กระบวนการ และกลยุทธ์การสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจการยอมรับของสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

Main Article Content

เอกพงศ์ จันทร์กล่ำ
กาญจนา แก้วเทพ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กระบวนการ และกลยุทธ์การสื่อสารภายในองค์กรเพื่อสร้างความเข้าใจ และการยอมรับต่อสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ วิเคราะห์กระบวนนการ และกลยุทธ์การสื่อสารภายนอกองค์กรเพื่อสร้างความเข้าใจ และการยอมรับต่อสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ และวิเคราะห์ปัจจัยในการเลือกใช้กลยุทธ์การสื่อสารในการสร้างความเข้าใจและการยอมรับของสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ โดยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-Depth Interview) การสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) และวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) โดยศึกษาใน 2 ช่วงระยะเวลา คือ ช่วงที่ 1 ปี 2550-2551 และ ช่วงที่ 2 ปีการศึกษา 2552-2554 ผลการวิจัยพบว่า การสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจและการยอมรับภายในองค์กรมีกระบวนการสื่อสาร คือ การสื่อสารระหว่างบุคคล การสื่อสารองค์การ โดยใช้กลยุทธ์หลัก คือ กลยุทธ์การใช้สื่อบุคคลและสื่อกิจกรรม ในขณะที่การสื่อสารเพื่อการสร้างความเข้าใจภายนอกองค์กรใช้กระบวนการสื่อสาร คือ การสื่อสารระหว่างบุคคล การสื่อสารองค์การ การสื่อสารกลุ่มใหญ่ และการสื่อสารมวลชน โดยใช้กลยุทธ์สื่อบุคคล สื่อกิจกรรม และการผสมผสานสื่อสารมวลชน ได้แก่ โทรทัศน์ วิทยุ และ สื่อร้านสะดวกซื้อ เช่น เซเว่น อีเลฟเว่น ส่วนปัจจัยในการเลือกใช้กลยุทธ์การสื่อสาร มีทั้งภายในและภายนอก คือ กลุ่มเป้าหมาย และการวางกลยุทธ์ตามกลุ่มเป้าหมาย มีการค้นพบองค์ประกอบที่เป็นแรงขับเคลื่อน ทำให้เกิดเข้าใจและการยอมรับ ประกอบด้วยไปด้วย 1) กิจกรรมเพื่อสังคม หรือ CSR ของ บมจ. ซีพี ออลล์ และแนวทางการเป็น Corporate University 2) รูปแบบการสื่อสารแบบการสื่อสารการตลาดแบบผสมสาน และการประชาสัมพันธ์เพื่อการตลาด และ 3) กลยุทธ์การสื่อสารโดยใช้สื่อหลัก คือ สื่อบุคคล และ สื่อกิจกรรม และกลยุมธ์การใช้สาร คือ One Single Message

Article Details

Section
Articles
Author Biographies

เอกพงศ์ จันทร์กล่ำ

เอกพงศ์ จันทร์กล่ำ (นศ. ม. นิเทศศาสตรพัฒนาการ, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553)

กาญจนา แก้วเทพ, คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กาญจนา แก้วเทพ (Ph. D., University of Paris 7, France, 1984) ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ประจำภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

References

ภาษาไทย
กรรณิการ์ อัศวดรเดชา. การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ. กรุงเทพมหานคร : ภาควิชาการประชาสัมพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2550.
ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์. CEO กับความรัก. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์บุ๊คสไมล์, 2552.
ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์. CEO โลกตะวันออก (ฉบับเข้มข้น). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์บุ๊คสไมล์, 2553.
จินตนา สีหาพงษ์. อาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ คณะบริหารธุรกิจ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์. สัมภาษณ์, 16 มกราคม พ.ศ. 2554.
จีระ หงส์ลดารมย์, 2552, เอกสารประกอบการเสวนา : ทศวรรษที่ 2 ของการปฏิรูปการศึกษา : ปฏิรูปอะไร และ อย่างไร, 15 มิถุนายน 2552, กรุงเทพฯ.
ซีพี ออลล์ (บมจ.) รายงานบรรษัทภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคมปี 2552. กรุงเทพมหานคร: 2552.
ฐานเศรษฐกิจ.
ฐานเศรษฐกิจ. “PIT มุ่งเป็น Corporate University”, 12-15 สิงหาคม 2553, หน้า 31 การศึกษา.
ณัฐฐิรา โสรธร. หัวหน้างานการศึกษาสัมพันธ์ สถาบันจัดการปัญญาภิวัฒน์. สัมภาษณ์, 11 มีนาคม พ.ศ. 2554.
ธีรวิทย์ ภิญโญณัฐกานต์, 2549, “อนิจจา… การศึกษาไทย”. มติชนรายวัน, 8 กันยายน 2549, น. 6.
ปารเมศ วรเศยานนท์. ดร. อดีตผู้อำนวยการ สำนักวิเทศองค์การ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์. สัมภาษณ์, 15 มกราคม พ.ศ. 2554.
ประชาชาติธุรกิจ. “เปิดยุทธศาสตร์กำลังพล “ซีพี ออลล์” ชูธง “ปัญญาภิวัฒน์” ผลิตคนป้อนธุรกิจ, 17 กุมภาพันธ์ 2554, น. 35.
พรทิพย์ วรกิจโภคาทร. การวิจัยเพื่อการประชาสัมพันธ์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ประกายพรึก, 2536.
พรทิพย์ สัมปัตตะวนิช. การตลาดเพื่อสังคม. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2547.
โพสต์ทูเดย์. “เปิดยุทธศาสตร์การศึกษา สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ปี 2554 มุ่งสู่ Corporate University เต็มตัว/เปิดหลักสูตรใหม่ 6 สาขา”, 21 กุมภาพันธ์ 2554, น.1-2.
มติชนรายวัน “ตะลึงผลการวิจัย คุณภาพบัณฑิต ‘สาขาบริหารการศึกษา’ ?? ชูสโลแกน ‘จ่ายครบจบแน่นอน’”, 11 เมษายน 2549, น. 27.
วิจิตร อาวะกุล. การประชาสัมพันธ์ : หลักและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช, 2522.
วิจิตร ศรีสอ้าน, 2552, เอกสารประกอบการประชุมสัมมนา: ปฏิรูปการศึกษารอบสอง การประเมินรอบสาม : ปรับแต่งหรือปรับรื้อระบบ??”, 14 พฤษภาคม 2552, สโมสรทหารบก ถนนวิภาวดีรังสิต, กรุงเทพฯ.
วิทวัส ชัยปราณี. สร้างแบรนด์อย่างสร้างสรรค์ กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ฐานเศรษกิจ 2548.
วิรัช อภิรัตนกุล. การประชาสัมพันธ์ ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529.
ศิขริน ถวิลประวัติ. อาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีก คณะบริหารธุรกิจ สถาบันจัดการปัญญาภิวัฒน์. สัมภาษณ์, 16 มกราคม พ.ศ. 2554.
ศิริวรรณ เสรีรัตน และคณะ. องค์การและการจัดการฉบับมาตรฐาน. กรุงเทพฯ : ธรรมสาร, 2545.
สมภพ มานะรังสรรค์. รองศาสตราจารย์ ดร. อธิการบดีสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์. สัมภาษณ์, 28 มกราคม พ.ศ. 2554.
เสรี วงษ์มณฑา. การประชาสัมพันธ์ : ทฤษฎีและปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : ธีระ ฟิล์ม และไซเท็กซ์, 2542.
อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท. การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549.

ภาษาอังกฤษ
Cutlip, Scott M., Center, Allen H. and Brrom, Glen M.. Effective Public Relations. 6th Edition. New Jersey : Prentice Hall, 1985.
Doyle. Value-Based Marketing : Marketing Strategies for Corporate Growth and Shareholder Value. Chichester, England : John Wiley & Son, 2000.
Ducan Thomas R. Principle of Advertising & IMC. 2nd ed. New York : Irwin 2005.
Kotler Phillip, Ned Roberto and Nancy Lee. Social Marketing : Improve the Quality of Life. Thousand Oaks : Sage 2002.
Kotler Phillip and Lee Nancy. Corporate Social Responsibility. U.S.A. : John Wiley & Sons, Inc., 2009.
Mondy, R. Wayne. Management : Concepts, Practices and Skills. Boston : Allyn & Bacon, 1991.
Myers, Michele Toleta and Myers, Gail E. Managing by Communication : An Organization Approach. Tokyo : McGrade – Hill Kogkusha, 1982.
Russell, J.T. & Lane, W.R. Kleeper’s Advertising Procedure. (15th ed.) Upper Saddle River. NJ : Prentice Hall, 2002.
Schultz, Don E. Integrated Marketing Communications. Lincolnwood III : NTC Business Book, 1993.
Shimp, Terence A… Promotion Management and Marketing Communication. Forth Worth : The Dryden Press. 1993.
Shimp, Terence A… Advertising Promotion and Supplemental Aspects of Integrated Marketing : 15th ed. Orlando FL : Dryden Press. 2000.
Stobart, P. Brand Power. London : Macmillian Press, 1994.
Wood, M.B. Clear IMC Goals Build Strong Relationships. Marketing News (1997) : 11-15.