การโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทางหนังสือพิมพ์ ก่อนและหลังพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์พ.ศ. 2551
Main Article Content
Abstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะและเนื้อหา ของการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทางหนังสือพิมพ์ภายใต้ การเปลี่ยนแปลงของกฎหมายระเบียบข้อบังคับ โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง จากหนังสือพิมพ์รายวัน 9 ฉบับ ใน 4 ช่วงเวลาที่เท่ากัน ระยะเวลา 4 ปี ทําการวิเคราะห์เปรียบเทียบด้วยสถิติเชิงพรรณนา
ผลการศึกษาพบว่า การโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีการปรับตัวอย่างรวดเร็ว ตามการเปลี่ยนแปลงของ กฎหมาย ทั้งในประเด็นจํานวน รูปแบบ ขนาด และ เนื้อหาการโฆษณา โดยมีทิศทางการเปลี่ยนแปลงที่ ชัดเจน คือ มีจํานวนโฆษณาเพิ่มขึ้นหลังการประกาศ ใช้พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 และมีการปรับโฆษณาผลิตภัณฑ์เป็นโฆษณา ตราสินค้า โดยเฉพาะเบียร์ ในระยะต่อมา พบว่า มีการ เพิ่มของสัดส่วนโฆษณาทางอ้อม และการโฆษณาบริษัท ผู้ผลิต โดยเฉพาะในประเด็นด้านความรับผิดชอบต่อ สังคมของผู้ประกอบการ ในภาพที่มีจํานวนสอดคล้อง ใกล้เคียงกับมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติฯ การศึกษา ยังพบว่า การโฆษณาส่วนใหญ่อาจจะเข้าข่ายผิดกฎหมาย โดยเฉพาะในประเด็นการไม่มีคําเตือน
Article Details
References
โครงการศึกษาและเฝ้าระวังสื่อเพื่อสุขภาวะของสังคม. (2551). โครงการติดตามเฝ้าระวังการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทางสื่อโทรทัศน์ปี 2551. กรุงเทพฯ : ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา.
บัณฑิต ศรไพศาล และคณะ. (2550). ทําไมต้องควบคุมการโฆษณาและการส่งเสริมการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยสิ้นเชิง. กรุงเทพฯ : ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
บัณฑิต ศรไพศาล และคณะ. (2552). รายงานสถานการณ์สุราประจําปี พ.ศ.2552. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดีการพิมพ์.
ประกาศคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ว่าด้วยรูปแบบและวิธีการแสดงข้อความคําเตือนประกอบภาพของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือภาพสัญลักษณ์ของบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์. (2553, 27 พฤษภาคม) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 127 ตอนที่ 67ง. หน้า 11-13.
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง หลักเกณฑ์ การโฆษณาเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์(2548, 6 มิถุนายน), ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 122 ตอนพิเศษ 41ง. หน้า 20-21.
ปาริชาต สถาปิตานนท์. (2551). แบรนด์บาป, กรุงเทพฯ : เอ เอ เปเปอร์ แอนด์ สเตชั่นเนอรี่.
ปาริชาต สถาปิตานนท์ และคณะ (2553). การสื่อสารความหมายและการรับรู้ความหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสังคมไทย : กรณีกิจกรรมที่แสดงความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ของธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรุงเทพฯ : ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา.
ผู้จัดการออนไลน์. (2553). รัฐบาลหลงกลผู้ผลิตเหล้า-เบียร์ ตีแผ่ขบวนการน้ําเมา! 7-11 โชห่วย ผับ บาร์ รวยเละ. แหล่งที่มา: http://www.manager.co.th/mgrweekly/viewnews.aspx?newsID=9580000126327
พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์. (2551, 13 กุมภาพันธ์), ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอนที่ 33ก. หน้า 34-49.
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. (2554). รายงานผลการสํารวจความคิดเห็นของภาคประชาชนต่อร่างอนุบัญญัติตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ของ สํานักงานคณะกรรมการควบคุม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี : สํานักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์.
ยงยุทธ ขจรธรรม และ บังอร ฤทธิภักดี. (2547). นโยบายและมาตรการในการควบคุมการบริโภคแอลกอฮอล์.?กรุงเทพฯ : อุษาการพิมพ์.
เสรี วงษ์มณฑา. (2540), ครบเครื่องการสื่อสารการตลาด กรุงเทพฯ: วิสิทธิ์พัฒนา ศรีรัช ลาภใหญ่ (2550), การศึกษางานโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีผลต่อความรู้สึกอยากทดลองดื่มและการจดจําตราสินค้าในกลุ่มเยาวชนและวัยรุ่น. กรุงเทพมหานคร.ศูนย์วิจัยปัญหาสุราเอซีเนลสันมีเดียรีเสิร์ช (ประเทศไทย), Ad Spending Summary (Section Alcoholic) 2008. แหล่งที่มา: http://www.stopdrink.com
Institute for Alcohol Study. (2004). Alcohol and Advertising. Institute of Alcohol Studies.
Jernigan D.H. (2005). Globalization of Alcohol Markets in Central and South America. Presentation to the CISA Conference, Brasilia,28-30 November.
O'Brien, K. S. & Kypri, K. (2008). Alcohol industry sponsorship and hazardous drinking among sportspeople. Addiction, 103, 1961-1966.
World Advertising Research Center. (2002). Advertising Statistics Yearbook 2002. World AdvertisingResearch Center. London, English: Henry-Upon-Thames.