การดัดแปลงข้ามสื่อละครเรื่อง “แม็คเบธ” ของวิลเลียม เชคสเปียร์

Main Article Content

ศรุต รัตนวิจิตร
จิรยุทธ์ สินธุพันธุ์

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การเล่าเรื่องและการคัดแปลงข้ามสื่อละครเรื่อง “แม็คเบธ” ของ วิลเลียม เชกสเปียร์ ที่ปรากฏในสื่อละครเวที ละครโทรทัศน์ แอนิเมชั่น และภาพยนตร์ จํานวนทั้งหมด 12 เรื่อง โดยใช้การวิเคราะห์ตัวบท ร่วมกับการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า โครงเรื่องในสื่อละครเวที ละครโทรทัศน์ แอนิเมชั่น และ ภาพยนตร์ ยังคงปรากฏโครงเรื่องหลักเหมือนในบทละคร แต่อย่างไรก็ดี การดําเนินเรื่องในสื่อต่างๆ มีการดัดแปลงให้มีลักษณะที่ต่างไปจากบทละคร ทั้งการตัดฉากที่ไม่เกี่ยวข้องกับตัวละครเอกออก และปรับเปลี่ยนตอนจบ ให้ต่างไปจากบทละคร การเพิ่มเส้นเรื่องที่ผ่านการถูกตีความใหม่อย่างเช่น เรื่องการทรยศหักหลัง การปะทะกันระหว่างศาสนาเก่าและใหม่ เป็นต้น รวมถึงใส่เนื้อหาและเส้นเรื่องที่ตีความใหม่เพื่อให้เข้ากับบริบทของเวลา และสถานที่ที่เปลี่ยนไป แก่นเรื่องส่วนใหญ่ยังคงพูดถึงการกระหายกิเลส และอํานาจอันเกินขอบเขตศีลธรรมของมนุษย์เหมือนในบทละคร แต่มีบางเรื่องที่ปรับเปลี่ยนข้อคิดและแก่นเรื่องให้ต่างไปจากของเดิม ส่วนความขัดแย้งนั้นส่วนใหญ่ยังคงปรากฏความขัดแย้งระหว่างตัวละครและความขัดแย้ง ภายในจิตใจที่มีลักษณะเช่นเดียวกับในบทละคร ทางด้านตัวละครเอกชาย ในสื่อต่างๆ ยังคงมีลักษณะร่วมที่เป็นชายผู้เก่งกาจในอาชีพการงานแต่ ลับมีกิเลสและความอยากเหมือนแม็คเบธในบทละครอยู่ แต่บางเรื่อง ได้ปรับเปลี่ยนภูมิหลังของตัวละครเอกชายให้ตรงตามฉากหลังที่เกิดขึ้น ลดทอนความสูงศักดิ์ และปรับเปลี่ยนลักษณะของตัวละครเอก บางอย่างเพื่อให้สอดรับกับเนื้อหาที่ถูกเพิ่มเข้าไปในเรื่อง ส่วนตัวละครเอกหญิงอย่างเลดี้แม็คเบธ แม้จะยังมีลักษณะของผู้หญิงที่มีความปรารถนาแรงกล้าเหมือนในบทละครหญิงที่มีความเด็ดเดี่ยวและกล้าหาญดุจชายชาตรี ภาพของ หญิงที่เก่ง ฉลาด มีเสน่ห์ และอ่อนโยน รวมถึงภาพ ของผู้หญิงที่ไร้เดียงสาและอ่อนแอ ตัวละครรองอื่นๆ ก็มีการปรับเปลี่ยนลักษณะตัวละครให้เข้ากับเนื้อเรื่องและ ฉากหลังที่ถูกปรับเข้ามาด้วยเช่นกัน

Article Details

Section
Articles

References

ภาษาไทย
กาญจนา แก้วเทพ. 2552 “สัมพันธบท” (Intertextuality): เหล้าเก่าในขวดใหม่ในสื่อสารศึกษา, กรุงเทพฯ: คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (วารสารนิเทศศาสตร์).
กิตติศักดิ์ สุวรรณโภคิน, 2556 สัมภาษณ์, 22 กุมภาพันธ์ กิตติศักดิ์ สุวรรณโภคิน และนพมาส แววหงส์, 25542 “จินตทัศน์แห่งเสรีชนและศิลปการเล่าเรื่องในภาพยนตร์ ใน อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ และคณะ, จินตทัศน์ทางสังคมในภาษาสื่อมวลชน: ศาสตร์และศิลป์แห่งการเล่าเรื่องใน ภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ มิวสิควิดีโอ ข่าว และโฆษณา, กรุงเทพฯ: โครงการสื่อสันติภาพ คณะนิเทศศาสตร์.
จุฬาฯ กุลวดี มกราภิรมย์, 2552 การละครตะวันตก: สมัยคลาสสิก-สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา, กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วารสารนิเทศศาสตร์ ปีที่ 37 ฉบับที่ 4 2556 คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จักรกฤษณ์ ดวงพัตรา 2544 แปล แปลง และแปรรูปบทละคร, กรุงเทพฯ : ศยาม. เจอร์เมน เกรียร์, 2549 เชกสเปียร์ = Shakespeare: a very short introduction. แปลโดย พันทิพา บูรณมาตร์, กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.
ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์. 2542 “คนกับหนังสือ: ใครคือ วิลเลียม เชกสเปียร์ ตัวจริง สารคดี.15(170); เมษายน.
เฉลิมศรี จันทร์อ่อน, 2530 ประวัติละครอังกฤษ 1. กําเนิดละครตะวันตกละครอังกฤษในศตวรรษที่สิบเก้า, กรุงเทพฯ : ภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธัญญา สังขพันธานนท์, 2539 วรรณกรรมวิจารณ์, ปทุมธานี: นาคร.
นินาท บุญโพธิ์ทอง. 2556 ผู้กํากับละครเวทีเรื่อง มรรคบาท/ฆาตกรรม. สัมภาษณ์, 5 กุมภาพันธ์ .
นพพร ประชากุล, 2542 “การเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ที่สัมพันธ์กับวิธีการเล่าเรื่องในสื่อมวลชน ใน อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์และคณะ, จินตทัศน์ทางสังคมในภาษาสื่อมวลชน: ศาสตร์และศิลป์แห่งการเล่าเรื่องในภาพยนตร์ ละคร โทรทัศน์มิวสิควิดีโอ ข่าวและโฆษณา, กรุงเทพฯ: โครงการสื่อสันติภาพ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปริญญา เกือกูล, 2537 เรื่องสันอเมริกันและอังกฤษ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์ ปัทมวดี จารุวร. 2528 ศัพท์ภาพยนตร์, กรุงเทพฯ: สงวนกิจการพิมพ์ วิลเลียม เชกสเปียร์, แมคเบธ. 2537 แปลโดย นพมาสแววหงส์: กรุงเทพฯ : ศูนย์การแปล คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมานรัฐฎ์ กาญจนะวณิชย์. (ม.ป.ป.). 2555 อ้างถึงใน นคร โพธิ์ไพโรจน์, Bioscope ลําดับที่ 124. กรุงเทพฯ: ก.พล. อนุรัชนี จาตุศรีพิทักษ์. 2541 ประวัติวรรณกรรมเอกอังกฤษ ตั้งแต่สมัยอังกฤษโบราณจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17. กรุงเทพฯ โครงการตํารา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อิราวดี ไหลังคะ, 2543 ศาสตร์และศิลป์แห่งการเล่าเรื่อง กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ภาษาอังกฤษ
An introduction to film studies. 2003 Edited by Jill Nelmes . London: Routledge.
Egil Tronqvist. 1991 Transposing Drama. Hong Kong. J.S.R. Goodlad. 1971 A sociology of popular drama. London: Heinemann. Leslie Dunton-Downer. 2004 Essential Shakespeare handbook. New York, N.Y.: DK Pub.;.
Louis Giannetti. 2008 Understanding Movies. Upper Saddle River, New Jersey: Pearson. Robert Cohen. 2006 Theatre. United States of America. Walter Benjamin. Illuminations. 1999 Edited and with an introduction by Hannah Arendt; translated by Harry Zorn. London: Pimlico.