การสื่อสารภาพลักษณ์ที่สะท้อนอัตลักษณ์ความเป็นนักร้องของ “มาช่า วัฒนพานิช”

Main Article Content

ประกายกาวิล ศรีจินดา
วนาวัลย์ ดาตี้

Abstract

อุตสาหกรรมเพลงของประเทศไทยได้มีบทบาทสําคัญในการ สร้างสุนทรียศาสตร์ให้กับคนไทยมาเป็นระยะเวลารวมกว่า 80 ปีมาแล้ว โดยเฉพาะ “เพลงไทยสากล” ที่มีลักษณะเป็นเพลงที่ขับร้องในภาษาไทย นําทํานองไทยเดิมใส่เนื้อร้องบรรเลงและขับร้อง โดยใช้มาตรฐาน ของโน้ตเพลงแบบสากล จนถือได้ว่าเป็นเพลงไทยแนวใหม่ที่ได้รับ ความนิยมอย่างรวดเร็วและมีพัฒนาการตามสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป อย่างต่อเนื่องตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา จากอิทธิพลของดนตรีตะวันตก ที่เข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมเพลงของไทยตั้งแต่ปี 2527 เป็นต้นมา ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนในวงการเพลงไทยสากล เมื่อผลงาน เพลงที่พยายามเสนอความแปลกใหม่หลายชุดเริ่มประสบความสําเร็จ ทําให้บริษัทผู้ผลิตเทปเพลงหลายบริษัทเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น เช่น บริษัท แกรมมี่ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์, บริษัท นิธิทัศน์ โปรโมชั่น, บริษัท อาร์เอส โปรโมชั่น, บริษัท คีตา เร็คคอร์ด, บริษัท รถไฟดนตรี เป็นต้น โดยบริษัทเหล่านี้เริ่มทําการแข่งขันกันผลิตเพลงในสไตล์ดนตรีใหม่ๆ ออกมามากมาย เช่น แนวป๊อบ (Pop) ป๊อบร็อค (Pop rock) แดนซ์ (Dance) เฮฟวี่ เมทัล (Heavy metal) ส่วนเพลงไทยแบบเก่าที่นํามา ผลิตใหม่ ได้แก่ เพลงเพื่อชีวิต, ลูกทุ่ง, ลูกกรุง, วงขับร้องประสานเสียง ฯลฯ ก็ยังได้รับความนิยม แต่มีแนวโน้มความนิยมที่ลดลงเรื่อยๆ ทั้งนี้ บริษัทผู้ผลิตเทปเพลงแต่ละแห่งจึงได้พยายามรวบรวมเอาศิลปิน นักร้อง นักดนตรี และนักแต่งเพลงเข้าไว้ในสังกัดของตน ทำให้แนวดนตรีทุกประเภท ทุกสไตล์ ล้วนเกิดขึ้นภายใต้สังกัดในระบบธุรกิจทั้งสิ้น จึงทำให้มีเทปเพลงในแนวต่างๆ ออกมามากมายอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในอดีต (ลำเนา เอี่ยมสะอาด, 2539)

Article Details

Section
Articles
Author Biographies

ประกายกาวิล ศรีจินดา

ประกายกาวิล ศรีจินดา (นศ.ม. นิเทศศาสตรพัฒนาการ, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548) ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจําสาขา วิชาการโฆษณาและสื่อสารการตลาดกลุ่มสาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

วนาวัลย์ ดาตี้

วนาวัลย์ ดาตี้ (Ph.D. Mass Communication), College of Communication and Information science, The University of Alabama) ปัจจุบันเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจําคณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

References

หนังสือ/วิทยานิพนธ์
กาญจนา แก้วเทพ. (2551). “เส้นทางเดินของทฤษฎีและมโนทัศน์ของการสื่อสารมวลชน” ชุดความรู้นิเทศศาสตร์โครงการตํารานิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กาญจนา แก้วเทพ. (2543). สื่อสารมวลชน: ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : เอดิสันเพรส โพรดักส์.
กันตพชญ์ ธีระจันทเศรษฐ. (2552). การสื่อสารผลงานทางดนตรีของ คริสทิน่า อากีเลร่า, วิทยานิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑิต ภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กัณหรัตน์ เหลื่อมเจริญ. (2550). กระบวนการสร้างสรรค์และนําดนตรีของ ดนู ฮันตระกูล มาใช้ในงานสื่อสารมวลชน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กิติมา สุรสนธิ. (2553). ความรู้ทางการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ดวงสมร จักรพันธุ์. (2549). กลยุทธ์การบริหารภาพลักษณ์ศิลปินนักร้องไทยกับการรับรู้ของกลุ่มเป้าหมาย.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธีรพันธ์ โล่ห์ทองคํา. (2553). About Brands. กรุงเทพฯ: สํานักพิพมพ์ True the line Pubishing.
พัชริดา วัฒนา. (2535), ศิลปินเพลงไทยสากลและสื่อมวลชน: วิถีทางในการสร้างความมีชื่อเสียง, วิทยานิพนธ์
ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เพิ่มเกียรติ เรื่องสกุล. (2544). กระบวนการผลิตนักร้องของอุตสาหกรรมเพลงไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิชญ์สินี บํารุงนคร. (2543). ลักษณะความเป็นอมตะของเพลงสุนทราภรณ์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาช่า วัฒนพานิช. สัมภาษณ์เชิงลึก, 7 กุมภาพันธ์ 2555.
วิทวัส ชัยปาณี. (2550), “ซูเปอร์เออีกับความรู้เรื่องแบรนด์”, ซูเปอร์ เออี, กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์ยูนิเวอร์แซล พับลิซึ่ง.
ศมกมล ลิมปิชัย. (2536), กว่าจะเป็นธุรกิจเทปเพลง. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นิตยสาร/ หนังสือพิมพ์ นิตยสารคอนเสิร์ต ฉบับเดือน สิงหาคม 2536.
นิตยสารเธอกับฉัน ฉบับเดือน กรกฎาคม 2536.
นิตยสาร ภาพยนตร์บันเทิง ปีที่ 33 ฉบับที่ 1581 วันที่ 9-15 พฤษภาคม 2550
นิตยสาร สุดสัปดาห์ ปีที่ 24 ฉบับที่ 568 ปักษ์แรกตุลาคม 2549.
นิตยสาร Bioscope ปีที่ 5
ที่ 64 มีนาคม 2550.
นิตยสาร First ปีที่ 1 ฉบับที่ 13 ปักษ์แรก มิถุนายน 2551. นิตยสาร Hamburger ปีที่ 7 ฉบับที่ 134 สิงหาคม 2551 นิตยสาร MTV Track ฉบับเดือน กุมภาพันธ์ 2546. นิตยสาร Starpics ปีที่ 42 ฉบับที่ 699 ปักษ์หลังมีนาคม 2550
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ 26 กุมภาพันธ์ 2539
หนังสือพิมพ์ข่าวสด 4 เมษายน 2539.
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ 20 เมษายน 2540
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ 25 กุมภาพันธ์ 2540.
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ 3 มิถุนายน 2542.
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ 26 พฤษภาคม 2544.