การวางแผนการตลาดดิจิทัลเพื่อการส่งเสริมการตลาดสำหรับผู้ประกอบการ หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในอำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย ภายใต้การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด – 19
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด - 19 ที่มีต่อผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในอำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย 2) วางแผนการตลาดดิจิทัลในการส่งเสริมการตลาดสำหรับผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในอำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัยพบว่า ผู้ประกอบการในอำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด - 19 ในด้านต่าง ๆ ดังนี้ ด้านวิถีชีวิต ด้านวัฒนธรรมและจารีตประเพณี ด้านชุมชนและความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสุขภาพ ด้านเศรษฐกิจ และด้านการปรับตัวและการสร้างความเข้มแข็ง จากผลกระทบดังกล่าวผู้ประกอบการจึงได้มีการวางแผนการตลาดดิจิทัลในการส่งเสริมการตลาด โดยเน้นหลักการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ซึ่งสามารถใช้การตลาดดิจิทัลในการส่งเสริมการตลาดได้ ดังนี้ 1) ขั้นตอนการรับรู้ ใช้ช่องทางดิจิทัล เช่น content marketing, online PR, social media และ influencer โดยสร้าง content และโฆษณาเพื่อเพิ่มการรับรู้ 2) ขั้นตอนการเปรียบเทียบและการประเมิน โดยใช้ content marketing, influencer, online PR, social media และ website และต้องสร้าง content ที่มีอิทธิพลทางบวกให้กับลูกค้า เพื่อช่วยในการเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์กับคู่แข่งขันแต่ละรายได้ 3) ขั้นตอนการซื้อ โดยใช้ website, e-marketplace, super app และการชำระเงินผ่านระบบ payment gateway หรือมีการบริการชำระเงินออนไลน์ ผ่านบัตรเครดิต/เดบิต 4) การใช้ประสบการณ์ โดยใช้ social media เป็นพื้นที่ในการแชร์ประสบการณ์ต่าง ๆ ช่วยให้ลูกค้าเกิดความประทับใจ 5) การสร้างความภักดี โดยใช้ e-mail marketing, social media และ influencer เพื่อสร้างความภักดีต่อสินค้าและบริการ ตลอดจนการใช้กลยุทธ์ 4 P’s และ 4 C’s เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ซึ่งจะส่งผลให้ลูกค้าเกิดทัศนคติที่ดีต่อสินค้าหรือบริการและทำให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความในวารสารนี้ไปเพื่อการค้าหากำไร
References
นภาพร อ้นทอง. (2566, มกราคม 11). ผู้จัดการศูนย์การเรียนรู้ วิทยาลัยใต้ถุนบ้าน. สัมภาษณ์.
นิยม กริ่มใจ. (2565). ธุรกิจเปลี่ยนผ่านสู่วิถีปกติใหม่ด้วยโมเดลธุรกิจ Canvas. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 8(1), 66-78.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุรีวิยาสาส์น.
ปิยภา แดงเดช. (2565). กลยุทธ์การตลาดดิจิทัลของผู้ประกอบการออนไลน์บนแพลทฟอร์มในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 1(1), 61-70.
มาลินี คำเครือ และธีระพันธ์ โชคอุดมชัย. (2562). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าโอทอปผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 6(1), 1-8.
รจนา เมืองแสน และอุมาวรรณ วาทกิจ. (2564). แนวทางการพัฒนาการตลาดดิจิทัลสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจผ้าไหมสำเร็จรูปในกลุ่มนครชัยบุรินทร์. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 9(2), 817-829.
วิเชียร มันแหล่, บุญยิ่ง ประทุม, สุรศักดิ์ แก้วอ่อน และกรกฎ จำเนียร. (2564). ผลกระทบและการปรับตัวของประชาชนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 8(11), 322-340.
สุดาพร กุณฑลบุตร. (2557). หลักการตลาด สมัยใหม่ Modern Principle of Marketing. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุพัตรา รุ่งรัตน์, ซูลฟีกอร์ มาโซ และยุทธนา กาเด็ม. (2564). ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากสถานการณ์โควิด-19 ของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองยะลา จังหวัดยะลา. วารสารสังคมและมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(2), 161-174.
สุภารัตน์ ทองปลิว และกัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์. (2564). ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคมต่อประชาชนจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) : กรณีศึกษาตำบลนครไทย อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก. Journal of Modern Learning Development, 6(3), 107-122.
Greenberg, P. (2010). CRM at the Speed of Light: Social CRM Strategies, tools and Techniques for Engaging Your Customers. (4th ed.). New York: McGraw-Hill.
Sandelowski, M. (1995). Sample size in qualitative research. Research in Nursing & Health, 18(2), 179-183. https://doi.org/10.1002/nur.4770180211
Woodcock, N., Green, A., & Starkey, M. (2011). Social CRM as a business strategy. Journal of Database Marketing & Customer Strategy Management, 18(1), 50–64.