ลักษณะของภาพยนตร์สารคดีที่แสดงอัตวิสัยของไมเคิล มัวร์

Main Article Content

ธนพล น้อยชูชื่น
ปัทมวดี จารุวร

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ลักษณะเด่นทั้งในแง่ ของเนื้อหาและการนําเสนอในภาพยนตร์สารคดีของ ไมเคิล มัวร์ โดยใช้แนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์ตัวบท จาก ภาพยนตร์สารคดีของ ไมเคิล มัวร์ ทั้งสิ้น 6 เรื่อง ที่เข้าฉายใน โรงภาพยนตร์ ซึ่งสามารถหาชมได้ในประเทศไทยในรูปแบบแผ่นวีดิทัศน์ และรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และสื่อออนไลน์ ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะเด่นของไมเคิลมัวร์เกิดจากปัจจัยพื้นฐานครอบครัวความชื่นชอบ และลักษณะนิสัยส่วนตัว ประกอบกับทักษะทางอาชีพอันหลากหลาย ทําให้งานของมัวร์มีลักษณะที่แตกต่างจากภาพยนตร์สารคดีอื่น และ ในแง่เนื้อหาในภาพยนตร์สารคดีของไมเคิล มัวร์นั้น มีนัยเพื่อการ ต่อต้านระบบทุนนิยมซึ่งปรากฏตัวในหลายรูปแบบตามประเด็นของภาพยนตร์สารคดีแต่ละเรื่อง โดยมัวร์ใช้รูปแบบของขั้ว ตรงข้ามเชิงธรรมะและอธรรม และมักส่อนัยของความ พ่ายแพ้ในการต่อสู้เพื่อให้ผู้ชมรู้สึกสะเทือนใจ และ ปลุกเร้าให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกอยากเปลี่ยนแปลงสิ่งไม่ดี ที่ปรากฏในเรื่องด้วย นอกจากนี้ ยังพบว่าในแง่ของ การนําเสนอหรือเทคนิคด้านภาพยนตร์สารคดีนั้น มัวร์ รับอิทธิพลมาจากภาพยนตร์สารคดีที่เน้นใส่มุมมอง ความเห็นของผู้สร้าง โดยมีพัฒนาการมาจากภาพยนตร์ โฆษณาชวนเชื่อจากฝั่งโซเวียตและนาซีเยอรมัน ผสมกับ การเน้นความสมจริงขณะถ่ายทําในรูปแบบไดเรกซีเนมา (Direct Cinema) เมื่อมัวร์นําลักษณะเด่นของตนเอง ทั้งลักษณะนิสัยและความชํานาญในทักษะอาชีพอื่น ที่หลากหลายของตนเองมาผสมผสานเข้าในแต่ละ องค์ประกอบของภาพยนตร์สารคดีทําให้เกิดสไตล์ ภาพยนตร์สารคดีโดดเด่นเฉพาะตัวและแตกต่างจาก ภาพยนตร์สารคดีอื่น

Article Details

Section
Articles
Author Biographies

ธนพล น้อยชูชื่น

ธนพล น้อยชูชื่น (นศ.ม. การภาพยนตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554)

ปัทมวดี จารุวร, คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปัทมวดี จารุวร (Candidate Phil. Film and Television U. of California) ปัจจุบันดํารงตําแหน่งหัวหน้าภาควิชา และรองศาสตราจารย์ประจําภาควิชาภาพยนตร์และภาพนิ่ง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

References

ภาษาไทย
ไกรวุฒิ จุลพงศธร. ซ่อนเร้นในปัจเจก: หมายเหตุความรุนแรง. นิตยสาร Bioscope 48 (พฤศจิกายน 2548): 51-61.
นพมาส แววหงส์. จินตทัศน์แห่งเสรีชนและศิลปะการเล่าเรื่องในภาพยนตร์, จินตทัศน์ทางสังคม ในภาษาสื่อมวลชน, 44. กรุงเทพฯ: โครงการหนังสือชุดวิจัยและพัฒนานิเทศศาสตร์, 2542.
ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์, ถอดรหัสสิ่งที่เรียกว่า “หนัง” ตอนที่ 2. นิตยสาร Bioscope 48 (พฤศจิกายน 2548): 46.
สายัณห์ แดงกลม, ศาสตร์และศิลป์ของความรุนแรงอันไร้รูป. การประชุมประจําปีทางมานุษยวิทยา, วัฒนธรรมไร้อคติชีวิตไร้ความรุนแรง, 56, กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, 2548.

ภาษาอังกฤษ
Andrew, G. Film Directors A-Z: A Concise Guide to the Art of 250 Great Film-makers. London: Carlton Books, 2005.
Bordwell, D. Narration in Fiction Film. London: Methuen, 1985.
Brunette, P. Michael Haneke. Illinois: University of Illinois Press, 2010.
European Film Awards: The Winners. [Online]. 2009. Available from: http://www.european film academy.org/the-european-film-awards/the-winners [2010, January 15].
Golden Globe Awards: Nominations & Winners. [Online]. 2010. Available from: http://www.goldenglobes.org/nominations [2010, January 18].
Haneke, M. Violence and the Media. In R.Grundmann (ed.), A Companion to Michael Haneke, pp.575-579. Singapore: Wiley-Blackwell, 2010.
Jacobs, J. Gunfire, in J. Arroyo. Action/Spectacle Cinema: A Sight and Sound Reader, 9. London: British Film Institute, 2000.
Readman, M. Teaching Film Censorship and Controversy. London: British Film Institute, 2005.