การสร้างสุนทรียภาพแห่งความรุนแรงในภาพยนตร์ของมิชาเอล ฮาเนเคอ

Main Article Content

สุพมิตรา วรพงศ์พิเชษฐ
รักศานต์ วิวัฒน์สินอุดม

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดในการสร้าง สุนทรียภาพแห่งความรุนแรง ในภาพยนตร์ของมิชาเอล ฮาเนเคอ เพื่อวิเคราะห์ลักษณะภาษาของภาพยนตร์ทางด้านภาพและเสียงของ มิชาเอล ฮาเนเคอ และศึกษาสารในภาพยนตร์ของมิชาเอล ฮาเนเคอ โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยกระบวนการศึกษาวิเคราะห์ภาพยนตร์ ของมิชาเอล ฮาเนเคอ จํานวนทั้งหมด 10 เรื่อง


          ผลการวิจัยพบว่า การสร้างสุนทรียภาพแห่งความรุนแรงในภาพยนตร์ของมิชาเอล ฮาเนเคอ มีแนวคิดมา จากความตั้งใจที่จะสะท้อนปัญหาสังคมร่วมสมัยในโลก ปัจจุบัน ซึ่งปัญหาสังคมต่างๆล้วนมีความเกี่ยวข้องและ เชื่อมโยงกับความรุนแรงแทบทั้งสิ้น มิชาเอล ฮาเนเคอ สร้างความรุนแรงขึ้นมาในภาพยนตร์ของเขา เพื่อตั้งคำถามกับผู้ชมถึงความรุนแรงที่เกิดขึ้นจริงและอยู่รอบตัว ของผู้ชม เพื่อให้ผู้ชมเกิดสติปัญญาใคร่ครวญหาคําตอบด้วยตนเองว่าจะจัดการกับความรุนแรงที่พบเจอได้อย่างไร


          ลักษณะภาษาของภาพยนตร์ทางด้านภาพและเสียง ที่มิชาเอล ฮาเนเคอ ใช้ในการสร้างสุนทรียภาพแห่ง ความรุนแรง มีหลากหลายรูปแบบ อาทิเช่น การสร้าง ความสมจริงในการนําเสนอความรุนแรง การสร้าง อารมณ์ร่วมให้เกิดขึ้นในจินตนาการและการทําให้ผู้ชม เกิดความอยากรู้อยากเห็น การหลอกลวง การปฏิเสธ ความพึงพอใจและการทําลายความคาดหวังของผู้ชม ตลอดจนการกันผู้ชมให้ออกมาจากเรื่องราว เพื่อให้ผู้ชมกลับมาฉุกคิดถึงสารที่มิชาเอล ฮาเนเคอ ต้องการที่จะ สื่อให้ผู้ชมได้รับรู้


          สารในภาพยนตร์ของมิชาเอล ฮาเนเคอ ประกอบ ด้วยความรุนแรง การวิพากษ์ความรุนแรงในสื่อมวลชน โดยเฉพาะความรุนแรงที่ปรากฏในสื่อโทรทัศน์และภาพยนตร์ ความเหินห่างแปลกแยกของผู้คนในสังคมสมัยใหม่ และการสื่อสารที่ล้มเหลวระหว่างมนุษย์

Article Details

Section
Articles
Author Biographies

สุพมิตรา วรพงศ์พิเชษฐ

สุพมิตรา วรพงศ์พิเชษฐ (นศ.ม. การภาพยนตร์และภาพนิ่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554)

รักศานต์ วิวัฒน์สินอุดม, คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รักศานต์ วิวัฒน์สินอุดม ปัจจุบัน ดํารงตําแหน่งรองศาสตราจารย์ และเป็นอาจารย์ประจําภาควิชาการภาพยนตร์และภาพนิ่ง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

References

ภาษาไทย
ไกรวุฒิ จุลพงศธร. ซ่อนเร้นในปัจเจกะ หมายเหตุความรุนแรง. นิตยสาร Bioscope 48 (พฤศจิกายน 2548): 51-61.
นพมาส แววหงส์. จินตทัศน์แห่งเสรีชนและศิลปะการเล่าเรื่องในภาพยนตร์. จินตทัศน์ทางสังคม ในภาษาสื่อมวลชน,44. กรุงเทพฯ: โครงการหนังสือชุดวิจัยและพัฒนานิเทศศาสตร์, 2542.
ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์, ถอดรหัสสิ่งที่เรียกว่า “หนัง” ตอนที่ 2. นิตยสาร Bioscope 48 (พฤศจิกายน 2548): 46.
สายัณห์ แดงกลม. ศาสตร์และศิลป์ของความรุนแรงอันไร้รูป. การประชุมประจําปีทางมานุษยวิทยา, วัฒนธรรมไร้อคติ ชีวิตไร้ความรุนแรง, 56. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, 2548.

ภาษาอังกฤษ
Andrew, G. Film Directors A-Z: A Concise Guide to the Art of 250 Great Film-makers. London:Carlton Books, 2005.
Bordwell, D. Narration in Fiction Film. London: Methuen, 1985.
Brunette, P. Michael Haneke. Illinois: University of Illinois Press, 2010.
European Film Awards: The Winners. [Online]. 2009. Available from: http://www.european filmacademy.org/the-european-film-awards/the-winners [2010, January 15].
Golden Globe Awards: Nominations & Winners. [Online]. 2010. Available from: http://www.goldenglobes.org/nominations [2010, January 18].
Haneke, M. Violence and the Media. In R.Grundmann (ed.), A Companion to Michael Haneke, pp.575-579. Singapore: Wiley-Blackwell, 2010.
Jacobs, J. Gunfire, in J. Arroyo. Action/Spectacle Cinema: A Sight and Sound Reader, 9. London: British Film Institute, 2000.
Readman, M. Teaching Film Censorship and Controversy. London: British Film Institute, 2005.