รหัสและกระบวนการสร้างรหัสข่าวในบริการข้อความสั้นของสำนักข่าวเนชั่น
Main Article Content
Abstract
การสื่อสารในบริการข้อความสั้นของสำนักข่าวเนชั่น จำเป็นต้องใช้รหัสสัญญะทั้งในแบบที่มีตามไวยากรณ์อยู่แล้วและแบบที่สร้างรหัสขึ้นใหม่เอง เพื่อช่วยให้สื่อสารได้กระชับฉับไวและถูกต้อง แต่ในบางครั้งอาจทำให้เกิดความไม่เข้าใจขึ้นได้ การวิจัยครั้งนี้จึงมีขึ้นเพื่อศึกษารหัสที่อยู่ใน SMS ข่าวสั้นของสำนักข่าวเนชั่น ศึกษากระบวนการเข้ารหัสใน SMS ข่าวสั้นของสำนักข่าวเนชั่น รวมถึงประสิทธิผลการถอดรหัสตัวสารที่มีผลต่อความเข้าใจของผู้รับสาร โดยดำเนินแนวทางการวิจัยในเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์ตัวบท สัมภาษณ์กลุ่ม รวมถึงการสังเกตและจดบันทึกการทำงานของผู้เข้ารหัสและการสัมภาษณ์ผู้ถอดรหัสทางโทรศัพท์
ผลการวิจัย พบว่า คุณลักษณะพิเศษของ SMS ข่าวสั้นของสำนักข่าวเนชั่น คือ มีการใส่ประเด็นข่าวมากกว่า 1 ประเด็นใน SMS ข่าวสั้น 1 ข้อความและแม้จะมีการสลับประเด็นก็ไม่ทำให้ความหมายเปลี่ยนไป รวมถึงการเลือกใช้รหัสเพื่อประหยัดพื้นที่ เข้ากับประเด็น ให้อารมณ์ข่าวและหลีกเลี่ยงความซ้ำซาก โดยต้องคำนึงถึงความเข้มงวดของรหัสว่าหากเกิดความผิดพลาดในการเข้ารหัสจะทำให้ความหมายผิดเพี้ยนไปหรือไม่ นอกจากนี้ในกระบวนการเข้ารหัสมี 4 ขั้นตอน คือ 1) แหล่งข่าว 2) คัดเลือกข่าวและเข้ารหัส 3) เผยแพร่ข่าว 4) ถอดรหัส ซึ่งผู้เข้ารหัสไม่มีคู่มือการทำงาน แต่อาศัยประสบการณ์ที่สั่งสมมาจนกลายเป็นความสามารถเฉพาะตัว โดยมีหลักการที่สำคัญ คือ ความรวดเร็วและความถูกต้อง ที่ผู้เข้ารหัสต้องรักษาสมดุลระหว่าง 2 สิ่งนี้ไว้
สำหรับผลการวิจัยในส่วนของผู้ถอดรหัส พบว่า ภูมิหลังและปริมาณการติดตามข่าวสารของผู้ถอดรหัสที่แตกต่างกันมีผลต่อประสิทธิผลของการถอดรหัส SMS ข่าวสั้นที่แตกต่างกัน โดยผู้ที่มีภูมิหลังและมีปริมาณการติดตามข่าวสารมากกว่าจะสามารถเข้าใจรหัสของ SMS ได้ดีกว่า รวมถึงยังสามารถสร้างการมีส่วนร่วมในการสร้างรหัส ซึ่งเป็นสิ่งที่สนับสนุนให้ SMS ของสำนักข่าวเนชั่นประสบผลสำเร็จในการสื่อสารมาจนถึงทุกวันนี้
Article Details
References
กาญจนา แก้วเทพ. การวิเคราะห์สื่อแนวคิดและเทคนิค. คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552.
กาญจนา แก้วเทพ. การศึกษาสื่อมวลชนด้วยทฤษฎีวิพากษ์ (Critical Theory). คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541.
กาญจนา แก้วเทพ. แนวพินิจใหม่ในสื่อสารศึกษา. คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553.
กาญจนา แก้วเทพ และ สมสุข หินวิมาน. สายธารแห่งนักคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองกับการสื่อสาร. คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551.
กาญจนา แก้วเทพ. สื่อสารมวลชน ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา. คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552.
กัณญาภัคร์ เพ็ญดารา. สัมภาษณ์, 19 กุมภาพันธ์ 2553.
กมลวรรณ พรหมพิทักษ์. การใช้สัญญะและรหัสในการสื่อความหมายของบริการข้อความสั้นจากโทรศัพท์เคลื่อนที่. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545.
เครือวัลย์ ชัชกุล. การวิเคราะห์การนำเสนอหัวข่าวของหนังสือพิมพ์ วิทยุ และโทรทัศน์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535.
ชุตินธรา วัฒนกุล. ผู้อำนวยการแผนกพัฒนาสื่อใหม่ (New Media) เนชั่นบรอดคาสติ้ง จำกัด (มหาชน). สัมภาษณ์. 25 ธันวาคม 2552.
ชปทิตตา หงษ์จักรเพชร. สัมภาษณ์. 18 กุมภาพันธ์ 2553.
ติยากร วงศ์เลิศวาทิก. Rewriter แผนก Mobile News ฝ่าย New media บริษัทเนชั่นบรอดคาสติ้ง จำกัด (มหาชน). สัมภาษณ์, 17 ธันวาคม 2553.
ทแกล้ว ภูกล้า. กลืนไม่เข้าคายไม่ออก. ไทยรัฐ. (21 สิงหาคม 2534) : 17.
ไทยรัฐออนไลน์. โพลชี้คนไทยบริโภคข่าวผ่าน “เอสเอ็มเอส” มากขึ้น. [ออนไลน์]. 2552. แหล่งที่มา: www.thairath.co.th [2553, ตุลาคม 15]
ธนพงศ์ ภูอากาศ. สัมภาษณ์, 16 กุมภาพันธ์ 2553.
ธนิดา ทองแจ้น. Rewriter แผนก Mobile News ฝ่าย New media บริษัทเนชั่นบรอดคาสติ้ง จำกัด (มหาชน). สัมภาษณ์, 17 ธันวาคม 2553.
เนชั่นชาแนล. บริการเนชั่นโมบายนิวส์. [ออนไลน์]. 2552. แหล่งที่มา: www.nationchannel.com [2553, ตุลาคม 11]
นภัสสร เตชสุวรรณ. การให้ข้อมูลข่าวสารผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่กับการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของผู้รับบริการ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ภาควิชาวารสารสนเทศ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550.
บัณฑิต เดือดขุนทด. สัมภาษณ์, 16 กุมภาพันธ์ 2553.
ปรียาลักษณ์ บุญมั่น. สัมภาษณ์, 18 กุมภาพันธ์ 2553.
พิชชาพัทธ อาจพงษา. Rewriter แผนก Mobile News ฝ่าย New media บริษัทเนชั่นบรอดคาสติ้ง จำกัด (มหาชน). สัมภาษณ์, 17 ธันวาคม 2553.
เพ็ญจันทร์ แสงพิสิทธิ์. สัมภาษณ์, 18 กุมภาพันธ์ 2553.
พรวิภา ชัยอุ่น. สัมภาษณ์, 18 กุมภาพันธ์ 2553.
พรชัย ชาวนาวิก. สัมภาษณ์, 16 กุมภาพันธ์ 2553.
มาลี บุญศิริพันธ์. หลักการประเมินคุณค่าข่าว. คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2526.
ยุพเรศ ดูกร. สัมภาษณ์, 16 กุมภาพันธ์ 2553.
วันเพ็ญ กัลป์ศิริไพศาล. ชุดของสัญญะในการสร้างความหมายของข่าวอาชญากรรมที่ปรากฏในสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อทางโทรทัศน์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545.
วสุ กลิ่นเกษร. สัมภาษณ์, 16 กุมภาพันธ์ 2553.
วรัท พฤกษากุลนันท์. การสื่อสารที่ด้อยประสิทธิภาพ (Communication Breakdown). [ออนไลน์]. 2553. แหล่งที่มา: http://www.edtechno.com/2009/index/php?option=com_content&view=article&id=58:-communication-breakdown&catid=44:webmaster&Itemid=72 [2553, ธันวาคม 7]
รัชดา แดงจำรูญ. กลยุทธ์และเทคนิคในการสร้างข้อความชวนเชื่อ (Propaganda) กรณีศึกษา: กรณีพิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชา 27 ม.ค. 2546. [ออนไลน์]. 2547. แหล่งที่มา: http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=ajarnmodabac&group=2 [2553, ตุลาคม 20]
ศุภวิทย์ บุญยืน. สัมภาษณ์, 19 กุมภาพันธ์ 2553.
สิริวรรณ นันทจันทูล. การเขียนเพื่อการสื่อสาร 2. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2543.
สุชาติ ประสิทธ์รัฐสินธุ์ และ กรรณิการ์ สุขเกษม. วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ : การวิจัยปัญหาปัจจุบันและการวิจัยอนาคตกาล. หจก. สามลดา, 2547.
สุธาสิณี นิรัตติมานนท์. การคัดเลือกและนำเสนอข่าวสั้นผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550.
สุมิตรา หาญปัญญาพิชิต. บรรณาธิการข่าว New Media บริษัท เนชั่นบรอดคาสติ้ง จำกัด (มหาชน). สัมภาษณ์, 17 ธันวาคม 2553.
สมัชชา นิลปัทม์. การถอดรหัสของผู้รับสารต่อการเสนอข่าวของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยกรณีกรือเซะและตากใบ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549.
เสริมสิริ นิลดำ. ลีลาการเขียนข่าวกับการรับรู้ของผู้อ่าน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ภาควิชาการหนังสือพิมพ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541.
สิรินทร์ ปาลศรี. Steven Huter. Zia Wenzel. ประวัติอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย. [ออนไลน์]. 1998 แหล่งที่มา http://learners.in.th/blog/yenz/267822 [2553, พฤศจิกายน 24]. The Network Startuo Resource Center (NSRC) University of Oregon., 1998.
อิทธิพัทธ ปิ่นละโรจน์. Rewriter แผนก New Media บริษัท เนชั่นบรอดคาสติ้ง จำกัด (มหาชน). สัมภาษณ์, 17 ธันวาคม 2553.
ภาษาอังกฤษ
Baskette, Floy K., Sissors, Jack Z., Brooks, Brian S. The Art of Editing. McMillian Publishing Co., 1982
Crump, Spencer. Fundamental of Journalism. McGraw-Hill Book Co., 1974
Gamble, Michel W., Terikwal. Introducing Mass Communication. McGrow Hill Book Co., 1989
Pamela J. Shoemaker. Gatekeeping. Journalism & Mass Communication Quarterly, 1991
Schramm, Wilbur. Mass Communication. University of Illinois. Press, 1972
Stuart Hall. Encoding and Decoding. Routledge Publishing Company, 1993
Stuart Hall. Encoding and Decoding in the Television Discourse, Birmingham, 1973