ภาพลักษณ์ผู้หญิงม้งลาวยุคใหม่ ภาพสะท้อนผ่านบริบทการประกวดเวทีนางงาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพลักษณ์ผู้หญิงม้งลาวยุคใหม่ โดยศึกษาผ่านบริบทการประกวดนางงามและใช้แนวคิดสตรีนิยมในการวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งใช้ข้อมูลจากบทสัมภาษณ์ของปาเย็งซา ลอ มิสยูนิเวิร์สลาว ปี พ.ศ.2566 ที่เผยแพร่ในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์ คือ นิตยสาร บทความ หนังสือพิมพ์ข่าวสาร หนังสือพิมพ์บันเทิง และสื่อออนไลน์ คือ บทสัมภาษณ์บน FACEBOOK บทสัมภาษณ์บน YOUTUBE คลิป INTERVIEW บนสื่อออนไลน์ผ่านเว็ปไซต์ MISSUNIVERSE UPDATE โดยเลือกเก็บข้อมูลการสัมภาษณ์ที่เผยแพร่ในระหว่างวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ.2565 - 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ซึ่งเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลในระดับทุติยภูมิแล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและนำเสนอในรูปของการอธิบายเชิงพรรณนา
ผลการศึกษาพบว่า ภาพลักษณ์ของผู้หญิงม้งลาวยุคใหม่ที่ปรากฏในสังคมลาว มี 3 ภาพลักษณ์ ประกอบด้วย 1. ภาพลักษณ์ผู้หญิงม้งลาวภายใต้กรอบจารีตดั้งเดิม 2. ภาพลักษณ์ของผู้หญิงม้งลาวที่ขัดขืนต่อจารีตดั้งเดิม 3. ภาพลักษณ์ผู้หญิงม้งลาวยุคใหม่ ทั้งนี้ผลการศึกษายังแสดงให้เห็นบทบาทหน้าที่ผู้หญิงม้งลาวในสังคมลาวที่ต้องการที่ออกจากการอยู่ภายใต้อำนาจชายเป็นใหญ่ที่ใช้กรอบของจารีตและขนบธรรมเนียม ประเพณีของชนเผ่าม้งลาวที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิดมาเป็นเครื่องมือกดทับผู้หญิง ทำให้ผู้หญิงไม่มีสิทธิในการเลือกใช้ชีวิตของตนเอง เป็นที่มาของแรงผลักดันให้ผู้หญิงม้งลาวต้องการที่จะก้าวข้ามจารีตดั้งเดิมโดยการนำตัวเองเข้าสู่เวทีสาธารณะ คือเวทีการประกวดนางงามเพื่อแสดงความสามารถให้คนสังคมยุคใหม่เกิดการยอมรับ เข้าใจและเปิดโอกาสให้ผู้หญิงได้มีบทบาทในสังคมมากยิ่งขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความในวารสารนี้ไปเพื่อการค้าหากำไร
References
ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์. (2543). “ปีศาจชื่อ ‘Feminism’: ที่ทางของสตรีนิยมในสังคมไทย” ใน รวมบทความ
ประเพณี สตรีศึกษาครั้งที่ 2. รัฐศาสตร์สาร ปีที่ 21 ฉบับที่ 2. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ณัฐ วิไลลักษณ์. (2566). ไวรัลนางงามลาว ‘ปาเย็งซา ลอ’ สาวม้งที่สร้างประวัติศาสตร์ ผู้ไม่ยอมโดนบังคับให้แต่งงาน. สืบค้นเมื่อ วันที่ 1 พฤษภาคม 2566, จาก: https://www.thepeople.co/read/social.
ณัฐชัย อ่ำทอง และวศิน ปัญญาวุธตระกูล. (2564). นโยบายของรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในการส่งเสริมบทบาทผู้หญิงผ่านสหพันธ์แม่หญิงลาว. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 21(1), 51-63.
ประยูร สุยะใจ. (2558). การปรับตัวในสถานการณ์วิกฤตของชีวิต.สืบค้นเมื่อ วันที่ 1 พฤษภาคม2566, จาก http://oldweb.mcu.ac.th/site/articlecontent_desc.php?article_id=2096&articlegroup_id=330.
เพชรสาคร สมฟองบุตรขัน. (2554). กระบวนการสร้างทางสังคมของความเป็นแม่ในสังคมลาวที่กำลังเปลี่ยนไป. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาสตรีศึกษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
มติชน. (2560). เรื่องของแม่หญิงลาว เด็กหญิง ยังคงตกเป็นเหยื่อทารุณกรรมทางเพศ. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2566, จาก: https://www.matichonweekly.com.
ลำพอง คัญทะลีวัน. (2551). ภาพตัวแทนผู้หญิงในนิตยสารของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวช่วงปี ค.ศ. 2002–2007, วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสตรีศึกษา คณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุชาดา ลิมป์. (2562). Special Scene พิธีผู่-โอบกอดผู้หญิงม้งเมื่อชีวิตคู่ล้มเหลว. สืบค้นเมื่อ วันที่ 1 พฤษภาคม 2566, จาก https://www.sarakadee.com/2019.
อรอนงค์ โฆษิตพิพัฒน์. (2562). แนวคิดสตรีนิยม: การสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของสตรีในการพัฒนาท้องถิ่น. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 7(1), 1-18.
Weiner, G. (1994). Feminisms in education: an introduction. Buckingham: Open University Press.