แถน:ความเชื่อ พิธีกรรมและภาพสะท้อนในสังคมยุคใหม่ ในบริบทพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือประเทศไทยและสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว

Main Article Content

สุกัญญา โพธิ์ทอง
เฉลิมศักดิ์ บุตรพวง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเชื่อและพิธีกรรมในบริบทพื้นที่ประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งใช้ข้อมูลที่เผยแพร่ในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์ (หนังสือนิทาน หนังสือเรื่องเล่า หนังสือตำนาน บทความ วารสาร) และสื่อออนไลน์ (Facebook และ Youtube ) ซึ่งเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลในระดับทุติยภูมิขั้นที่ 1 ที่อยู่ในฐานข้อมูลในระหว่างปี พ.ศ.2552 – พ.ศ.2566 และวิเคราะห์ด้วยวิธีทางมนุษยวิทยาและคติชนวิทยาจากพื้นที่ประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พร้อมนำเสนอด้วยวิธีการพรรณา ผลการศึกษาพบได้ 3 ประเด็น ดังนี้ 1) แถนกับความเชื่อที่สอดคล้องพิธีกรรมดั้งเดิม 2) ความเชื่อแถนในบริบทพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 3) ความเชื่อแถนในสังคมยุคใหม่ โดยสะท้อนในวิถีชีวิตของคนสองฝั่งแม่น้ำโขงโดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติและประเพณีที่สืบทอดต่อกันมา เช่น การแห่บั้งไฟเพื่อบูชาแถนในการขอฝน การให้แถนเป็นตัวแทนทางความเชื่อในการรักษาโรคและปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย การให้แถนเป็นสัญลักษณ์แห่งความศรัทธาและเป็นสิ่งที่เหนือธรรมชาติที่สืบทอดต่อกันมาตั้งแต่อดีตเรื่อยมาจนถึงยุคปัจจุบันเกี่ยวกับความเชื่อเรื่องแถนที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในวิถีชีวิตของผู้คน

Article Details

How to Cite
โพธิ์ทอง ส. . ., & บุตรพวง เ. . (2024). แถน:ความเชื่อ พิธีกรรมและภาพสะท้อนในสังคมยุคใหม่ ในบริบทพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือประเทศไทยและสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 3(1), 112–124. https://doi.org/10.14456/hsi.2024.9
บท
บทความวิชาการ

References

กัลยา จันทรารักษ์. (2553). โครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเรื่องพญาคันคากพญาคันคาก. สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2567, จาก https://shorturl.asia/9bhBg

ข่าวสด ออนไลน์. (2561). บูชาพญาแถนทำพิธีกรรม ‘ลำผีฟ้า’ ผู้เฒ่าผู้แก่หายเจ็บไข้ สืบทอดประเพณี

บรรพบุรุษ หนังสือชีวิตไทยชุดผีฟ้าพญาแถน. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2566,

จาก https://www.khaosod.co.th/around-thailand.

จตุพล ทองสกล. (2553). การศึกษาพิธีกรรมเลี้ยงแถน บ้านห้วยปาง ตำบลด่าน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์.วารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล, 12(1), 68-81.

ชลธิรา สัตยาวัฒนา. (2562). ความเชื่อเรื่องแถน กับ นาฏพิธีหมอลำผีฟ้าพญาแถน. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2566, จาก https://e-shann.com/13-ความเชื่อเรื่องแถน.

ประยงค์ แสนบุราณ. (2553). ความเชื่อเรื่องพระยาแถนของกลุ่มชาติพันธุ์ในสังคมกลุ่มวัฒนธรรมพื้นบ้านภาคอีสาน. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์, 29(3),1-17.

ยศ สันตสมบัติ. (2537). มนุษย์กับวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

ศรีศักร วัลลิโภดม.(2561). ประเพณีพิธีกรรมที่เปลี่ยนไป. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2566, จาก https://lek-prapai.org/home/view.php?id=935.

สำนักวัฒนธรรมขอนแก่น. (2559). บุญเดือนหก: บุญบั้งไฟ. สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2567, จาก https://cac.kku.ac.th/heet12_kong14.

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2552). หนังสือชีวิตไทยชุดผีฟ้าพญาแถน. กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ. (2560). ประเพณีบูชาผีฟ้า ผีแถน. สืบค้นเมื่อ 4 กรกฎาคม 2566, จาก https://www2.m-culture.go.th/sisaket/ewt_news.

สำเร็จ คำโมง. (2524). อ้างอิงในเอกสารหมายเลข 7 จากการสัมมนาเพลงพื้นบ้านอีสาน. มหาวิทยาลัย

ศรีนครินทรวิโรฒมหาสารคาม.

สีลา วีระวงศ์. (2529). ฮีตสิบสอง. อุบลราชธานี: ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยครูอุบลราชธานี.

ไอยเรศ บุญฤทธิ์. (2561). พลวัตวัฒนธรรมไทดำ : การธำรงกลุ่มชาติพันธุ์ผ่านคติความเชื่อเรื่อง “แถน” ในพื้นที่ประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว.

อู่คํา พมวงสา. (2539). ประวัติศาสตร์ลาว. ขอนแก่น: ภาควิชาประวัติศาสตร์และโบราณคดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

The Royal Institute. (2008). Thai local literature encyclopedia, the northeast, on Thao Hung or Thao Jueng 2. Bangkok: The Royal Institute Publishing.

Wongted, S.(1991). Tao Hung Tao Jueng-The hero of Khong river. Bangkok: Matichon Publishing.