ผลการใช้บุคคลที่มีชื่อเสียงรับรองเครื่องสำอางต่อความตั้งใจซื้อสินค้า

Main Article Content

ปณิชามน ตระกูลสม

บทคัดย่อ

รายงานวิจัยนี้ ศึกษาเรื่อง ผลการใช้บุคคลที่มีชื่อเสียงรับรองเครื่องสำอางต่อความตั้งใจซื้อสินค้า ผู้วิจัยได้ศึกษาเพื่อวัตถุประสงค์หลักดังนี้ 1. เพื่อศึกษาลักษณะประชากรของผู้บริโภคเครื่องสำอาง การรับรู้ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้บุคคลที่มีชื่อเสียงรับรองเครื่องสำอางและความตั้งใจซื้อเครื่องสำอางของผู้บริโภค 2. เพื่อศึกษาความแตกต่างของประชากรที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องสำอาง 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้องค์ประกอบของบุคคลที่มีชื่อเสียงและความตั้งใจซื้อเครื่องสำอาง ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่อายุ 31 - 40 ปี การศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีรายได้ 15,001 บาท – 30,000 บาท การทดสอบหาค่าความแตกต่างด้านลักษณะประชากรพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ การศึกษา และอาชีพที่แตกต่างกันส่งผลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องสำอางที่รับรองโดยบุคคลที่มีชื่อเสียงแตกต่างกัน ส่วนในด้านรายได้ของประชากรที่แตกต่างกันพบว่ามีความตั้งใจซื้อเครื่องสำอางที่รับรองโดยบุคคลที่มีชื่อเสียงไม่แตกต่างกัน การทดสอบค่าความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้องค์ประกอบของบุคคลที่มีชื่อเสียงทั้ง 5 ด้าน พบว่า ความตั้งใจซื้อเครื่องสำอางภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการรับรู้องค์ประกอบของบุคคลที่มีชื่อเสียงที่รับรองเครื่องสำอาง โดยด้านที่ส่งผลมากที่สุดได้แก่ ด้านความคล้ายคลึงอยู่ในระดับความสัมพันธ์ที่ 0.57 รองลงมาคือด้านความไว้วางใจระดับความสัมพันธ์ที่ 0.51 ด้านความชำนาญเชี่ยวชาญระดับความสัมพันธ์ที่ 0.45 และด้านความเคารพและการยอมรับระดับความ สัมพันธ์ที่ 0.25 อย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ 0.01 ส่วนในด้านความดึงดูดใจพบว่ามีความ สัมพันธ์เชิงลบหรือผกผันกับความตั้งใจซื้อเครื่องสำอางที่บุคคลที่มีชื่อเสียงรับรองสินค้าที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05  โดยมีระดับความสัมพันธ์ ที่ -0.008 จึงไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

Article Details

บท
Articles

References

ภาษาไทย
ชื่นสุมล บุนนาค. (2552). กลยุทธ์ Celebrity Advertising กับการวางตำแหน่งตราสินค้า (Brand Positioning). คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร.

ณัฏฐ์หทัย เจิมแป้น. (2558). การโฆษณาโดยใช้บุคคลที่มีชื่อเสียง มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สก๊อตของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ณัฏฐา อุ่ยมานะชัย. (2556). ผู้ทรงอิทธิพลในโลกออนไลน์กับพลังการบอกต่อ. วารสารนักบริหาร, 3(3), 47 – 51.

ดารณี สังข์เจริญ. (2552). งานวิจัยบุคคลที่มีชื่อเสียงในฐานะเป็นคุณค่าข่าวเพื่อการเผยแพร่กิจกรรม การประชาสัมพันธ์เพื่อการตลาดของเครื่องสำอาง. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตร์บัณทิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทัศนีย์ ศรีสวัสดิ์. (2557). อิทธิพลของการใช้บุคคลที่มีชื่อเสียงอ้างอิงและชื่อเสียงของตราสินค้าที่ส่งผลต่อการรับรู้ด้านภาพลักษณ์ตราสินค้าและคุณค่าของตราสินค้ากระเป๋าแบรนด์หรูหราของผู้หญิงวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ภาณุพงค์ ม่วงอินทร์. (2557). ประสิทธิภาพการสื่อสารทางการตลาดผ่านสื่อออนไลน์โดยใช้บุคคลที่มีชื่อเสียง ส่งผลต่อการตั้งใจซื้อเครื่องสำอาง. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ภารดี ผิวขาว. (2558). คุณค่าตราสินค้า ทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อตราสินค้า และความเกี่ยวพันในเรื่องแฟชั่น ที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าแฟชั่นตราสินค้าเกรฮาวด์ของผู้บริโภคภายในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

หทัยรัตน์ จรัสวสันต์. (2559). ลักษณะของศิลปินชายผู้นำเสนอผลติภัณฑ์เครื่องสำอางจากประเทศเกาหลีที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อของผู้หญิง. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อริญชย์ ณ ระนอง. (2558). อิทธิพลของทัศนคติที่มีต่อการโฆษณาสินค้าและทัศนคติที่มีต่อตราสินค้าในฐานะปัจจัยคั่นกลางที่ถ่ายทอดอิทธิพลของการรับรองผลิตภัณฑ์ โดยบุคคลที่มีชื่อเสียงสู่ความตั้งใจซื้อ. ดุษฎีนิพนธ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ภาษาอังกฤษ
Bower, A.B. (2001). Highly attractive models in advertising and the women who loathe them: The implications of negative affect for spokesperson effectiveness. Journal of Advertising, 30(3), 51-63.

Bower, A.B., & Landreth, S. (2001). Is beauty best? Highly versus normally attractiveness models in advertising. Journal of Advertising, 30 (1), 1-12.

Nguyen Minh Ha & Nguyen Hung Lam (2016). The Effects of Celebrity Endorsement On Customer’s Attitude toward Brand and Purchase Intention. International Journal of Economics and Finance; 9(1).

Shimp, T.A. (2003). Advertising, promotion: Supplemental aspects of integrated marketing communications (5th ed.). Forth worth, Tex.: Dryden.