การวิจัยและพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการในการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนคำปลาฝาโนนชัย 2) พัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์เรื่องอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว 3) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะตามเกณฑ์ 80/80 ดัชนีประสิทธิผล และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะ โดยที่กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 20 คน จากการเลือกแบบเจาะจง โดยเครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบฝึกทักษะ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบ และแบบวัดความพึงพอใจ ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและ t-test ซึ่งผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการอยู่ในระดับน้อย 2) แบบฝึกทักษะ แผนการจัดการเรียนรู้ และแบบทดสอบ มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด 3) แบบฝึกทักษะมีประสิทธิภาพ 88.67/86.67 ดัชนีประสิทธิผล 0.71 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด นอกจากนี้การวิจัยชี้ให้เห็นว่า ควรพัฒนาแบบฝึกที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย ปรับปรุงสื่อให้ดึงดูดใจ และส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมเพื่อสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่ยั่งยืน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความในวารสารนี้ไปเพื่อการค้าหากำไร
References
กนกพร พวงสมบัติ และคณะ (2560). การพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องระบบจำนวนเต็ม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 11(2), 1–7.
จตุพร เพ็งเกษม. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนปทุมคงคา สมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาคณิตศาสตรศึกษา, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ณิชาภัทร โตนิล. (2562). การศึกษาแนวทางทางการคำนวณวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์ และตัวตั้งไม่เกิน 20 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการแก้ปัญหา. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ปนัดดา ด้วงนาค. (2562). ผลการใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารครุศาสตร์ คณะะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 4(4), 31–42.
พจนา เบญจมาศ. (2558). การพัฒนาแบบฝึกทักษะวิชาคณิตศาสตร์ โดยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
ภารดี กล่อมดี. (2561). ผลการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ชุดแบบฝึกทักษะร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E). วารสาร Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(1), 2004-2020.
ยุวดี ศรีสังข์. (2563). การพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิค KWDL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่อง ร้อยละ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาคณิตศาสตรศึกษา, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
รัตนะ บัวสนธ์. (2565). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
โรงเรียนคำปลาฝาโนนชัย. (2564). แผนปฏิบัติการขั้นพื้นฐาน ประจำปีการศึกษา 2567. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2564). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564. กรุงเทพฯ: สถาบันทดสอบทางการศึกษาทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน).
สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2546). การวิจัยการศึกษาเบื้องต้น. มหาสารคาม: ภาควิชาวัดผลและวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สมภาน เจตนา. (2561). การพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ที่เน้นการสอนแบบกลุ่มช่วยเหลือรายบุคคล. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาคณิตศาสตรศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
สราญจิต อ้นพา และชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน. (2562). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWDL ร่วมกับแนวคิด Flipped Classroom เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 17(2), 213-228.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 (พิมพ์ครั้งที่ 1). บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สุณีวัลย์ อุดมวงศ์. (2558). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวสำหรับนักเรียชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, มหาวิทยาลัยนเรศวร.
อภิสิทธิ์ เวชเตง. การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสื่อประสม เพื่อส่งเสริมทักษะ การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 3(7), 138-152
Goodman, F., Fretcher, S., & Schneider, M. (1980). The effectiveness index as a comparative measure in media product evaluation. Educational Technology, 20(9), 30-34.