Society. 4 (3).
Rebecca, B., Stephanie, S., Tommy, J., Mary, A. J., Arvine, B. & Jung Sun Lee. (2010). Food Insecurity Is Associated with Cost-Related Medication Non-Adherence in Community-Dwelling, Low-Income Older Adults in Georgia, Journal of Nutrition For the Elderly, (29)2, 170-191.
Rebecca M. Chory-Assad & Ashley Yanen (2005) Hopelessness and Loneliness as Predictors of Older Adults' Involvement with Favorite Television Performers, Journal of Broadcasting & Electronic Media, 49(2), 182-201.
Smith, R. A., Kim, Y., Zhu, X., Doudou, D. T., Sternberg, E. D., & Thomas, M. B. (2018). Integrating Models of Diffusion and Behavior to Predict Innovation Adoption, Maintenance, and Social Diffusion. Journal of health communication, 23(3), 264–271.
United Nations, (2013), World Population Ageing: 2013. United Nations, New York.