ผลกระทบจากการขยายกิจการโรงภาพยนตร์มัลติเพล็กซ์ต่อระบบสายหนังในประเทศไทย

Main Article Content

ชญานิน ธนะสุขถาวร
รักศานต์ วิวัฒน์สินอุดม

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึงทัศนคติและพฤติกรรม การใช้บริการโรงภาพยนตร์มัลติเพล็กซ์ของผู้ชมในประเทศไทย ทราบถึง สภาพทั่วไปของระบบสายหนังในประเทศไทย และเพื่อทราบถึงความ เปลี่ยนแปลงและแนวโน้มของระบบสายหนังในประเทศไทย จากการสํารวจพบว่าผู้ชมส่วนใหญ่ที่เข้าชมภาพยนตร์ ในโรงภาพยนตร์มัลติเพล็กซ์เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 18-20 ปี มีรายได้ต่ํากว่า 10,000 บาท เป็นนักเรียน นิสิต นักศึกษา โดยรู้จักโรงภาพยนตร์มัลติเพล็กซ์ ผ่านโฆษณาทางโทรทัศน์ มีความถี่ในการเข้าชมภาพยนตร์ 1 ครั้งต่อเดือน นิยมเข้าชมภาพยนตร์ในวันอาทิตย์ กับกลุ่มเพื่อนที่โรงภาพยนตร์มัลติเพล็กซ์แบบอยู่ใน ห้างสรรพสินค้ามากที่สุด ภาพยนตร์ที่เข้าไปชมส่วนใหญ่ จะเป็นภาพยนตร์แอคชั่นผจญภัยจากต่างประเทศ โดย จะเลือกชมเสียงพากย์ไทยมากกว่าเสียงในฟิล์ม ผู้ชม มีความเห็นว่าโรงภาพยนตร์มัลติเพล็กซ์เป็นสถานที่ พักผ่อนหย่อนใจ เหมาะสําหรับการมาพักผ่อนคลายเครียด แต่จะไม่มาใช้บริการถ้าราคาสูงเกินไป สําหรับทัศนคติ ต่อองค์ประกอบของโรงภาพยนตร์มัลติเพล็กซ์ที่เคย ใช้บริการ ผู้ชมนั้นมีความชอบมาก โดยเฉพาะในด้าน ระบบเสียง ระบบจอภาพและเครื่องฉาย


ผลการวิจัยที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสําคัญ พบว่า ปัจจุบันอาณาเขตสายหนังได้ลดจํานวนลงเหลือ เพียง 4 สาย ได้แก่ สายตะวันออก สายเหนือและ แปดจังหวัด สายอีสาน และสายใต้ โดยมีบริษัทสายหนัง ที่ดําเนินการอยู่ทั้งหมด 6 บริษัท นอกจากนั้นยังพบว่า ความเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มของระบบสายหนังใน ประเทศไทยมี 4 ประการ คือ รูปแบบโครงสร้างองค์กร ของสายหนัง รูปแบบการซื้อขายภาพยนตร์ การจัดส่ง ภาพยนตร์ และการสนับสนุนการสร้างภาพยนตร์ไทย

Article Details

Section
Articles
Author Biographies

ชญานิน ธนะสุขถาวร

ชญานิน ธนะสุขถาวร (นศ.ม. การภาพยนตร์และภาพนิ่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554)

รักศานต์ วิวัฒน์สินอุดม, คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รักศานต์ วิวัฒน์สินอุดม ปัจจุบัน ดํารงตําแหน่งรองศาสตราจารย์ และเป็นอาจารย์ประจําภาควิชาการภาพยนตร์และภาพนิ่ง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

References

ภาษาไทย
จุฑาภา ยศสุนทรากุล. กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดภาพยนตร์อเมริกันของบริษัทผู้จัดจําหน่ายภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543.
ชัยวัฒน์ ทวีวงศ์แสงทอง และชาญนริศ บุญพารอด. การบริหารงานและจัดซื้อภาพยนตร์ ใน การบริหารงานภาพยนตร์, 481-510. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2532.
ชัยวัฒน์ ทวีวงศ์แสงทอง และพรสิทธิ์ พัฒธนานุรักษ์. การบริหารงานสายภาพยนตร์. ใน การบริหารงานภาพยนตร์, 514-554. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2532.
ธนาทิพ ฉัตรภูติ, ตํานานโรงหนัง, กรุงเทพมหานคร: เวลาดี, 2547.
นคร โพธิ์ไพโรจน์, ลาก่อนฟิล์ม สวัสดีดิจิตอล, Bioscope: เล่มที่ 120, 2555 มนฤดี ธาดาอํานวยชัย พัฒนาการและทิศทางของโรงภาพยนตร์ระบบมัลติเพล็กซ์ในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539.
รักศานต์ วิวัฒน์สินอุดม, ทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย. รายงานการวิจัย คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548.
วิสูตร พูลวรลักษณ์, โรงหนังท้องถิ่นจะปรับตัว...หรือถอดใจ? Bioscope: เล่มที่ 120, 2555.
วิสูตร พูลวรลักษณ์ และทัศนีย์ จันทร, การบริหารงานโรงภาพยนตร์, ในการบริหารงานภาพยนตร์, 271-314.นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2532.
อุษา ไวยเจริญ, การควบรวมกิจการในธุรกิจโรงภาพยนตร์, งานวิจัยเฉพาะเรื่อง เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2550
ภาษาอังกฤษ
Etzel, Michael J.,Bruce J. Walker and William J. Stanton. Marketing. 12th ed. Boston: McGraw-Hill, Inc., 2001.
Leedy, D. J.. Motion Picture Distribution : An Accountant's Perspective. Self-published booklet, 1980.
Robert G. Friedman. “Motion Picture Marketing,” in The Movie Business Book. Jason E. Squire. (ed.) Glasgow: McGraw - Hill, 2006.
Schiffman, Leon G. and Leslie Lazar Kanuk. Consumer Behavior. 7th ed. New Jersey: Prentice-Hall. Inc., 2000.
Semenik, Richard J. Promotion and Marketing Communications. Ohio: South - Western, 2002.