ตรรกะการบริโภคและการถอดรหัสความหมายสินค้าประเภทเครื่องปรุงรสจากโฆษณาทางโทรทัศน์
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตรรกะการบริโภคและการถอดรหัสความหมายของสินค้าประเภทเครื่องปรุงรสจากโฆษณาทางโทรทัศน์โดยการศึกษาดังกล่าวเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ 2 ประการ กล่าวคือ 1) เพื่อวิเคราะห์ตรรกะการบริโภคของสินค้าประเภทเครื่องปรุงรสจากโฆษณาทางโทรทัศน์ 2) เพื่อศึกษาการถอดรหัสของผู้รับสารจากโฆษณาเครื่องปรุงรสทางโทรทัศน์โดยระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้คือ การวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการวิเคราะห์ความหมายโดยตรงและความหมายโดยนัย รวมถึงตรรกะการบริโภคที่ปรากฏในภาพยนตร์โฆษณาเครื่องปรุงรสที่ออกอากาศทางโทรทัศน์ในช่วงวันที่ 1-30 กันยายน 2553 การสนทนากลุ่มโดยเลือกกลุ่มตัวอย่างที่มีสถานภาพเดียวกับตัวละครในภาพยนตร์โฆษณา เพื่อศึกษาการถอดรหัสความหมายจากประสบการณ์ของผู้อ่านสาร โดยอาศัยแนวคิดเรื่อง ตรรกะการบริโภค ทฤษฎีสัญญวิทยา และการถอดรหัสเป็นกรอบในการวิเคราะห์ โดยผลการศึกษาพบว่า
- ภาพยนตร์โฆษณาเครื่องปรุงรสที่ออกอากาศในปัจจุบันนั้น มีการนำรหัสมาเพื่อใช้ในการสื่อความหมายซึ่งเป็นลักษณะของการสื่อความหมายโดยนัย และจากการวิเคราะห์ตรรกะการบริโภค บว่าตรรกะการบริโภคเชิงประโยชน์ใช้สอยได้ถูกลดบทบาทลงและได้ถูกแทนที่ด้วยตรรกะการบริโภคเชิงสัญญะ และเป็นที่น่าสังเกตว่าตรรกะการบริโภคของค่าการแลกเปลี่ยนเชิงสัญลักษณ์ได้เริ่มมีบทบาทในการสื่อความหมายในภาพยนตร์โฆษณา อย่างไรก็ตาม เนื่องด้วยเครื่องปรุงรสเป็นสินค้าที่มีราคาไม่สูง จึงทำให้ตรรกะการบริโภคการแลกเปลี่ยนเชิงเศรษฐศาสตร์ปรากฏน้อยมากในสินค้าประเภทนี้
- การถอดรหัสความหมายของผู้อ่านสารพบว่าผู้รับสารส่วนใหญ่สามารถอ่านความหมายโดยตรงจากภาพยนตร์โฆษณาไปในทิศทางเดียวกันและประสบการณ์ที่แตกต่างกันของผู้อ่านสารและน่าจะเนื่องมาจากธรรมชาติของสื่อโฆษณาที่มีเวลาในการนำเสนอสั้นมีอิทธิพลต่อการอ่านความหมายจากโฆษณา ผู้อ่านสารจึงไม่สามารถเข้าใจความหมายเชิงลึกของโฆษณาได้
Article Details
References
กาญจนา แก้วเทพ. การวิเคราะห์สื่อแนวคิดและเทคนิค. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : ลิฟ แอนด์ เลิฟ, 2547.
กาญจนา แก้วเทพ. การศึกษาสื่อมวลชนด้วยทฤษฎีวิพากษ์ (Critical Theory): พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพ, 2544.
กาญจนา แก้วเทพ. แนวพินิจใหม่ในสื่อสารศึกษา. กรุงเทพมหานคร : ภาพพิมพ์, 2553.
กีรติ บุญเจือ. ตรรกวิทยาและตรรกวิทยาสัญลักษณ์เบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กาญจนา แก้วเทพ และ สมสุข หินวิมาน. สายธารแห่งนักคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองกับการสื่อสาร. กรุงเทพมหานคร : ภาพพิมพ์, 2551.
อธิคม โกมลวิทยาธร. วัฒนธรรมการบริโภค : แนวคิดและการวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยและผลิตตำรา มหาวิทยาลัยเกริก, 2538.
วุฒินันท์ สุนทรขจิต. ร้านอาหารญี่ปุ่นสมัยใหม่ : พื้นที่การสื่อความหมาย อัตลักษณ์ และความเป็นญี่ปุ่น. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550.
จันทร์เพ็ญ เจริญโภคาชัยพัฒน์. การสร้างสัญญะผ่านโฆษณาทางสื่อสารมวลชนเพื่อกำหนดสถานภาพของสินค้าโดยใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าชาร์ปเป็นกรณีศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535.
วรท สวนดอก. การสื่อความหมายตรรกะการบริโภคของงานมหกรรมแสดงสินค้า. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549.
เฉลิมวรรณ ห่อทองคำ. ตรรกะการบริโภคและลักษณะสื่อคือสารของโทรศัพท์เคลื่อนที่. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545.
พิมพ์จุฑา คูหะรัตน์. การบริโภคสัญญะและบทบาทการสื่อสารของกลุ่มผู้เล่นตุ๊กตาบลายธ์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552.
สิริรัตน์ เอื้อน้อมจิตต์กุล. ภาพเด็กและการถอดรหัสควาหมายในละครโทรทัศน์ช่วงไพรม์ไทม์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549.
สมัชชา นิลปัทม์. การถอดรหัสของผู้รับสารต่อการเสนอข่าวของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย กรณีศึกษากรือแซะและตากใบ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549.
รักจิต มั่นพลศรี. การใช้สัญญะในภาพยนตร์โฆษณาของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำหรับนักท่องเที่ยวชางไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550.
วนา พูนผล. MoneyBiz’s News ผู้จัดการ (ออนไลน์) 2553 แหล่งที่มา:
ธีรพันธ์ โล่ทองคำ. คอลัมน์คลื่นความคิด เหลียวหลังแลหน้าสินค้าอุปโภคบริโภค, (ออนไลน์) 2547 แหล่งที่มา: มติชนรายวัน, ปีที่ 27 9740 http://www.nidambe11.net/eknomiz/2004q4/article2004nov09p2.htm (2553, ธันวาคม 9).
วจี เรืองพรวิสุทธิ์ : ตรรหะวิทยาการบริโภคถึงอุตสาหกรรมวัฒนธรรม (ออนไลน์) 2549. แหล่งที่มา http://www.socialwarning.msociety.go.th (2553, ธันวาคม 9).
ยุทธศักดิ์ ศภษร : เอกสารเรื่องเครื่องปรุงรสของไทย: สถาบันอาหาร (ออนไลน์) 2552. แหล่งที่มา : http://foodsafety.bangkok.go.th/newweb/read_article.php?cat_id=160 (2553, ธันวาคม 25)
ภาษาอังกฤษ
http://www.manager.co.th/MatualFund/ViewNews.aspx?NewsID=9530000065556
(2553, พฤศจิกายน 12)