นิเทศศาสตร์ในพระไตรปิฎก
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนิเทศศาสตร์ในพระไตรปิฎกมีวัตถุประสงค์เพื่อ ค้นหาเนื้อหาที่เป็นศาสตร์และมโนทัศน์เกี่ยวกับการสื่อสารที่ซ่อนอยู่ ในพระไตรปิฎก จากการใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหาพบว่านิเทศศาสตร์ของ พระพุทธเจ้าปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก 23 เล่ม ทั้งในพระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธัมมปิฎก จากทั้งหมด 45 เล่ม จัดหมวดหมู่ออกได้เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับปรัชญานิเทศศาสตร์ ได้แก่ อภิปรัชญาการสื่อสาร ญาณวิทยาการสื่อสาร และคุณวิทยาการสื่อสาร หัวข้อเรื่องหรือมโนทัศน์หลักของการสื่อสารแนวพุทธที่พบได้แก่ ปฏิจจสมุปบาทซึ่งมีแนวคิดเรื่องผัสสะเป็นหัวใจของการสื่อสารภายใน บุคคล ขันธ์และอัตตาอันเป็นทั้งเหตุและผลของการสื่อสาร อนุสาสนี ปาฏิหาริย์อันเป็นฤทธิ์ที่น่ายกย่องของการสื่อสาร อํานาจซึ่งเป็น มโนทัศน์หลักประการหนึ่งของวงวิชาการนิเทศศาสตร์ สตรีและบุรุษ ซึ่งเป็นอีกกระบวนทัศน์หนึ่งของนิเทศศาสตร์ ภาษากับการสืบทอด ความหมายในทัศนะของพุทธศาสตร์ การทะเลาะวิวาท รวมทั้งสาราณียธรรมอันเป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อสร้างความสามัคคีในกลุ่ม/ การองค์กร และเรื่องอื่นๆ อีกมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการพูดซึ่งมีเนื้อหาละเอียดพิสดารมากกว่า 32 เรื่อง
Article Details
References
ปยุตโต, พระธรรมปิฎก ป.อ. นิติศาสตร์แนวพุทธ. กรุงเทพมหานคร สหธรรมิก 2542.
เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ. กรุงเทพมหานคร เม็ดทราย 2545. - พระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ. พุทธธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 11 กรุงเทพมหานคร โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 2552
ภาษาอังกฤษ
Craig, R.T. & Muller, H.L. (eds.). Theorizing Communication. Thousand Oaks, CA: Sage, 2007.
Gadamer, H-G. Truth and Method. (2nd ed.; G. Barden & J. Coming, Trans.). New York: Crossroad, 1989.
Littlejohn, S. W., & Foss, K. A. Theories of Human Communication 8th ed. Belmont, CA: Thomson Wadsworth, 2005.
MacIntyre, A. After Virtue: A Study in Moral Theory. Notre Dame, IN: University of Notre Dame Press, 1981.
Rogers, E. M. A History of Communication Study. New York: The Free Press, 1994. http://www.ecrea.eu/divisions/section/id/11 (accessed March 16, 2012).