ข้อแนะนำการพิมพ์

“มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ปริทัศน์”
Humanity and Social Science Review (HUSOC Review)

กองบรรณาธิการพิจารณารับบทความ 3 ประเภท ดังนี้
1. บทความ แบ่งเป็น
1.1 บทความทางวิชาการ หมายถึง งานเขียนซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจและอยู่ในกรอบเนื้อหาที่กำหนด ต้องมีการอ้างอิงตามหลักวิชาการ
1.2 บทความวิจัย หมายถึง การนำเสนอผลการวิจัยที่ได้มีการศึกษาค้นคว้า ตามหลักทางวิชาการวิจัยแต่ต้องนำมาปรับเพื่อนำเสนอในรูปแบบบทความที่ง่ายต่อ การอ่านและทำความเข้าใจ

2. บทวิจารณ์หนังสือ (book review) หมายถึงบทความที่วิพากษ์ วิจารณ์ เนื้อหาสาระ คุณค่า ของหนังสือหรือบทความโดยบทวิจารณ์หนังสือ จะต้องกล่าวถึงรายละเอียดของหนังสือ ได้แก่ ชื่อผู้แต่งปีที่พิมพ์ สำนักพิมพ์ ครั้งที่พิมพ์ จำนวนหน้า ให้ชัดเจนด้วย

3. บทความปริทัศน์ (review article) หมายถึง งานวิชาการที่ประเมินสถานะล่าสุดทางวิชาการ (State of the art) เฉพาะทางที่มีการศึกษาค้นคว้า มีการวิเคราะห์และสังเคราะห์องค์ความรู้ทั้งทางกว้างและทางลึกอย่างทันสมัย โดยให้ข้อวิพากษ์ที่ชี้ให้เห็นแนวโน้มที่ควรศึกษาและพัฒนาต่อไป

เงื่อนไขการตีพิมพ์
1. เป็นบทความ ซึ่งไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการที่ไหนมาก่อน
2. เป็นบทความ ที่มีคุณภาพ ผ่านการพิจารณาตรวจสอบ คัดเลือก จากกองบรรณาธิการ ซึ่งประกอบด้วยนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review)
3. เป็นบทความ ที่มีการอ้างอิงและบรรณานุกรม ตามหลักทางวิชาการ ทั้งในระบบเชิงอรรถหรือระบบนามปี

การเตรียมต้นฉบับ
1. บทความ ต้องมีการเขียนเริ่มต้นด้วย บทคัดย่อ (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) ไม่ควรเกิน 1 หน้ากระดาษใช้ตัวอักษร Cordia New ขนาดของตัวอักษรเท่ากับ 14 ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
2. บทความ ควรจัดพิมพ์บนกระดาษขนาด A4 หน้าเดียวประมาณ 26 บรรทัดต่อหนึ่งหน้า ด้วยอักษร Cordia New ขนาดของตัวอักษรเท่ากับ 16 ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และใส่เลขหน้าตั้งแต่ต้นจนจบบทความยกเว้นหน้าแรก โดยมีความยาว ดังนี้
2.1 บทความ จำนวน 15-20 หน้า โดยนับรวมรูปภาพตาราง เอกสารอ้างอิงและภาคผนวก
2.2 บทวิจารณ์หนังสือ จำนวน 11-15 หน้า โดยนับรวมรูปภาพ ตาราง เอกสารอ้างอิงและภาคผนวก
2.2 บทความปริทัศน์ จำนวน 11-15 หน้า โดยนับรวมรูปภาพ ตาราง เอกสารอ้างอิงและภาคผนวก
3. การจัดแบบฟอร์ม เช่นกั้นหน้า…………..หลัง……………………หัวกระดาษ และท้ายกระดาษ
4. ชื่อผู้เขียน อยู่ถัดลงมาจากชื่อเรื่อง เขียนตำแหน่งและหน่วยงานต้นสังกัดของผู้เขียนในเชิงอรรถ
5. การส่งบทความควรส่งต้นฉบับบทความในรูปแบบเอกสารหรือรูปแบบเป็นไฟล์อิเล็คทรอนิกส์
6.เอกสารอ้างอิง : เอกสารที่ผู้เขียนบทความนำมาอ้างอิงจะต้องมีแหล่งที่มาที่ชัดเจนโดยอาจเป็น หนังสือ ตำรา งานวิจัย วารสาร หรือแหล่งข้อมูลออนไลน์ก็ได้

รูปแบบการอ้างอิง เชิงอรรถ และบรรณานุกรม
การอ้างอิง ให้เลือกใช้ทั้งสองแบบนั่นคือ
(1) แบบนาม-ปี ระบุชื่อ นามสกุลผู้แต่ง ปีที่พิมพ์ และเลขหน้าของเอกสารอ้างอิงไว้ภายในวงเล็บ ต่อท้ายด้วยข้อความที่นำมาอ้างอิง
(2) แบบเชิงอรรถที่เรียงตัวเลขเป็นเลขอารบิกจากน้อยไปมากไว้ตอนล่างสุดของหน้า ภายในสามารถอธิบายความ ใช้วิธีลงรายละเอียดคำอธิบาย

บรรณานุกรม เริ่มด้วยบรรณานุกรมภาษาไทย แล้วตามด้วยบรรณานุกรมภาษาอังกฤษ และเรียงตามลำดับตัวอักษร

หัวข้อการนำเสนอที่สัมพันธ์กับการประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิ (peer review)
ตัวอย่างการนำเสนอบทความวิชาการ
1. ชื่อเรื่อง (ภาษาไทย / ภาษาอังกฤษ)
2. บทคัดย่อ (ภาษาไทย / ภาษาอังกฤษ)
3. บทนำ*
4. ระเบียบวิธีวิจัย / วิธีการศึกษา*
5. ผลการศึกษา*
6. สรุป*
7. เอกสารอ้างอิง*

ตัวอย่างการนำเสนอบทความวิจัย
1. ชื่อเรื่อง (ภาษาไทย / ภาษาอังกฤษ)
2. ชื่อผู้วิจัยและคณะ
3. แหล่งเงินทุนสนับสนุนการวิจัย
4. บทคัดย่อ (ภาษาไทย / ภาษาอังกฤษ)
5. คำนำ /บทนำ*
6. ระเบียบวิธีวิจัย / วิธีการศึกษา*
7. แนวคิดที่ใช้ในการวิจัย
8. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง / ขอบเขตการวิจัย
9. กิจกรรมและเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
10. การเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล
11. ผลการวิจัยและอภิปรายผล*
12. สรุป*
13. เอกสารอ้างอิง*

ตัวอย่างการนำเสนอบทวิจารณ์หนังสือและบทความปริทรรศน์
1. ชื่อเรื่อง
2. อภิปรายเนื้อหา*
3. เอกสารอ้างอิง*

ในหัวข้อที่มี * เป็นหัวข้อที่จะถูกประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (peer review)

**เนื้อหา ทัศนคติและความคิดเห็นในบทความเป็นของผู้เขียนเท่านั้น บรรณาธิการผู้พิมพ์ไม่ต้องรับผิดชอบ

ติดต่อส่งต้นฉบับได้ 1 ทาง

1. ลงทะเบียนผ่านระบบ Thaijo (แนะนำวิธีนี้)
https://www.tci-thaijo.org/index.php/husocetc

2. ทางอีเมล์ แนบไฟล์ส่งมาได้ที่
กองบรรณาธิการ วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ปริทัศน์
Husocreview@gmail.com

3. ทางไปรษณีย์
กองบรรณาธิการ วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ปริทัศน์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
119 ม.9 ต.ชมพู อ.เมืองลำปาง จ.ลำปาง 52100