ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ของคะแนนกลางภาคและแรงจูงใจทางจิตวิทยาในการเรียนออนไลน์ด้วยการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ

Main Article Content

สวลี อุตรา
รัชฎา แต่งภูเขียว

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ของคะแนนกลางภาค และเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจทางจิตวิทยาในการเรียนออนไลน์ กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาวิจัยนี้คือ นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชาวัสดุวิศวกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ จำนวน 26 คน วิเคราะห์ด้วยสมการถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ของคะแนนกลางภาคประกอบด้วย ผลการเรียนในภาคเรียนที่ผ่านมา ความคาดหวังระบบการประเมินตนเองในสิ่งแวดล้อม จำนวนรายวิชาที่เรียนในภาคเรียนปัจจุบัน การประเมินตนเองในความช่วยเหลือ และการประเมินตนเองในการบริหารจัดการเวลา ส่วนผลการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจทางจิตวิทยาในการเรียนออนไลน์ คือ ความพึงพอใจในระบบ ความรู้ความเข้าใจในการแก้ปัญหา และความคาดหวังคุณสมบัติของผู้สอน ผลที่ได้จากการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลคะแนนกลางภาคและแรงจูงใจในการเรียน สามารถนำไปพิจารณาปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และในขณะเดียวกันสามารถเป็นแนวทางในการปรับใช้กับรายวิชาอื่น ๆ หรือวิชาปฏิบัติการได้

Article Details

How to Cite
อุตรา ส., & แต่งภูเขียว ร. (2024). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ของคะแนนกลางภาคและแรงจูงใจทางจิตวิทยาในการเรียนออนไลน์ด้วยการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 3(1), 97–111. https://doi.org/10.14456/hsi.2024.8
บท
บทความวิจัย

References

เกตุม สระบุรินทร์, ศราวุฒิ แย้มดี, และ ณัฏฐวัฒน์ ไชยโพธ์. (2559). ทัศนคติและพฤติกรรมของนักเรียนต่อการใช้บทเรียนออนไลน์ด้วยโปรแกรม Moodle กรณีศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 7, 1-9 มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.

จุรีลักษณ์ หมีดนุ้ย, อมิตา หมัดส่า, และ โกมลมณี เกตตะพันธ์. (2565). ปัจจัยการรับรู้ แรงจูงใจที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนออนไลน์ของผู้เรียนในจังหวัดสงขลา. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 13, 14.

ธนพรรณ ทรัพย์ธนาดล. (2554). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอนบทเรียนออนไลน์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา. veridian E-Journal SU, 4(1), 15.

ประเสริฐ เกิดมงคล, พิเชษฐ อุดมสมัคร, และ จันทนา ฤทธิ์สมบูรณ์. (2565). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ของนักเรียนระดับมัธยม ในอำเภอแกลง จังหวัดระยอง. วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 9(1), 20.

ปอรยา สุวรรณสิทธิ์ และน้ำทิพย์ องอาจวาณิชย์. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสาเร็จในการเรียนรู้ทางไกลสาหรับนักเรียน สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดชัยนาท. วารสารสังคมวิจัยและพัฒนา, 4(3), 19.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). การสร้างและพัฒนาแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์. สำนักพิมพ์ประสานมิต.

ศศิธร คงอุดมทรัพย์, และ พงศิษฏ์ ทวิชพงศ์ธร, (2564). การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน : กรณีศึกษา วิชาความน่าจะเป็นและสถิติสำหรับวิศวกรรมของนักเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรือ. วารสารวิทยาศาสตร์ลาดกระบัง, 30(1), 17.

สวลี อุตรา, รัชฎา แต่งภูเขียว, และ ปิยณัฐ โตอ่อน, (2566). โมเดลการวัดการประเมินตนเองในการเรียนออนไลน์ในช่วงสถานการณ์โควิด 19. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 42(4), 15.

Alibak, M., Talebi, H., Neshat-Doost, & Hamid-Taher. (2019). Development and Validation of a Test Anxiety Inventory for Online Learning Students. Journal of Educators Online, 16, 16.

Barnard, L., Lan, W. Y., To, Y. M., Paton, V. O., & Lai, S.-L. (2009). Measuring self-regulation in online and blended learning environments. The Internet and Higher Education, 12(1), 1-6. https://doi.org/https://doi.org/10.1016/j.iheduc.2008.10.005

Cohen, K. (2012). Persistence of master's students in the United States: Development and testing of a conceptual model.

Kintu, M. J., Zhu, C., & Kagambe, E. (2017). Blended learning effectiveness: the relationship between student characteristics, design features and outcomes. International Journal of Educational Technology in Higher Education, 14(1), 7. https://doi.org/10.1186/s41239-017-0043-4

Lee, J., Song, H.-D., & Hong, A. J. (2019). Exploring Factors, and Indicators for Measuring Students’ Sustainable Engagement in e-Learning. Sustainability, 11(4), 985. https://www.mdpi.com/2071-1050/11/4/985

Lim, D. H. M., Michael L.; Kupritz, Virginia W. (2007). Online vs. Blended Learning: Differences in Instructional Outcomes and Learner Satisfaction. Journal of Asynchronous Learning Networks, v11(n2), 27-42.

Pintrich, P. R., Smith, D. A. F., Garcia, T., & McKeachie, W. J. (1993). Reliability and Predictive Validity of the Motivated Strategies for Learning Questionnaire (Mslq). Educational and Psychological Measurement, 53(3), 801-813. https://doi.org/10.1177/0013164493053003024