การสื่อสารอัตลักษณ์ความเป็นชาติในมวยไทย

Main Article Content

ทิฆัมพร เอี่ยมเรไร
กาญจนา แก้วเทพ

Abstract

การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์ 1. วิเคราะห์ความหมาย และกระบวนการประกอบ สร้างความหมายเพื่อการสื่อสารอัตลักษณ์ “ความเป็นชาติ” ของ “สื่อมวยไทย” ในปัจจุบัน 2. วิเคราะห์บทบาทของ “สื่อมวยไทย” ในปัจจุบันที่สื่อสาร “ความเป็นไทย” เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง ด้วยการวิเคราะห์ตัวบท เก็บข้อมูล 4 กลุ่มแยกตามลักษณะของสื่อ คือ 1), ภาพยนตร์ไทยเกี่ยวกับมวยไทย 2). การแข่งขันมวยไทยทาง โทรทัศน์ 3). คลิปวิดีโอการแข่งขันมวยไทยจาก YouTube.com และ 4), การแข่งขันมวยไทยที่เวทีมวยลุมพินี ผลการวิจัยพบว่า


  1. “สื่อมวยไทย” ทั้ง 4 ประเภทมีระดับในการ สร้างอัตลักษณ์ “ความเป็นชาติ” ต่างกัน มวยไทยที่ ลุมพินีสร้าง “ความเป็นไทย” มากที่สุด ถัดมาคือ มวยไทยทางโทรทัศน์ ภาพยนตร์มวยไทย และคลิป มวยไทยใน YouTube.com ขณะที่คลิปมวยไทยใน YouTube.com สร้าง “ความเป็นอื่น” มากที่สุดถัดมาคือ ภาพยนตร์มวยไทย มวยไทยทางโทรทัศน์ และมวยไทย ที่เวทีลุมพินี

  2. “สื่อมวยไทย” สร้างอัตลักษณ์ “ความเป็นไทย” ใน 5 บทบาทด้วยกันคือ (1) บทบาทแบบเดิมเพื่อ “บอกกับตัวเอง” (2) บทบาทเพื่อ “บอกกับคนอื่น” (3) บทบาทด้านเศรษฐกิจ (4) บทบาทในการสร้างอัตลักษณ์ “รสนิยมแบบไทยๆ” และ (5) บทบาทในการ “ปรับตัว” เพื่อปรับประสาน (articulation) เข้ากับความเปลี่ยนแปลง ในยุคโลกาภิวัตน์

Article Details

Section
Articles
Author Biographies

ทิฆัมพร เอี่ยมเรไร

ทิฆัมพร เอี่ยมเรไร (นศ.ด. นิเทศศาสตร์, คณะนิเทศศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554) ปัจจุบันเป็นอาจารย์ภาควิชา นิเทศศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร

กาญจนา แก้วเทพ, คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กาญจนา แก้วเทพ (Ph.D., University of Paris 7, France, 1984) ปัจจุบันดํารงตําแหน่งรองศาสตราจารย์ประจําภาควิชา การสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

References

ภาษาไทย
กาญจนา แก้วเทพ. “เมื่อพิธีกรรมเป็นลํานําแห่งความสุข” ใน ยึดหลักปักแน่นกับงานสื่อพื้นบ้านสื่อสารสุขภาวะ โครงการสื่อพื้นบ้านสื่อสารสุข สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส), 2549.
กาญจนา แก้วเทพ. “การสื่อสารในพิธีกรรม พิธีกรรมในการสื่อสาร” ใน สื่อเก่า สื่อใหม่ ใจเชื่อมร้อย, โครงการเมธีวิจัยอาวุโส ฝ่ายวิชาการ สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), 2554.
เขตร ศรียาภัย. ปริทัศน์มวยไทย. กรุงเทพมหานคร: มติชน, 2550. ชนิดา พรหมพยัคฆ์ เผือกสม. ธงไตรรงค์กับการสร้างอุดมการณ์รัฐไทย พ.ศ. 2459-2520. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546.
พิบูล หัตถกิจโกศล, อนุสาวรีย์ไทย : การศึกษาในเชิงการเมือง, วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527.
โพธิ์สวัสดิ์ แสงสว่าง, พัฒนาการกีฬามวยไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (พลศึกษา) คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529.
นฤมล ทับจุมพล, การใช้สื่อในการสร้างอุดมการณ์ทางการเมือง : ศึกษาจากบทเพลงของทางราชการ (พ.ศ. 2475 -พ.ศ. 2530), วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531.
ธงชัย วินิจจะกูล. “คํานําเสนอ” ใน นิธิ เอียวศรีวงศ์, ชาติไทย, เมืองไทย, แบบเรียนและอนุสาวรีย์. กรุงเทพมหานคร: มติชน, 2547.
มานิตย์ นวลละออ, การเมืองไทยยุคสัญลักษณ์รัฐไทย. กรุงเทพฯ: รุ่งเรืองรัตน์พริ้นติ้ง, 2540.
สมบัติ จันทรวงศ์, แสตมป์กับสังคม. กรุงเทพฯ : สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, 2526.
สมสุข หินวิมาน. “ทฤษฎีการสื่อสารกับโลกาภิวัตน์” ใน ปรัชญานิเทศศาสตร์และทฤษฎีการสื่อสาร. นนทบุรี: สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2548.

ภาษาอังกฤษ
Bhabha, H. Nation and Narration. London : Routledge, 1990.
Edensor, T. National identity, popular culture and everyday life. Oxford : Berg, 2002.
Hall, S. Representation : cultural representations and signifying practices. London : SAGE, 1997.
Winichakul, T. Siam Mapped : a history of the geo-body of a nation. Honolulu : University of Hawaii Press, 1994.
Woodward, K. Identity and Difference. London: Sage, 1997.