การออกแบบตัวละครสำหรับภาพยนตร์แอนิเมชันสองมิติกับความพึงพอใจของผู้ชมไทย

Main Article Content

พิเชษฐ วงษ์จ้อย
รักศานต์ วิวัฒน์สินอุดม

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ชมไทยที่มีต่อตัวละครสำหรับภาพยนตร์แอนิเมชันสองมิติที่ออกแบบแตกต่างกัน โดยนำตัวละครหลัก จากเรื่อง “สุดสาคร” บทประพันธ์ของสุนทรภู่ จำนวน 5 ตัว มาออกแบบตัวละครสำหรับภาพยนตร์แอนิเมชันสองมิติ ให้แตกต่างกัน 3 แบบ คือ แบบอเมริกัน แบบญี่ปุ่น และแบบไทย เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการวิจัยเชิงทดลองกับกลุ่มผู้ชมไทย 3 กลุ่ม จำนวน 180 คน ได้แก่ กลุ่มประชากรที่มีอายุไม่เกิน 14 ปี จำนวน 54 คน กลุ่มประชากรที่มีอายุระหว่าง 15-25 ปี จำนวน 84 คน และกลุ่มประชากรที่มีอายุ 25 ปีขึ้นไป จำนวน 42 คน


          ผลการวิจัยพบว่าการออกแบบตัวละครสำหรับภาพยนตร์แอนิเมชันสองมิติแบบไทยได้รับความพึงพอใจจากผู้ชมไทยมากที่สุด รองลงมาคือ แบบญี่ปุ่นและแบบอเมริกัน ตามลำดับ แต่กลุ่มประชากรที่มีอายุไม่เกิน 14 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของตลาดภาพยนตร์แอนิเมชัน มีความพึงพอใจการออกแบบตัวละครสำหรับภาพยนตร์แอนิเมชันสองมิติแบบญี่ปุ่นมากที่สุด ในขณะที่กลุ่มประชากรที่มีอายุระหว่าง 15-25 ปี และกลุ่มประชากรที่มีอายุ 25 ปีขึ้นไป มีความพึงพอใจการออกแบบตัวละครสำหรับภาพยนตร์แอนิเมชันสองมิติแบบไทยมากที่สุด

Article Details

Section
Articles
Author Biographies

พิเชษฐ วงษ์จ้อย

พิเชษฐ วงษ์จ้อย (นศ.ม. การภาพยนตร์, คณะนิเทศศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554)

รักศานต์ วิวัฒน์สินอุดม, คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รศ. รักศานต์ วิวัฒน์สินอุดม ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ และเป็นอาจารย์ประจำภควิชาการภาพยนตร์ลาภนิ่ง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

References

ภาษาไทย
กุลนิษฐ์. สัมภาษณ์, 26 สิงหาคม 2554.
ชีวาพร. สัมภาษณ์, 26 สิงหาคม 2554.
ธรรมศักดิ์ เอื้อรักสกุล. การสร้างภาพยนตร์ 2D แอนิเมชั่น How to make 2D Animation. กรุงเทพฯ: มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ เทคโนโลยี, 2547.
นันทพร นพหิรัญ. สัมภาษณ์, 26 สิงหาคม 2554.
บุษรินทร์ ตั้งศิลปะโอฬาร. กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดและพฤติกรรมของผู้บริโภคต่อภาพยนตร์แอนิเมชันฮอลลีวู้ด. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการโฆษณา ภาควิชาการประชาสัมพันธ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549.
พงษ์วดี ชนากานต์. สัมภาษณ์, 26 สิงหาคม 2554.
พิจิตรา ศุภสวัสดิ์กุล. มิกกี้เมาส์กับจักรวรรดินิยมทางสื่อสารมวลชน. สังคมศาสตร์ 32 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2544): 100.
เพ็ญพิชชา ทองนรินทร์. สัมภาษณ์, 26 สิงหาคม 2554.
มณหทัย กุลวงศ์วรพัฒน์. สัมภาษณ์, 27 สิงหาคม 2554.
มิตราภรณ์ อยู่สถาพร. “การซึมซับและดัดแปลงสื่อวัฒนธรรมต่างชาติให้เข้ากับวัฒนธรรมดั้งเดิม: กรณีศึกษาประเทศฮ่องกง” ใน โลกของสื่อ ชุด วัฒนธรรม: สื่อสารเพื่อสานสร้าง. กรุงเทพมหานคร: คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541.
เมทินี สิงห์เวชสกุล. การพัฒนากระบวนการผลิตภาพยนตร์แอนิเมชันไทยสู่ตลาดโลก. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน ภาควิชาการสื่อสารมวลชน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548.
เมญาพิมพ์ สมประสงค์. ความคิดเห็นของผู้รับสารที่มีต่อแนวคิดเรื่องความเป็นไทยในภาพยนตร์โฆษณาที่เน้นความเป็นไทยจากสื่อโทรทัศน์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน ภาควิชาการสื่อสารมวลชน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538.
รักศานต์ วิวัฒน์สินอุดม. เสกฝัน ปั้นหนัง : บทภาพยนตร์. กรุงเทพฯ : ห้องภาพสุวรรณ จัดพิมพ์โดย บริษัท บ้านฟ้า จำกัด, 2547.
วรวิชญ เวชนุเคราะห์. ประวัติการ์ตูนไทย. กรุงเทพฯ : องค์การค้าคุรุสภา, 2548.
วีระ อำพันสุข. ความเป็นไทย. กรุงเทพฯ : เอราวัณการพิมพ์, 2526.
ศศกนก กุลวงศ์วรพัฒน์. สัมภาษณ์, 27 สิงหาคม 2554.
ศศิธร นันติ. สัมภาษณ์, 27 สิงหาคม 2554.
สมสุข หินวิมาน. “ทฤษฎีสำนักวัฒนธรรมศึกษา” ใน ประมวลสาระชุดวิชาปรัชญานิเทศศาสตร์และทฤษฎีการสื่อสาร หน่วยที่ 13. กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตศึกษา สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546.
สนั่น ปัทมะทิน. ภาพยนตร์การ์ตูน: กรรมวิธีง่ายๆ. กรุงเทพฯ, 2548.
สัญญา สัญญาวิวัฒน์. พุทธสังคมวิทยา. กรุงเทพฯ : เจ้าพระยาการพิมพ์, 2533.
สุชาติ จันทร์แก้ว. สัมภาษณ์, 27 สิงหาคม 2554.
อภิญญา มั่งลิ้ม. สัมภาษณ์, 27 สิงหาคม 2554.
อัศวิน ซาบารา. ภาพความเป็นชายจากการสร้างตัวละครหลักในภาพยนตร์ของ มาร์ติน สกอร์เชซี, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการภาพยนตร์และภาพนิ่ง ภาควิชาการภาพยนตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552.

ภาษาอังกฤษ
Graphic-sha. How to Draw Mana Volume 2: Compiling Techniques. Graphic-sha Publishing Co., Ltd., 1996.
Hikaru Hayashi. How to Draw Manga: Sketching Manga-Style Vol.2 Logical Propotions. Grphic-sha Publishing Co., Ltd., 2007.
Iuri Lioi. Framework for development of schema in character design for computer animation. Master’s Thesis, Department of Fine Arts, The Ohio State University, 2007.
McQuial. D., McQuail’s Mass Communication Theory, Sage Publications Ltd; 4th edition, 2000.
Patamore, C. The Complete Animation Course. New York: Barron’s Educational Series, 2003.
Raymond, Williams. Culture. London: Fontana, 1981.
Richard Taylor. Encyclopedia of Animation Techniques. Booksales, 1996.
Tom Banocroft. Creating Characters with Personality. Crown Publishing Group, a division of Random House Inc., New York, 2006.
Wells, P. Understanding Animation. 1st ed. London: Routledge, 1998.