การสร้างอารมณ์ขันในละครชุดทางโทรทัศน์แนวระทึกขวัญเชิงสืบสวน เรื่อง ซูเปอร์เนเชอรัล

Main Article Content

ชลดา พรหมชาติสุนทร
ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการสร้างและ ประสานอารมณ์ขันในละครโทรทัศน์เรื่องซูเปอร์เนเชอรัล ซึ่งเป็นละคร ประเภทสยองขวัญเชิงสืบสวน โดยศึกษาจากละครที่ออกอากาศทุกตอน (นับถึงวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554) รวมทั้งสิ้น 6 ฤดูกาล จํานวน 126 ตอน และศึกษาทัศนคติสุนทรียรสของผู้ชมต่ออารมณ์ขันที่ปรากฏ ในละครโทรทัศน์ โดยใช้แบบสอบถามทางอินเทอร์เน็ต ร่วมกับการ สังเกตการณ์เชิงมีส่วนร่วมในชุมชนออนไลน์ เว็บไซต์พันทิป.คอม และทัมเบรอะ.คอม


          ผลการวิจัยพบว่า ละครโทรทัศน์ชุดซูเปอร์เนเชอรัล ประสานอารมณ์ขันเข้ากับแนวเรื่องสยองขวัญได้โดย การใช้องค์ประกอบของละคร ได้แก่ ตัวละคร นักแสดง และปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวละคร เครื่องแต่งกาย และ อุปกรณ์ประกอบฉาก แสง สีและขาวดํา เสียง การจัดองค์ประกอบของภาพและฉาก


          การเกิดอารมณ์ขันนั้นสามารถเกิดได้จากองค์ประกอบ สอดคล้องกัน นั่นคือมีความสัมพันธ์กันและสร้างอารมณ์ ไปในทิศทางเดียว และองค์ประกอบขัดแย้งกัน ซึ่งเกิดขึ้น จากหลักของคู่ตรงข้าม (Binary Opposite) ซึ่งสร้าง ความขัดแย้ง ความไม่เป็นไปตามกฎ ไม่เป็นปกติจึงเกิด อารมณ์ขันขึ้น โดยใช้กลวิธีการสร้างอารมณ์ขัน 10 รูป แบบได้แก่ เสียดสี เหน็บแนม ล้อสังคม ทําให้เป็นเรื่อง สัปดน นําภาพยนตร์หรือละครมาทําให้ขบขัน นําเรื่อง ของตนเองแทรกไว้ในเรื่อง ทําให้เรื่องจบแบบผิดความ คาดหมายกําหนดให้บุคคลในเรื่องตีความประสบการณ์ผิด สร้างความขัดแย้งในตนเอง ลวงให้คิด ใช้ตรรกวิทยาผิดๆ ใช้คําศัพท์สแลงหรือศัพท์วัยรุ่น


          จากการสอบถามเกี่ยวกับทัศนคติเกี่ยวกับอารมณ์ขัน ในละครโทรทัศน์เรื่องซูเปอร์เนเชอรัล พบว่า อารมณ์ขัน ในละครโทรทัศน์เรื่องซูเปอร์เนเชอรัลเพิ่มอรรถรสให้กับ เรื่องในระดับมาก องค์ประกอบของละครที่ส่งผลให้เกิด อารมณ์ขันมากที่สุดคือ ตัวละคร กลวิธีการสร้างสรรค์ อารมณ์ขันที่ส่งผลให้เกิดอารมณ์ขันมากที่สุดคือ การนําภาพยนตร์หรือละครเรื่องอื่นมาทําให้ขําขัน และฤดูกาล ที่ปรากฏอารมณ์ขันมากที่สุดคือ ฤดูกาลที่ 5


จังหวะของการใช้อารมณ์ขันที่พบ ได้แก่ ความเดิม ตอนที่แล้ว ไตเติ้ล ใช้เปิดเรื่องก่อนสถานการณ์คับขัน ขณะอยู่ในสถานการณ์คับขัน หลังสถานการณ์คับขัน และพบว่าผู้ชมได้รับสุนทรียะจากการประสานอารมณ์ขัน เข้ากับแนวเรื่องสยองขวัญ ซึ่งกลวิธีการสร้างอารมณ์ขันนั้น มีความใกล้เคียงกับการสร้างความระทึกขวัญและความ สยองขวัญ นั่นคือลวงให้ผู้ชมคิดไปอีกทาง ก่อนจะหัก กลับไปอีกทางหนึ่ง

Article Details

Section
Articles
Author Biographies

ชลดา พรหมชาติสุนทร

ชลดา พรหมชาติสุนทร (นศ.ม. นิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554)

ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์, คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์ รองศาสตราจารย์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

References

ภาษาไทย
กฤษดา เกิดดี. ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ : การศึกษาว่าด้วย 10 ตระกูลสําคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์, 2543.
จิธิวดี วิไลลอย. ประดิษฐกรรมในการเล่าเรื่องและสุนทรียรสในภาพยนตร์ชุดดิเอ็กซ์ไฟล์ส. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาวาทวิทยา คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547.
ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์, บทโทรทัศน์ เขียนอย่างไรให้เป็นมือโปร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์ และกมลรัฐ อินทรทัศน์. “การผลิตรายการบันเทิงคดี” ใน เอกสารการสอนชุดวิชาการผลิตรายการโทรทัศน์เบื้องต้น. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550.
ทศพร กรกิจ. การสร้างความน่าสะพรึงกลัวในหนังสือเมริกัน เกาหลีและไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตสาขาวิชาสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550.
ทัศนัย กุลบุญลอย. การสร้างเทพนิยายสมัยใหม่ในภาพยนตร์ชุดสตาร์วอร์ส. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544.
ทัศนีย์ กระต่ายอินทร์. อารมณ์ขันในวรรณกรรมร้อยแก้วของไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษามหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2521.
พีรภา สุวรรณโชติ. การสื่อสารปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกึ่งความจริง และการเรียนรู้คุณค่าทางบวกจากศิลปินนักร้องเกาหลีของกลุ่มแฟนคลับ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์พัฒนาการ คณะนิเทศศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551.
มัลลิกา คณานุรักษ์. คติชนวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2550.
มาโนช ชุ่มเมืองปัก. การเล่าเรื่องของภาพยนตร์ตลกไทยยอดนิยมชุด “บุญชู” กับการสร้างสรรค์ของผู้กํากับภาพยนตร์ วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547.
เมธา เสรีธนาวงศ์, การวิเคราะห์รูปแบบเนื้อหา และกลวิธีการนําเสนอมุขตลกของรายการตลกทางโทรทัศน์และวิดิโอเทป. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, 2539.
ศักดา วิมลจันทร์, คิดแก๊กให้ก๊าก. กรุงเทพฯ : มูลนิธิเด็ก, 2549.
สุโขทัยธรรมาธิราช, มหาวิทยาลัย, เอกสารการสอนชุดวิชา การผลิตภาพยนตร์เบื้องต้น. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551.

ภาษาอังกฤษ
Baym, Nancy K. Tune in, Log on : Soaps, Fandom, and Online Community.Thousand Oaks, California: Sage, 2000,
Creeber, G., (ed). The Television Genre Book. London: British Film Institute, 2001.
Kaminsky, Stuart M. American Television Genres. Chicago, Illinois : Nelson-Hall, 1988.
Phoenix. The Seven Deadly Sins. [ออนไลน์]. 2550. แหล่งที่มา : htp://www.lizaphoenix.com/demons/sin.shtml [2 กุมภาพันธ์ 2555]
Spiegel. Comedy Writing Secrets : the Best-Selling Book on How to Think Funny, Write Funny, Act Funny, and Get Paid for It. 2" ed. Ohio : Writer's Digest Books, 2005.