การศึกษาสภาพปัญหาความต้องการจำเป็นจากประสบการณ์ผู้ใช้ในรายวิชา การวัดละเอียดเพื่อพัฒนาทักษะของนักเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาความต้องการจำเป็นจากประสบการณ์ผู้ใช้ในรายวิชาการวัดละเอียดงานช่างยนต์เพื่อพัฒนาทักษะของนักเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ กลุ่มเป้าหมายในการให้ข้อมูลประกอบด้วย ครูในสาขาอุตสาหกรรมที่สอนรายวิชาวัดละเอียดสังกัดกรมอาชีวะศึกษาในจังหวัดสกลนคร จำนวน 12 คน นักเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยเทคนิคสกลนคร จำนวน 100 คน และนักออกแบบนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้จากมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง การวิจัยนี้ใช้วิธีการคิดเชิงออกแบบเพื่อทำความเข้าใจผู้ใช้ ความรู้สึกและต้องการอะไรในประสบการณ์การสอนรายวิชาวัดละเอียด วิธีการนี้ประกอบด้วย 5 มิติ ได้แก่ บทบาท (role) อารมณ์ความรู้สึก (emotion) การรับรู้ (perception) เจตคติ (attitude) และพฤติกรรม (behaviors) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาความต้องการจำเป็นจากประสบการณ์การเรียนในรายวิชาการวัดละเอียดนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยภาพรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ขาดทักษะการใช้เครื่องมือวัดละเอียด ได้เรียนเนื้อหาทฤษฎีมากกว่าปฏิบัติ ได้ลงมือปฏิบัติทำชิ้นงานของตนเองน้อยมาก ส่วนใหญ่จะเป็นงานกลุ่ม บางคนจึงไม่มีโอกาสได้ลงมือปฏิบัติวางแผนการเรียนด้วยตนเอง เพราะส่วนใหญ่ไม่ชอบการคิดคำนวณ การใช้ตัวเลข ไม่ชอบกระบวนการปฏิบัติงานที่ซับซ้อนและครูผู้สอนขาดสื่อการสอนที่ทำให้นักเรียนเข้าใจง่าย ครูต้องการใช้สื่อประสมที่ให้ผู้เรียนสามารถนำไปเรียนรู้ด้วยตนเอง และข้อเสนอแนะในการออกแบบนวัตกรรมจากนักออกแบบให้สร้างสื่อประสมในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาวัดละเอียดด้วยระบบออนไลน์ (google site) เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้จากประสบการณ์ร่วมกับการเรียนรู้แบบนำตนเองซึ่งจะนำไปสู่การพัฒทักษะการวัดละเอียดของนักเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพอย่างแท้จริง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความในวารสารนี้ไปเพื่อการค้าหากำไร
References
ฉารีฝ๊ะ หัดยี, วาสนา บุญส่ง, และ ปิยะ ประสงค์จันทร์. (2566). การพัฒนาหลักสูตรการวัดและประเมินผลการ
เรียนรู้สำหรับการจัดการเรียนรู้ของผู้สอนในระดับอาชีวศึกษาผ่านระบบออนไลน์มัลติแพลตฟอร์ม.
วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้, 18(1), 36-44.
ธีระพล บุญธรรม. (2565). การพัฒนาชุดการสอนวิชางานวัดละเอียดช่างยนต์รหัส วิชา 20101-2009 ด้วยเทคนิคการสอนแบบการฝึกลงมือปฏิบัติงานหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพพุทธศักราช 2562 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารวิจัยและนวัตกรรมการอาชีวศึกษา, 6(1), 104-114.
สุวารี แปงณีวงค์, และ สมเกียรติ ตุ่นแก้ว. (2567). การพัฒนารูปแบบการบริหารการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิ
ภาคีที่รองรับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาอาชีวศึกษากลุ่มภาคเหนือ. วารสาร
วิจัยวิชาการ, 7(1),217-232.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.(2565). หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562 (ปรับปรุงพุทธศักราช 2565) ประเภทอุตสาหกรรมสาขาวิชาช่างยนต์. กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สำนักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมอาชีวะ
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2560). แผนพัฒนาการอาชีวศึกษา 2560 -2579. กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
Ananda, L. R., Rahmawati, Y., & Khairi, F. (2023). Critical thinking skills of Chemistry students by
integrating design thinking with STEAM-PjBL. JOTSE: Journal of Technology and
Science Education, 13(1), 352-367.
Knowles, M. (1975). Self-Directed Learning: A Guide for Learners and Teachers. Chicago, IL: Follett Publishing Company.
Kolb, D. A. (2014). Experiential learning: Experience as the source of learning and
development. FT press.
Lazuardi, M. L., & Sukoco, I. (2019). Design Thinking David Kelley & Tim Brown: Otak Dibalik
Penciptaan Aplikasi Gojek. Organum: Jurnal Saintifik Manajemen dan Akuntansi, 2(1),
-11.
Lin, P. Y., Hong, H. Y., & Chai, C. S. (2020). Fostering college students’ design thinking in a
knowledge-building environment. Educational Technology Research and
Development, 68, 949-974.
Wrigley, C., & Straker, K. (2017). Design thinking pedagogy: The educational design ladder. Innovations in Education and Teaching International, 54(4), 374-385.