การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์มีดบนฐานทุนวัฒนธรรม ตำบลหนองงูเหลือม อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

ภาสกร บัวศรี
สักรินทร์ อินทรวงศ์
จันทร์เพ็ญ เกตุสำโรง
สิริกร บุญสังข์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้คือ 1) เพื่อศึกษาทุนทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์มีดตำบลหนองงูเหลือม 2) เพื่อศึกษาแนวทางการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์มีดบนฐานทุนวัฒนธรรมตำบลหนองงูเหลือม อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยกลุ่มตีมีด ผู้นำชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบลหนองงูเหลือม จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ประเด็นการสัมภาษณ์ ประเด็นการสนทนากลุ่ม และแบบสังเกตแบบมีส่วนร่วม ใช้การตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้าด้านวิธีการและด้านข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและการวิเคราะห์โดยอุปนัย นำเสนอด้วยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัย 1) ผลการศึกษาทุนทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์มีดตำบลหนองงูเหลือม พบว่า มีดังนี้ (1) ทุนด้านคุณภาพและเอกลักษณ์การผลิตมีด (2) ทุนวัฒนธรรมด้านความเชื่อและพิธีกรรม (3) ทุนด้านองค์ความรู้ภูมิปัญญาเดิม (4) ทุนด้านสถานที่ในการต่อยอดด้านการตลาด 2) แนวทางในการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชนชุมชนตำบลหนองงูเหลือม ที่ค้นพบคือแนวทางการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชนบนฐานทุนวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยมีการนำทุนวัฒนธรรมมาวิเคราะห์ออกแบบและพัฒนาเป็นผลิตใหม่ที่มีความเป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่น

Article Details

How to Cite
บัวศรี ภ., อินทรวงศ์ ส., เกตุสำโรง จ. ., & บุญสังข์ ส. . (2024). การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์มีดบนฐานทุนวัฒนธรรม ตำบลหนองงูเหลือม อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 3(2), 149–162. https://doi.org/10.14456/hsi.2024.24
บท
บทความวิจัย

References

จำเนียร จันทร์โพธิ์. (2566, พฤศจิกายน, 9). อดีตกำนันตำบลบ้านโพธิ์, สัมภาษณ์

เฉลิม ช้อยขุนทด. (2566, พฤศจิกายน, 12). ช่างตีมีด, สัมภาษณ์

ธัชพร ฤกษ์ฉาย. (2559). การวิเคราะห์คุณค่าและการดำรงอยู่ของภูมิปัญญาการทำมีด : กรณีศึกษาหมู่บ้านอรัญญิก อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. กรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บุญมี ดีโพธิ์. (2566, ตุลาคม, 20). ผู้นำชุมชนบ้านโพธิ์น้อย, สัมภาษณ์

พระปลัดจรูญ โกสโล. (2566, ตุลาคม, 20). เจ้าอาวาสวัดสมานมิตร, สัมภาษณ์

ภาสกร บัวศรี และคณะ. (2566). แนวทางการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชนบนฐานทุนวัฒนธรรมตำบลหนองงูเหลือม อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ.

มนัญชัย จันทร์อร่าม. (2566, พฤศจิกายน 8). ช่างตีมีด, สัมภาษณ์.

รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์. (2540). ทุนวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: พลีเพลส.

ลักษณพร โรจน์พิทักษ์กุล. (2556). การสร้างมูลค่าเพิ่มการทอเสื่อกกเพื่อเศรษฐกิจของชุมชนตำบลกระทุ่มแพ้ว อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา. 1(2556), 49-64

ศศิพร ต่ายคำ . (2557). การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์เพื่อมูลค่าวิสาหกิจชุมชนจังหวัดราชบุรี. ดุษฎีนิพนธ์สาขาพัฒนศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร

สุชาติ เล็งกลาง. (2566, พฤศจิกายน 12). ช่างตีมีด, สัมภาษณ์.

องค์การบริหารส่วนตำบลหนองงูเหลือม. (2565). รายงานผลการดำเนินงานประจำปีตำบลหนองงูเหลือม. นครราชสีมา. องค์การบริหารส่วนตำบลหนองงูเหลือม.