การวิเคราะห์วาทกรรมในข่าวอาชญากรรมและการถอดรหัสข่าวอาชญากรรมโดยอาชญากร
Main Article Content
Abstract
วัตถุประสงค์ของการวิจัยเรื่องการวิเคราะห์วาทกรรมในข่าวอาชญากรรมและการถอดรหัสข่าวอาชญากรรมโดยอาชญากร คือ เพื่อวิเคราะห์วาทกรรมในข่าวอาชญากรรมที่ปรากฎในสื่อมวลชนและการถอดรหัสความหมายในข่าวโดยอาชญากร โดยเลือก 3 กรณีศึกษา ได้แก่ ข่าวบุกจับปาร์ตี้สวิงกิ้ง ข่าวการทะเลาะวิวาทของนักเรียนอาชีวะ และข่าวการวิสามัญฆาตกรรมกลุ่มชาติพันธุ์ลักลอบขนยาเสพติด โดยใช้การวิเคราะห์วาทกรรมเชิงวิพากษ์ และการสัมภาษณ์เจาะลึกอาชญากรเป็นเครื่องมือหลักในการศึกษา
ผลการศึกษาพบว่า วาทกรรมในข่าวอาชญากรรมได้รับอิทธิพลมาจากอุดมการณ์หลักในสังคมที่สื่อมวลชนนำมาใช้เป็นกรอบในการถ่ายทอดเหตุการณ์ไปสู่สาธารณะ ซึ่งจะแสดงให้เห็นกรอบการรับรู้ที่สังคมมีต่อปรากฏการณ์นั้นๆ ในลักษณะที่เป็นภาพแบบฉบับตายตัว นอกจากนี้ ข่าวอาชญากรรมยังแสดงถึงบรรทัดฐานทางสังคมที่ก่อให้เกิดความสัมพันธ์เชิงอำนาจ เพื่อทำให้บุคคลที่เป็นปกติมีอำนาจเหนือบุคคลที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบน ดังนั้น การรายงานข่าวอาชญากรรมโดยสื่อมวลชนจึงเป็นปฏิบัติการทางวาทกรรมเพื่อธำรงรักษาอุดมการณ์หลัก และความสัมพันธ์เชิงอำนาจในสังคม
การถอดรหัสอาชญากรรมจะมีการต่อรองความหมายที่สื่อมวลชนเป็นผู้เข้ารหัส โดยอาชญากรจะให้ความหมายภายใต้กรอบอุดมการณ์ที่ถูกหล่อหลอมมาจากประสบการณ์ตรงที่มีต่อปรากฎการณ์นั้นๆ และบริบททางสังคมวัฒนธรรมที่แวดล้อมตนเอง ส่งผลให้ความหมายที่เกิดจากการตีความของอาชญากรแตกต่างไปจากความหมายภายใต้กรอบอุดมการณ์หลักที่สื่อมวลชนนำมาใช้ในการเข้ารหัส
Article Details
References
กาญจนา แก้วเทพ. การศึกษาสื่อมวลชนด้วยทฤษฎีวิพากษ์ : แนวคิดและตัวอย่างงานวิจัย. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์, 2541
กาญจนา แก้วเทพ. แนวพินิจใหม่ในสื่อสารศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์, 2553.
กาญจนา แก้วเทพ. สายธารแห่งนักคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองกับสื่อสารศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์, 2551.
ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. สัญวิทยา, โครงสร้างนิยม, หลังโครงสร้างนิยมกับการศึกษารัฐศาสตร์. กรุงเทพฯ. วิภาษา, 2545.
ธาม เชื้อสถาปนศิริ. โครงสร้าง ระบบ และไวยากรณ์ของหนังสือพิมพ์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549.
ธีรยุทธ บุญมี. มิเชล ฟูโกต์ (Michael Foucault). กรุงเทพฯ: วิภาษา, 2551.
นันทกา สุธรรมประเสริฐ. ความเป็นแม่บ้านและการบริโภคสื่อแนวเล่าข่าวสาร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549.
ปกรณ์ มณีปกรณ์. อาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา. กรุงเทพฯ: เอ็ม.ที.เพรส, 2553.
ปภัสรา ศิวะพิรุฬห์เทพ. การถอดรหัสมายาคติของ “การข่มขืน” : ศึกษาเปรียบเทียบผู้รับสารที่มีประสบการณ์ตรงกับผู้รับสารที่มีประสบการณ์ผ่านสื่อ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต (สื่อสารมวลชน) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2548.
ปรมินทร์ จารุวร. ความขัดแย้งและการประนีประนอมในตำนานปรัมปราไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547.
ประเสริฐ เมฆมณี. หลักทัณฑวิทยา. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์, 2523.
ปรามินทร์ เครือทอง. ซีอุย ฆาตกรผีดิบ หรือแพะรับบาป. กรุงเทพฯ. มติชน, 2546.
รัตนา รักษ์ประยูร. การประกอบสร้างความเป็นจริงและการตัดสินผู้ตกเป็นข่าวด้วยการเล่าเรื่องในหนังสือพิมพ์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545.
วันเพ็ญ กัลป์ศิริไพศาล. ชุดของสัญญะในการสร้างความหมายของข่าวอาชญากรรมที่ปรากฏในสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อโทรทัศน์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545.
สิริวันท์ กลิ่นละมุน. การสะท้อนอุดมการณ์ผ่านการเล่าเรื่องในข่าวกรณีความขัดแย้งโรงไฟฟ้าบ่อนอก. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549.
สุจินดา ประสงค์ตันกุล. การวิเคราะห์เนื้อหาและกลวิธีการเล่าเรื่องรายการโทรทัศน์แบบเตือนภัย รายการ “เฉียด”. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540.
สุภางค์ จันทวานิช. ทฤษฎีสังคมวิทยา. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552.
สุภาพรรณ ศรีสุข. วาทกรรมเกี่ยวกับเรื่องเพศของวัยรุ่นในหนังสือพิมพ์และการตีความของผู้ถูกสร้าง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549.
อารยา ถาวรวันชัย. ภาพลักษณ์ของวีรบุรุษแบบผู้ร้ายกลับใจที่ปรากฏในสื่อมวลชน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539.
อุราเพ็ญ ตรียางค์กุล. จริยธรรมของผู้ผลิตข่าวอาชญากรรมทางโทรทัศน์ต่อการนำเสนอข่าวความรุนแรง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535.
เอนก นาวิกมูล. ฆาตกรยุคคุณปู่ (Murders in olden days). กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์แสงดาว, 2546.
ภาษาอังกฤษ
Brundon et al. Factual entertainment on British television, European Journal of Cultural Studies, California. U.S.A. : SAGE Publication, 2001.
Chris, G. Crime and Media : A Reader. London: Routledge, 2010.
Gareth, P. The new spectacle of crime. Information Communication and Society. London : Routledge, 1998.
Michel, F. Discipline and Punish : The Birth of the Prison. New York : Vintage Books, 1977.
Ray, S. Media, Crime, and Criminal Justice : Image and Reality. California: Wadsworth, 1998.
Stuart, H. et al. Policing the Crisis : Muging, the State, Law and Order. London : Macmillian, 1978.
Terence, H. Structuralism and Semiotics. London : Routledge, 2003.
Thomas, M. The viewer society : Michael Foucault’s “Panopticon” Revisited. Theoretical Criminology. California. U.S.A. : Sage Publications, 1997.
Vincent, S. Media constructions of crime. The Annals of the American Academy of Political and Social Science. California. U.S.A. : Sage Publications, 1995.