นาฏกรรมสร้างสรรค์เพื่อการแสดงอัตลักษณ์ทางเพศของกลุ่ม LGBTQ+
Main Article Content
บทคัดย่อ
นาฏกรรมสร้างสรรค์เพื่อการแสดงอัตลักษณ์ทางเพศของกลุ่ม LGBTQ+ มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเรื่องความหลากหลายการสนับสนุนความเสมอภาคของกลุ่มเพศทางเลือกสู่การสร้างสรรค์ผลงานผ่านหมอลำกลอน หมอลำซิ่งร่วมสมัย นาฏกรรมที่สื่อให้เห็นถึงอัตลักษณ์ทางเพศที่อยู่ในสังคมสู่การสร้างสรรค์ผลงานการแสดง ชุด “Pride Zing” โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยการสังเกต การสัมภาษณ์ และสร้างสรรค์ทางนาฏกรรม ผลการวิจัยพบว่า การขับเคลื่อนให้มีการยอมรับของกลุ่ม LGBTQ+ การแสดงออกตามอัตลักษณ์ทางเพศ รสนิยมทางเพศและเพศวิธี ภายใต้หลักการด้านสิทธิมนุษยชน สิทธิความเท่าเทียมกันในสังคม การสนับสนุนความเสมอภาคแสดงออกได้หลากหลายวิธี การสร้างสรรค์นาฏกรรมและองค์ความรู้เกี่ยวกับหมอลำกลอนและหมอลำซิ่งร่วมสมัยผ่านสื่อสารเพื่อการแสดงออกทางอัตลักษณ์ของกลุ่ม LGBTQ+ เพื่อให้สังคมยอมรับว่าเพศทางเลือกควรได้รับสิทธิอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมทางกฎหมาย เป็นการสะท้อนให้เห็นมุมมองอีกด้านของเพศที่สามในสังคม คณะผู้วิจัยจึงเล็งเห็นความสำคัญของผู้ที่มีความหลากหลายได้รับสิทธิอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมทางกฎหมายจึงเป็นแนวความคิดที่อยากถ่ายทอดผ่านการแสดงนาฏกรรมสร้างสรรค์ ที่บ่งบอกถึงความภูมิใจโดยที่ไม่ได้เป็นการเรียกร้องแต่เป็นการสื่อให้เห็นถึงการแสดงพลังและจุดยืนของคนกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า LGBTQ+
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความในวารสารนี้ไปเพื่อการค้าหากำไร
References
กฤตยา อาชวนิจกุล. (2554). เพศวิถีที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปในสังคมไทย. วารสารประชากรและสังคม, 44-66
กัญจิรา วิจิตรวัชรารักษ์, และคณะ (2562). ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมของกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(8), 3759-3772.
นุชเนตร กาฬสมุทร์ และพิทักษ์ ศิริวงศ์. (2560). กระบวนการสร้างอัตลักษณ์ทางเพศของกลุ่มชายรักชาย :กรณีศึกษา นักศึกษาสาขาการโรงแรมและการท่องเที่ยว. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
ราชมงคลศรีวิชัย, 9(1), 56-67.
บุษกร สุริยสาร. (2557). อัตลักษณ์และวิถีทางเพศในประเทศไทย องค์กรแรงงานระหว่างประเทศประจำประเทศไทยกัมพูชาและสาธารณรัฐประชาชนลาว : โครงการส่งเสริมสิทธิความหลากหลายและความเท่าเทียมในโลกของการทำงาน (PRIDE). กรุงเทพฯ : องค์การแรงงานระหว่างประเทศ.ISBN 9789228292558 (pbk.).
วัชราภรณ์ บุญญศิริวัฒน์ (2565). สีรุ้งเริ่มสดใส งานวิจัยเกี่ยวกับการ (ไม่) กีดกัดบุคคลข้ามเพศในการสมัครงาน.คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2547). หลักการแสดงนาฏยศิลป์ปริทรรศน์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสียงชัย สาสีเสาร์. (2564). เพศวิถีในวรรณกรรมคำสอยของหมอลำกลอนและหมอลำซิ่งร่วมสมัย. มหาวิทยาลัย
มหาสารคาม. 161-163
Hatchel, T., Espelage, D. L., & Huang, Y. (2018). Sexual harassment victimization, school belonging, and depressive symptoms among LGBTQ adolescents: Temporal insights. American Journal of Orthopsychiatry, 88(4), 422-430.