การนำเสนอเนื้อหานิตยสารการ์ตูน และความสอดคล้องกับคุณลักษณะเด็กและเยาวชนที่พึงประสงค์ ตามกรอบนโยบายเยาวชนแห่งชาติ และแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนระยะยาว
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการศึกษาสื่อเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนนโยบายพัฒนาเด็กและเยาวชน และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำนิตยสารการ์ตูน เพื่อสำรวจเนื้อหาและรูปแบบการนำเสนอเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กและเยาวชนในนิตยสารการ์ตูน เพื่อเปรียบเทียบเนื้อหาการพัฒนาเด็กและเยาวชนในนิตยสารการ์ตูนกับนโยบายเยาวชนแห่งชาติและแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนระยะยาว พ.ศ. 2545-2554 และเพื่ออธิบายปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กและเยาวชนของนิตยสารการ์ตูน พบว่านิตยสารการ์ตูนมีการนำเสนอเนื้อหาการพัฒนาเด็กและเยาวชนด้านความคิดมากที่สุด มีรูปแบบการนำเสนอแบบรูปภาพมากที่สุด ผู้อ่านนิตยสารการ์ตูนรับรู้รูปแบบการนำเสนอเนื้อหา ได้แก่ รูปภาพมากที่สุด การวิเคราะห์เปรียบเทียบกับนโยบายพบว่าสอดคล้องเป็นส่วนใหญ่ เช่น ความผูกพันในครอบครัว สุขภาพ และไม่สอดคล้องในบางเรื่อง เช่น การทำงานสุจริต โดยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการนำเสนอเนื้อหาในนิตยสารการ์ตูนของผู้จัดทำนิตยสารการ์ตูน ได้แก่ ปรัชญาวิชาชีพ นโยบายขององค์กร การคัดเลือกเนื้อหา ปัญหาการทำงานการตลาด นโยบายภาครัฐ และผู้อ่านนิตยสาร
Article Details
References
มวลชนต่อพฤติกรรมของเด็กและเยาวชนไทย. กรุงเทพมหานคร: รายงานการสัมมนา 6 กันยายน 2539 ณ ห้องประชุมงบประมาณ อาคารรัฐสภา 3 ชั้น 3. คณะอนุกรรมการศึกษาบทบาทสื่อมวลชนในการพัฒนาเด็ก. (2535) บทบาทสื่อมวลชนในการพัฒนาเด็ก. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์อักษรไทย.
จุฑามาส ศรีโมรา. (2545). การวิเคราะห์เนื้อหาภาพยนตร์การ์ตูนของไทยทางโทรทัศน์ในด้านการขัดเกลาทางสังคม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตรพัฒนาการ ภาควิชาการประชาสัมพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จุติมา เพชรรัตน์. (2541). การเปิดรับหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นที่มีเนื้อหาทางเพศของเด็กวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานครกับทัศนคติต่อเพศสัมพันธ์ วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตรพัฒนาการ ภาควิชาการประชาสัมพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชวรัตน์ เชิดชัย. (2546). บทบาทและหน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์ หน่วยที่ 4 ใน ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสื่อสิ่งพิมพ์ นนทบุรี: สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ณัฐ นาคะสุวรรณ. (2547). การวิเคราะห์เนื้อหาหนังสือพิมพ์และนิตยสารไทยเกี่ยวกับความรู้ด้านอาหารเพื่อสุขภาพวิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตรพัฒนาการ ภาควิชาการประชาสัมพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดวงกมล เวชบรรยงรัตน์ และประกายรัตน์ ศรีสอ้าน (2541). การสื่อสารกับการพัฒนาสังคม. ในสื่อสารกับการพัฒนา, หน้า 693-770. นนทบุรี: สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ปฬาณี ฐิติวัฒนา. (2535). การพัฒนาเด็ก เยาวชนและสตรี. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, พรชัย เชวงเดช. (2531), การวิเคราะห์เนื้อหาด้านจริยธรรมของภาพยนตร์การ์ตูนสําหรับเด็กที่ออกอากาศ
ทางสถานีโทรทัศน์ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร พัฒนาการ ภาควิชาการประชาสัมพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ระวีวรรณ ประกอบผล. (2530), นิตยสารไทย. กรุงเทพมหานคร: คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิษณุ สุวรรณเพิ่ม. (2527), การตกแต่งต้นฉบับ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคําแหง.
สุชา จันทน์เอม และสุรางค์ จันทน์เอม. (2529), จิตวิทยาวัยรุ่น. กรุงเทพมหานคร: แพร่พิทยา สุรสิทธิ์ วิทยารัฐ. (2542). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสื่อสิ่งพิมพ์, กรุงเทพมหานคร: ศูนย์หนังสือสถาบันราชภัฎสวนสุนันทา.
อมรพรรณ ซุ้มโชคชัยกุล. (2548). ปัจจัยที่มีผลต่อเนื้อหาในสื่อสิ่งพิมพ์ในการเขียนสําหรับสื่อสิ่งพิมพ์, นนทบุรี.:,มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อภิชญา อยู่ในธรรม. (2551). การสื่อสารกับการพัฒนาสังคม. ในการสื่อสารกับการพัฒนา หน่วยที่ 11, หน้า 152-153. นนทบุรี: สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ภาษาอังกฤษ
Gerbner G., Gross. L., Morgan, M., and Signorielli, N. The mainstreaming' of America: violence profile no. 11. Journal of Communication 30 (1980): 10-29.
Lasswell, H. D. (1948). “The Structure and Function of Communication in Society”. The Communication of Ideas Lyman Bryson (ed.) New York: Harper & Brothers.
Schramm, W. (1973). Mass Media and National Development. Stanford University and UNESCO