การสร้างแบบวัดทักษะการสื่อสารของผู้สมัครเข้าทำงานในองค์กรเอกชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาดัชนีชี้วัดทักษะการสื่อสาร สร้าง และตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดทักษะการสื่อสาร รวมถึงพัฒนาเกณฑ์การวัดระดับทักษะการสื่อสารของผู้สมัครเข้าทำงานในองค์กร โดยเริ่มจากการสัมภาษณ์ผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคลขององค์กร จากนั้นจึงนำข้อมูลมาสร้างแบบวัดตามลักษณะเฉพาะที่ได้ออกแบบไว้ โดยแบบวัดที่สร้างขึ้นมีลักษณะเป็นแบบวัดเชิงสถานการณ์ตามการรับรู้ของผู้สมัครจำนวน 20 คำถาม ข้อละ 3 คะแนน รวม 60 คะแนน และกำหนดเกณฑ์การวัด 3 ระดับ ดังนี้ 1) ระดับที่สามารถสื่อสารได้ในชีวิตประจำวัน 2) ระดับที่สามารถสื่อสารในการทำงานได้ในขั้นพื้นฐาน และ 3) ระดับที่สามารถสื่อสารในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิผล ลักษณะเฉพาะและแบบวัดที่ได้ถูกนำไปตรวจสอบความตรงโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน ทั้งในด้านการสื่อสาร ทรัพยากรบุคคล และการวัดและประเมินผล จากนั้นนำไปทดสอบใช้กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 130 คน ประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างนิสิตนักศึกษาจำนวน 100 คน และกลุ่มตัวอย่างผู้สมัครเข้าทำงานในองค์กรจำนวน 30 คน ผลการศึกษาพบว่า ดัชนีชี้วัดที่องค์กรใช้ในการวัดทักษะการสื่อสารของผู้สมัครเข้าทำงานในองค์กร ประกอบด้วยทักษะ 5 ด้าน คือ ทักษะการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน และการสานสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในองค์กร และพบว่า ข้อคำถามในแบบวัดมีค่าความตรงระหว่าง 0.2 - 1 ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.65 ค่าความยากเท่ากับ 0.62 และค่าอำนาจจำแนกเท่ากับ 0.53 ผลในการทดสอบเกณฑ์ในการวัด 3 ระดับ พบว่า หากผู้ตอบแบบวัดมีคะแนนรวม 20 - 33 คะแนน จัดว่ามีทักษะที่สามารถสื่อสารทั่วไปในชีวิตประจำวันได้ หากมีคะแนนรวม 34 – 47 คะแนน จัดว่ามีทักษะที่สามารถใช้ในการสื่อสารขั้นพื้นฐานที่จำเป็นในการทำงานได้ และหากมีคะแนนรวม 48 – 60 คะแนน จัดว่ามีทักษะที่สามารถสื่อสารเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการทำงานได้
Article Details
References
เกวลี ขันธ์เงิน. (2551). การพัฒนาความสามารถในการสื่อสารสำหรับพนักงานใหม่ในองค์กรไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาวาทวิทยา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จิราวรรณ วงศ์ดอกไม้ และรุ้ง ศรีอัษฎาพร. (2553). การพัฒนาความสามารถในการสื่อสารสำหรับบุคลากรที่มีศักยภาพสูงในองค์กรรัฐ. วารสารนิเทศศาสตร์, 28(2), 95-107.
ชูชัย สมิทธิไกร. (2552). การสรรหา การคัดเลือก และการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นงลักษณ์ ศรีอัษฎาพร เจริญงาม. (2541). ความสามารถในการสื่อสาร: แนวคิดเชิงวัฒนธรรมในองค์กรไทย. โลกของสื่อ, 1(2), 22-43.
นงลักษณ์ ศรีอัษฎาพร เจริญงาม. (2543). ความสามารถในการสื่อสาร: แนวคิดเชิงนิเวศน์ในองค์กร. วารสารนิเทศศาสตร์, 18(4), 1-18.
น้อย ศรีรัตนพันธ์. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแนวโน้มการลาออกจากงานของพนักงาน กรณีศึกษา บริษัท โคห์เลอร์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) จังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยบูรพา.
นิสดารก์ เวชยานนท์. (2554). Competency-based approach. กรุงเทพมหานคร: กราฟิโก ซิสเต็มส์.
ปภัสสรา ชัยวงศ์. (2557). กรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีความสามารถในการสื่อสารระหว่างบุคลากรต่างรุ่นในองค์กรไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. (2559). จ๊อบไทยเผย 7 ทักษะที่นักศึกษาจบใหม่ยังขาด. วันที่เข้าถึงข้อมูล 30 มีนาคม 2559, แหล่งที่มา https://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1458194459
มารดารัตน์ สุขสง่า. (2554). ขีดความสามารถที่พึงประสงค์ในการสรรหาและคัดเลือกบุคลากรขององค์กรชั้นนำในประเทศไทย กรณีศึกษา บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราช-ภัฏสวนสุนันทา.
รุ้ง ศรีอัษฎาพร. (2558). บุคลิกภาพและความสามารถในการสื่อสารจากวัยเด็กสู่วัยทำงาน (Personality and Communication Competence: From Childhood to Working Age). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรรณวิสา ดำรงสกุลวงษ์. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแนวโน้มการลาออกของพนักงานในอุตสาหกรรมฟอกหนัก กรณีศึกษา บริษัท อินเตอร์ไฮค์ จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยเนชั่น.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2544).ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงาน ก.พ. (2549). สถิติและอัตราการลาออกของข้าราชการพลเรือน ปีงบประมาณ 2549. วันที่เข้าถึงข้อมูล 30 มีนาคม 2559, แหล่งที่มา https://www.ocsc.go.th
สำนักงาน ก.พ. (2556). กำลังคนภาครัฐ 2556: ข้าราชการพลเรือนสามัญ. วันที่เข้าถึงข้อมูล 30 มีนาคม 2559, แหล่งที่มา https://www.ocsc.go.th
สุวิมล ติรกานันท์. (2550). การสร้างเครื่องมือวัดตัวแปรในการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
หทัยพร ทิมสว่าง และรุ้ง ศรีอัษฎาพร. (2553). การพัฒนาความสามารถในการสื่อสารสำหรับบุคลากรผู้มีศักยภาพสูงในองค์กรเอกชน. วารสารนิเทศศาสตร์, 28(3), 123-133.
อนันต์ชัย คงจันทร์. (2557). Human resource management การจัดการทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.
เฮย์ กรุ๊ป. (2556). เฮย์กรุ๊ป เผยผลสำรวจเงินเดือนและการจ่ายโบนัส. วันที่เข้าถึงข้อมูล 11 มีนาคม 2559, แหล่งที่มา https://www.haygroup.com/th/press/details.aspx?id=40744
ภาษาอังกฤษ
Boyle, D. M., Mahoney, D. P., Carpenter, B. W., & Grambo, R. J. (2014). The importance of communication skills at different career levels. The CPA Journal, August, 40-45.
Brounstein, M., Bell, A. H., & Smith, D. M. (2007). Business communication: Communicate effectively in any environment. U.S.A.: John Wiley & Sons Inc.
Crosling, G., & Ward, I. (2002). Oral communication: the workplace needs and uses of business graduate employees. English for Specific Purposes, 21(2002), 41-57.
Hartley, P., & Chatterton, P. (2015). Business Communication: rethinking your professional practice for the post-digital age. New York: Routledge.
Jablin, F. M., & Sias, P. M. (2001). The new handbook of organizational communication: advances in theory, research, and methods (F. M. Jablin & L. L. Putnam Eds.). Califonia: Sage Publications.
Johanson G. A., & Brooks G. P. (2010). Initial scale development: sample size for pilot studies. Educational and Psychological Measurement, 70(3), 394-400.
Mitchell, G. W., Skinner, L. B., & White, B. J. (2010). Essential soft skills for success in the twenty-first century workforce as perceived by business educators. Delta Pi Epsilon Journal, 52(1), 43-53.
Mukerjee, H. S. (2013). Business Communication: connecting at work. New Delhi: Oxford University Press.
Noe, R., Hollenbeck, J., Gerhart, B., & Wright, P. (2011). Fundamental of human resource management. New York: McGraw-Hill Irwin.
Robles, M. M. (2012). Executive perceptions of the top 10 soft skills needed in today’s workplace. Business Communication Quarterly, 75(4), 435-465.
Ruck, K., & Welch, M. (2012). Valuing internal communication; management and employee perspectives. Public Relations Review, 38(2012), 294-302.
Smith, B. D. (2004). Reading strategies for college and everyday life. New York: Pearson Longman.
Sriussadaporn-Charoenngam, N., & Jablin, F. M. (1999). An exploratory study of communication competence in Thai organizations. The Journal of Business Communication, 36(4), 382-418.