การแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับอาหารบนพื้นที่เสมือนสู่ความเป็นโพรซูเมอร์ด้านอาหารบนโลกโซเชียล

Main Article Content

ศิรัส ปั้นเก่า
พรพรรณ ประจักษ์เนตร

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการที่ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมการแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับอาหารของผู้บริโภคบนสื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กโดยการประยุกต์ใช้แนวคิดและทฤษฎีการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือผู้ใช้งานสื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กอายุระหว่าง25 – 65 ปี ที่มีประสบการณ์แบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับอาหารในช่วง3 เดือนที่ผ่านมาและเป็นสมาชิกกลุ่มสังคมบนสื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กเกี่ยวกับการทำอาหารในครัวเรือนที่มีจำนวนสมาชิกกลุ่มเกินหนึ่งหมื่นคนขึ้นไป ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2559 ผ่านแบบสอบถามออนไลน์ จำนวน 414 คน ซึ่งพบว่าผู้บริโภคบนสื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กมีพฤติกรรมแบบหลายหน้าจอ (Multi-screen behavior) โดยมีการใช้สมาร์ทโฟน มากที่สุด รองลงมาคือ แล็ปท็อป คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ และแท็ปเล็ต ตามลำดับ เมื่อพิจารณาถึงการใช้ประโยชน์ในการแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับอาหาร จำแนกออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่1) ด้านการส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้ เพื่ออัพเดทข่าวสารเกี่ยวกับอาหารในกลุ่มเพื่อนกลุ่มสังคม เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความคิดเห็นทางด้านอาหาร และเพื่อเผยแพร่แบ่งปันข่าวสารหรือความรู้เกี่ยวกับอาหาร 2) ด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและการยอมรับทางสังคม เพื่อให้มีเรื่องคุยในกลุ่มเพื่อนหรือกลุ่มสังคมและ เพื่อให้รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มสังคม 3) ด้านอัตลักษณ์บุคคล เพื่อให้เพื่อนหรือกลุ่มสังคมรู้ว่าเราให้ความสนใจกับข้อมูลเกี่ยวกับอาหาร และเพื่อแสดงศักยภาพ ฝีมือ และทักษะทางด้านอาหาร 4) ด้านความบันเทิง เพื่อความความสนุก เพลิดเพลิน และ 5) ด้านการตลาด เพื่อต้องการสิทธิพิเศษหรือโปรโมชั่นจากแบรนด์ และเพื่อรับส่วนลดหรือข้อเสนอพิเศษทางด้านราคาจากแบรนด์
นอกจากนี้ยังพบว่า การใช้ประโยชน์ในการแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับอาหารของผู้บริโภคบนสื่อสังคมออนไลน์มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับอาหาร และความพึงพอใจจากการแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับอาหาร

Article Details

บท
Articles
Author Biographies

ศิรัส ปั้นเก่า

ศิรัส ปั้นเก่า นักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์และนวัตกรรม คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

พรพรรณ ประจักษ์เนตร, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

พรพรรณ ประจักษ์เนตร ผู้อำนวยการหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

References

ภาษาไทย
Adslthailand. (2558). ตีแผ่พฤติกรรมคนไทย ชิม แชะ แชร์ ติด Social อ่านรีวิวร้านอาหารอัพรูปกระจาย(ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://goo.gl/KN8O3y (สืบค้นข้อมูล :2 มีนาคม 2559)
DAAT. (2558).Infographic แสดงตัวเลขจำนวนผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียในประเทศไทย (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก https://goo.gl/EXqmWJ (สืบค้นข้อมูล :23 กุมภาพันธ์ 2559)
Thoth Zocial. (2560). Thoth Zocial เผยสถิติวัยรุ่นไทยใช้ Twitter เพิ่มสูง ย้ำแบรนด์เตรียมใช้ “Chatbot” (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://thumbsup.in.th/2017/05/thoth-zocial-statistic-social-media- thai/ (สืบค้นข้อมูล :16 มิถุนายน 2016)
กาญจนา แก้วเทพ. (2547).สื่อสารมวลชน : ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์เลิฟ แอนด์ลิฟ.
ตวงพร เกตุสมบูรณ์. (2555).การใช้อินเทอร์เน็ตกับบทบาทความเป็นแม่บ้าน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543).ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี:
สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.
มานะ ตรีรยาภิวัฒน์. (2553).นักข่าวกับ Social media(ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก https://goo.gl/27pMWx (สืบค้นข้อมูล :2 มีนาคม 2559)
วฒนพงษ์ นิ่มสุวรรณ. (2555). แนวคิดการใช้เครื่องมือสื่อสารในแฟนเพจบนเฟซบุ๊ค และทัศนคติ แรงจูงใจ ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจกดปุ่ม "ถูกใจ" ให้เครื่องมือสื่อสารในแฟนเพจบนเฟซบุ๊คของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ. นครราชสีมา:มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
วิมลพรรณ อาภาเวท และ วราพันธ์ มุ่งวิชา. (2549).การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจในการโฆษณา แบบตอบกลับโดยตรงที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
วรรณพร กลิ่นบัว. (2553).การสร้างเครือข่ายทางสังคมผ่าน www.facebook.com ของกลุ่มคนวัยทำงาน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขานิเทศศาสตร์ธุรกิจ. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ศิริพร พูพิพัตร. (2553).การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของบุคลากรต่อเว็บไซต์กรมเจ้าท่ากระทรวงคมนาคม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศศิมา ชัยวรจินดา. (2555).พฤติกรรมการสื่อสาร การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจต่อเว็บไซต์เครือข่าย สังคมเฟซบุ๊ค (Facebook) ของประชาชนในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขานิเทศศาสตร์และสารสนเทศ. สุพรรณบุรี:มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2558).อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม (Foods and Beverages)(ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก https://goo.gl/rYbuKZ (สืบค้นข้อมูล :5 มีนาคม 2559)
สุภัทรา ภิญโญกิตติกุล. (2553).“Prosumer on IT-Power Age”. Strategy Marketing, หน้า 46-50.

ภาษาอังกฤษ
American Majority. (2013).facebook A Beginner's Guide(online). from About.com: https://goo.gl/uloRxw (Retrieved : March 2, 2016)
Ashley Dean. (2014).Facebook(online). from About.com:
http://whatis.techtarget.com/definition/Facebook (Retrieved : March 2, 2016)
Basilisco R., & Cha, Kyung Jin. (2015). Uses and Gratifications Motivation for Using Facebook and the Impact of Facebook Usage on Social Capital and Life Satisfaction among Filipino Users. International Journal of Software Engineering and Its Applications, 9(4), 181-194.
Dainton, M., & Zelley, E. D. (2014). Applying communication theory for professional life: A practical introduction, Sage publications.
Fractl. (2016). The Motivations for Sharing on Facebook (online). From About.com: http://goo.gl/XLujYB (Retrieved : August 31, 2016)
Galen C. & Evan F. (2014). “Sharing is Caring”.Journal of Applied Sport Management, Vol.6, No.2, pp. 70-85.
Jason Kincaid. (2010). Facebook Uses Face Recognition To Help Tag Photos (online). from About.com: https://goo.gl/zJ1SAj (Retrieved : March 5, 2016)
Katz, E., Blumler, J. G., & Gurevitch, M. (1973). Uses and gratifications research. The Public Opinion Quarterly, 37(4), 509-523.
Matt Hicks. (2010). Facebook Tips: What’s the Difference between a Facebook Page and Group?(online).From About.com: https://goo.gl/Nx4KxO (Retrieved : March 5, 2016)
McCann truth central. (2012).Truth About Moms(online). from About.com: http://truthcentral.
mccann.com/portfolio/truth-about-moms (Retrieved : February 5, 2016)
McCombs and Becker. (1979). Using Mass Communication Theory, Prentice-Hall, Englewood Cliffs, N. J. 1979: 148.
Nash, Sara M., (2015). Life Beyond Like: Uses & Gratifications of Sharing Business Facebook Page Content. University of Nabraska.
Noor Fathima Warsia. (2014).Asian moms, primary home decision makers, are going mobile first (online). from About.com: http://www.digitalmarket.asia/2014/04/asian- moms-primary-home-decision-makers-are-going-mobile-first (Retrieved : February 5, 2016)
Palmgreen, P., Wenner, L., & Rosengren, K.,. (1985). "Uses and gratifications research: The past ten years."Media gratifications research, pp. 1–37.
Silver, D. (2009). The social networking business plan. Hoboken, N.J: John Wiley and Sons.
Simon Kemp. (2016).Digital in 2016(online). from About.com: http://wearesocial.sg/blog/
2016/01/digital-2016/ (Retrieved : May 5, 2016)
Toffler, A. (1980). The Third Wave. William Morrow& Co., New York.