แนวทางการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัยของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2

Main Article Content

ทิพยรัตน์ อาสนาทิพย์
ศักดิ์สิทธิ์ ฤทธิลัน
สุพจน์ ดวงเนตร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัย 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัย และ 3) ศึกษาแนวทางการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัยของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 44 คนและครูผู้สอนระดับปฐมวัยจำนวน 152 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 196 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ และผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านจำนวน 8 คนได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัย มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์การบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีลำดับความสำคัญความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัยของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ค่าดัชนีลำดับความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุงการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัยของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 โดยรวม เท่ากับ 0.064 โดยเรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากที่สุดไปน้อยที่สุด ดังนี้     (1) ด้านกระบวนการบริหารและจัดการ (2) ด้านการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ และ (3) ด้านคุณภาพของเด็ก และ 3) แนวทางการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัยของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 ด้านคุณภาพของเด็ก จำนวน 21 แนวทาง ด้านการบริหารและการจัดการ จำนวน 6 แนวทาง และด้านการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ จำนวน 5 แนวทาง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ

ตุ๊กตา สิมาเล่าเต่า และนพดล เจนอักษร. (2555). การจัดการศึกษาปฐมวัยตามเกณฑ์มาตรฐานด้านการบริหารและการจัดการศึกษากับพัฒนาการเด็กปฐมวัยของโรงเรียนในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. วารสารบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร. 3(1), 95-100.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น ราชกิจจานุเบกษา. (2561). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ให้ใช้มาตรฐานการศึกษา ระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ. เล่ม 135 ตอนพิเศษ 235 ง วันที่ 24 กันยายน 2561.

รัตนาภรณ์ ยาประเสริฐ สิทธิชัย มูลเขียน และสังวาร วังแจ่ม. (2566). การจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยของโรงเรียนในอำเภอไชยปราการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 13(3), 44-59.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). มาตรฐานสถานพพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ. กรุงเทพฯ : บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2. (2564). แผนปฏิบัติการ ปีการศึกษา 2564 .กาฬสินธุ์ : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2.

สุวิมล ว่องวานิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น (พิมพ์ครั้งที่ 3) ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สุนทร หลักคำ และคณะ. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยสำหรับเด็กอายุ 3 ปี โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. ร้อยเอ็ด : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of Psychological Testing. 3 rd.ed. New York : Harper and Row.

Krejcie, R. V. & Morgan, D.W. (1970). Determination sample size for research activites. Education and Psychology Measurement, 30(3), pp. 607-610.