การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริม ความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

จริยา เงาศรี
ภูษิต บุญทองเถิง
สมาน เอกพิมพ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1)  เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการจำเป็นการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2)  เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ 3) เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอน โดยการวิจัยนี้เป็นแบบผสมผสาน ซึ่งแบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานความต้องการจำเป็นการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นระดับประถมศึกษาปีที่ 6 และครูที่สอนวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และแบบสัมภาษณ์ครูผู้สอนคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ PNImodified และข้อมูลเชิงคุณภาพ ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ โดยใช้วิธีการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ระยะที่ 3 การประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอน ได้แก่ กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/13 และกลุ่มควบคุม นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/11 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนอนุบาลร้อยเอ็ด ซึ่งได้จากการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบพอร์ก้า (PORCA Model) จำนวน 12 แผน แบบทดสอบวัดความสามารถการคิดวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติกลุ่มตัวอย่างที่อิสระต่อกัน (Independent Sample t-test) ผลการวิจัยพบว่า


  1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ มีสภาพปัจจุบันในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ โดยรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง และมีสภาพที่ควรจะเป็นโดยมีความต้องการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ โดยรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก

  2. รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีองค์ประกอบทั้งหมด 6 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) หลักการ 2) แนวคิด หลักการ และทฤษฎีพื้นฐาน 3) จุดมุ่งหมาย 4) กระบวนการเรียนการสอน  5) การนำรูปแบบไปใช้ 6) การประเมินผล ใช้ชื่อรูปแบบพอร์ก้า (PORCA Model)

  3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบพอร์ก้า กับรูปแบบปกติมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ หลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ : แผนกเทคโนโลยีสารสนเทศของกระทรวงศึกษาธิการ.

กัญจนา จันทะไพร. (2558). การพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง การบวก การลบ การคูณทศนิยม. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 3(3). 1-11.

ชมนาด เชื่อสุวรรณทวี. (2556). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดขั้นสูงและจิตตนิสัยของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. Silpakorn Educational Research Journal, 5(2), 100-112.

ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ, พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2564). ผลการประเมิน PISA 2018 การอ่านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์. ศูนย์ดำเนินงาน PISA แห่งชาติ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

_______. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สุมาลี ยิ่งยอม. (2565). การพัฒนารูปแบบการสอนที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5. วารสาร มจร พุทธปัญญา ปริทรรศน์, 7(3), 296-305.

ศราวุฒิ พรภูเขียว. (2562). การพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการ คิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ลำดับ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. e-Journal of Education Studies, Burapha University ISSN 2697-3863 (Online), 1(3), 57-79.

Joyce, B., & Weil, M. (2000). Models of teaching (6th ed.) Boston: Allyn and Bacon.

Fraivillig, J. (2001). Strategies For Advancing Children’ s Mathematical Thinking. Teaching Children Mathematics, 8(7), 454-459.