ความขัดแย้งทางสังคมในละครโทรทัศน์ที่ออกอากาศในช่วงเวลาก่อนข่าวภาคค่ำกับการรับรู้ของผู้ชม
Main Article Content
Abstract
ในบรรดารายการบันเทิงทางโทรทัศน์ ละครโทรทัศน์นับเป็นหนึ่งในรายการที่ได้รับความนิยมจากผู้ชมจำนวนมากตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม แม้ละครโทรทัศน์จะได้รับการยอมรับในฐานะเป็นสุดยอดของความบันเทิง แต่ละครโทรทัศน์ก็ยังคงมีสถานภาพตกต่ำ เป็นเพียงความบันเทิงแบบไร้สาระดังที่นักวิชาการไทยหลายท่านเปรียบเปรยเอาไว้ว่าเป็น “แอ่งน้ำเน่า” ขนาดใหญ่ หรือเป็นเพียง “ยาฝิ่นทางอารมณ์” ที่ใช้เสพความสุขเพียงชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น ท่ามกลางการเหยียดหยามดูหมิ่นนี้เป็นที่น่าสนใจว่าเหตุใดละครโทรทัศน์ หรือละครน้ำเน่านึ้จึงได้รับความนิยมจากผู้ชมอย่างกว้างขวาง และที่สำคัญ ละครโทรทัศน์มีบทบาทอื่น นอกเหนือจากบทบาทในการให้ความบันเทิงหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทในการลดความขัดแย้งทางสังคมหรือบทบาทในการประสานสังคม (correlation) และผู้ชมจะสามารถรับรู้บทบาทของละครโทรทัศน์ดังกล่าวหรือไม่ อย่างไร จึงเป็นที่มาของการวิจัยในครั้งนี้
Article Details
References
ภาษาไทย
กาญจนา แก้วเทพ. ศาสตร์แห่งสื่อและวัฒนธรรมศึกษา. คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544.
กาญจนา แก้วเทพ. แนวพินิจใหม่ในสื่อสารศึกษา. กรุงเทพมหานคร : ภาพพิมพ์, 2553.
กาญจนา แก้วเทพ. มายาพินิจ: การเมืองทางเพศของละครโทรทัศน์. กรุงเทพมหานคร : เจนเดอร์เพลส, 2536.
กาญจนา แก้วเทพ. สื่อบันเทิง อำนาจแห่งความไร้สาระ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : ออล อเบ้าท์ พริ้นท์, 2545.
ปรมะ สตะเวทิน. หลักนิเทศศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : ภาพพิมพ์, 2546.
สาวิตรี กำแพงพันธ์. บทบาทของละครโทรทัศน์แนวเบาสมองเพื่อการส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีในครอบครัว. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549.
สินียา ไกรวิมล. ลักษณะของบทละครโทรทัศน์ที่ได้รับความนิยมช่วงหลังข่าว จาก ปี พ.ศ. 2535 ถึง พ.ศ. 2544. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545.
สมสุข หินวิมาน. “บันทึกจากห้องนั่งเล่น ใน กาญจนา แก้วเทพ (บรรณาธิการ). โลกของสื่อ 2 : วัฒนธรรมการสื่อสารเพื่อสานสร้าง” คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541.
สุภา จิตติวสุรัตน์. การสร้างความหมายทางสังคมและการรับรู้ “ความเป็นจริง” ในภาพยนตร์อิงเรื่องจริง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545.
อัญมณี ภู่ภักดี. การตีความของผู้รับสารชายไทยต่อภาพวีรบุรุษแบบอเมริกันจากภาพยนตร์ฮอลลีวู้ด. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547.
อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์. ระบบวิทยุและโทรทัศน์ไทย โครงสรางทางเศรษฐกิจการเมืองและผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544.