พฤติกรรมการสื่อสารบนเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กและ การรู้เท่าทันสื่อของเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

นันธิการ์ จิตรีงาม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการสื่อสารบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ เฟซบุ๊กของเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษาการรู้เท่าทันสื่อบนเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กของเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการสื่อสารบนเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กของเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานคร จำแนกตามลักษณะประชากร เพื่อเปรียบเทียบการรู้เท่าทันสื่อบนเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กของเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานคร จำแนกตามลักษณะประชากร และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการสื่อสารบนเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กกับการรู้เท่าทันสื่อของเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานคร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ เยาวชนที่ใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก อายุระหว่าง 15-25 ปี จำนวน 400 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และนำเสนอข้อมูลโดยตารางแจกแจงความถี่
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุอยู่ในช่วง 19-22 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรีมากที่สุด กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ใช้เฟซบุ๊กเป็นประจำทุกวัน ด้านพฤติกรรมการสื่อสารบนเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ การโพสต์ภาพ การแสดงความคิดเห็น รองลงมา คือการเพิ่มเพื่อน การสนทนาผ่านการแชท และการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่สนใจ เช่น เล่นเกมส์ ส่งเพลง ฯลฯ และด้านการรู้เท่าทันสื่อ ผลการวิเคราะห์การรู้เท่าทันสื่อพบว่าในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ การเข้าถึงสื่อ การวิเคราะห์ข่าวสาร การตรวจสอบข้อมูล และการตีความหมายของสัญลักษณ์และเนื้อหา ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า 1) เยาวชนที่มีลักษณะประชากรต่างกันมีพฤติกรรมการสื่อสารบนเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กไม่แตกต่างกัน 2) เยาวชนในเขตกรุงเทพมหานครที่มีลักษณะประชากรต่างกันมีการรู้เท่าทันสื่อบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ เฟซบุ๊กแตกต่างกัน 3) พฤติกรรมการสื่อสารบนเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กมีความสัมพันธ์กับการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กของเยาวชน พบว่ามีความสัมพันธ์กันในเชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


 

Article Details

บท
Articles

References

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.(2561). สถิติผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2561. วันที่เข้าถึงข้อมูล 15 ตุลาคม 2562. แหล่งที่มา https://blog.ourgreenfish.com/th/สถิติผู้ใช้งานอินเทอร์

ระบบสถิติทางการทะเบียน.(2561). จำนวนประชากรแยกรายอายุ. วันที่เข้าถึงข้อมูล 15 ตุลาคม 2562. แหล่งที่มา http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age_disp.php

บุญอยู่ ขอพรประเสริฐ.(2557). พฤติกรรมการใช้เฟซบุ๊ค (Facebook) ของนักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. คณะนิเทศศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกริก.

พงศ์เทพ แก้วเสถียร.(2557). การรู้เท่าทันสื่ออินทอร์เน็ตของนักศึกษา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. พัฒนาสังคม คณะศิลปศาสตร์และศึกษาศาสตร์.

พรรษพล มังกรพิศม์. (2553). Blackberry social network. device master. Brandage.

ภัทรา เรืองสวัสดิ์.(2553). รูปแบบการดำเนินชีวิต และพฤติกรรมการใช้สื่อเครือข่ายสังคมออนไลน์ของคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศตพล เกิดอยู่. (2558). ทัศนคติ พฤติกรรม และการรู้เท่าทันการใช้แอปพลิเคชันไลน์ของกลุ่มวัยเบบี้บูมเมอร์. คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สถิติและพฤติกรรมการใช้ social media ทั่วโลก Q1.(2020). วันที่เข้าถึงข้อมูล 1 มีนาคม 2563. แหล่งที่มา https://www.twfdigital.com/blog/2020/02/global-social-media-usage-stats-q1-2020/

เสาวภาคย์ แหลมเพชร. (2559).พฤติกรรมและผลกระทบจากการใช้เครือข่าย สังคมออนไลน์ของนักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดนนทบุรี. วารสารสุทธิปริทัศน์. 30(93). 116-130.

Buckingham, D. (2007). Youth, identity, and digital media. Combridge, MA: MIT Press

Potter J. (ed.) (2008). Entrepreneurship and Higher Education. OECD, Paris.

Yamane,Taro.(1973). Statistics: An Introductory Analysis. Third edition. New york : Harper and Row Publication.