การศึกษาความต้องการจำเป็นการพัฒนาทักษะในการรับมือกับการคุกคามทางโลก ออนไลน์สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นการพัฒนาทักษะในการรับมือกับการคุกคามทางโลกออนไลน์สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพผู้ให้ข้อมูลหลัก ครูสังกัดสำนักงานคณะกรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 4 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม ด้านทักษะในการรับมือกับการคุกคามทางโลกออนไลน์ สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ โดยเก็บข้อมูลในขอบเขต 5 มิติ ได้แก่ บทบาท (role) อารมณ์ความรู้สึก (emotion) การรับรู้ (perception) เจตคติ (attitude) และพฤติกรรม (behaviors) สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการศึกษา 1. ความต้องการจำเป็นของครูเกี่ยวกับความฉลาดทางดิจิทัล ด้านทักษะในการรับมือกับการคุกคามทางโลกออนไลน์ พบว่า มีความต้องการสื่อออนไลน์เน้นให้นักเรียนเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์ สถานการณ์จริง และเครื่องมือวัด ประเมินการรับรู้และรับมือการคุกคามทางโลกออนไลน์ของนักเรียน 2. ประสบการณ์ของผู้ใช้เกี่ยวกับการพัฒนาความฉลาดทางดิจิทัล ด้านทักษะในการรับมือกับการคุกคามทางโลกออนไลน์ ทั้ง 5 มิติ พบว่า 1) มิติบทบาท ครูจัดการเรียนการสอนตามเนื้อหาในหนังสือและสอดแทรกข่าวเหตุการณ์ และออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ตามเนื้อหาในหนังสือเรียน 2) มิติอารมณ์ความรู้สึก ครูรู้สึกว่าตนเองขาดความรู้และทักษะในการให้คำปรึกษาแก่นักเรียนที่ถูกคุกคามทางโลกออนไลน์ที่ถูกต้องและถูกวิธี 3) มิติการรับรู้ ครูมีความเห็นว่าการประเมินทักษะในการรับมือกับการคุกคามทางโลกออนไลน์ค่อนข้างมีความซับซ้อน ต้องการแบบประเมินทักษะที่วัดทักษะได้ง่าย 4) มิติเจตคติ ครูมีความคิดเห็นว่า การส่งเสริมทักษะในการรับมือกับการคุกคามทางโลกออนไลน์ เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องให้ความรู้แก่นักเรียน โดยใช้ประสบการณ์ของนักเรียน คนรู้จัก หรือจากข่าวมาเรียนรู้ร่วมกันรับมือและป้องกันภัยอย่างถูกวิธี และ 5) มิติพฤติกรรม ครูต้องการชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เรียนรู้จากประสบการณ์จริง และนำไปใช้ได้จริงในชีวิต
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความในวารสารนี้ไปเพื่อการค้าหากำไร
References
กิตติ ละออกุลและ พรสุข ตันตระรุ่งโรจน์. (2562). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ส่งเสริมทักษะการรู้ดิจิทัลที่ใช้เทคนิคระดมสมอง ด้วยการออกแบบอินโฟกราฟิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ, 20(2), 1-13.
จิตติมา ดีพันธ์ และคณะ. (2564). ปัจจัยทางจิตและสังคมที่สัมพันธ์กับภูมิคุ้มกันทางใจในการโดนกลั่นแกล้งรังแกบนโลกออนไลน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารมนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 43(1), 92-110.
วิจารณ์ พานิช. (2558). ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2566). เอกสารประกอบการประชุมสนามสอบสอบ V-NET ปีการศึกษา 2566.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2563). การวิจัยการออกแบบทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. การยกระดับคุณภาพการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2566 จาก https://moe360.blog/2023/01/06/6166/
Saul McLeod. (2017). Kolb’s Learning Styles and Experiential Learning Cycle. SimplyPsychology. Retrieved from https://www.simplypsychology.org/learning-kolb.html