การรับรู้และการคาดหวังของผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐต่อการดำเนินนโยบาย ร้านสวัสดิการแห่งรัฐ
Main Article Content
บทคัดย่อ
รัฐบาลได้กำหนดยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม โดยให้ความสำคัญกับการลดความเหลื่อมล้ำ เป็นโครงการประชารัฐ ภายใต้ชื่อร้านธงฟ้าเพื่อพัฒนาท้องถิ่น และบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เป็นโครงการที่รัฐบาลช่วยเหลือทางด้านสังคมกับผู้มีรายได้น้อย การวิจัยนี้จึงศึกษาการรับรู้และการคาดหวังของผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐต่อการดำเนินนโยบายร้านสวัสดิการแห่งรัฐในจังหวัดชลบุรี ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) แนวปรากฏการณ์วิทยา โดยเลือกตัวอย่างแบบเจาะจงในจังหวัดชลบุรี เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก สังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และจดบันทึกข้อมูลจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และผู้ประกอบการร้านสวัสดิการแห่งรัฐในจังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจำนวน 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และการบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) การรับรู้ของผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และผู้ประกอบการร้านสวัสดิการแห่งรัฐต่อการดำเนินนโยบายร้านสวัสดิการแห่งรัฐ ด้านสิทธิ์และประโยชน์ของการมีการใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ สามารถรับรู้ได้จากการดูโทรทัศน์ รับรู้จากการเล่นโซเซียลมีเดีย (Facebook) รับรู้จากญาติบอกต่อ รับรู้จากป้ายประกาศของธนาคารกรุงไทย และรับรู้จากเทศบาลหรือผู้ใหญ่บ้านมาสำรวจในพื้นที่ และยังมีประชาชนบางส่วนที่ยังไม่ทราบสิทธิ์ และประโยชน์ของการมีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2) การคาดหวังของผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และผู้ประกอบการร้านสวัสดิการแห่งรัฐ มีดังนี้ อยากได้วงเงินในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเพิ่มเป็น 500 บาทต่อเดือน เพื่อช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในครัวเรือนของผู้มีรายได้น้อย อยากให้นโยบายร้านสวัสดิการแห่งรัฐช่วยเหลือค่าชุดนักเรียนให้บุตรทุกปี และอยากให้โครงการร้านสวัสดิการแห่งรัฐและการช่วยเหลือจากวงเงินในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ มีต่อไปเพื่อช่วยให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความในวารสารนี้ไปเพื่อการค้าหากำไร
References
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2559). คู่มือปฏิบัติงาน (Operation Manual) ธุรกิจค้าส่งค้าปลีก คู่มือปฏิบัติงานกิจกรรมยกระดับมาตรฐานคุณภาพบริหารจัดการธุรกิจค้าส่งค้าปลีก. กรุงเทพฯ: กระทรวงพาณิชย์.
กองส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจ กรมการค้าภายใน. (2560). หลักเกณฑ์การรับสมัครและคัดเลือกร้านค้าธงฟ้าประชารัฐที่รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2561, จาก https://www.dit.go.th/FILE/CONTENT_FILE/256009221737038779571.pdf
ณัฏฐ์ ระมั่งทอง และวิจิตรา ศรีสอน. (2564). โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐกรณีศึกษาตําบลหนองปลิง อําเภอเมืองจังหวัดนครสวรรค์. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 6(2), 51-61
บุรฉัตร จันทร์แดง เสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร สัญญา เคณาภูมิ. (2562). นโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐกับมาตรการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ. วารสารรัชต์ภาคย์, 13(31), 1-13.
ธานี สุวรรณไตรย์ และศรีรัฐ โกวงศ์. (2559). ความคาดหวังที่มีต่อกระบวนการขับเคลื่อนการจัดทำบริการสาธารณะ แนวใหม่ในชุมชน: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลคำชะอี อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร. วารสารการบริหารปกครอง, 5(2), 221-236.
วีระวัฒน์ ภัทรศักดิ์กำจร. (2564). ปัญหากระบวนการกำหนดนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ, วารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา, 9(2), 18-38.
ศุภมาศ ปลื้มกุศล. (2559). อัตลักษณ์ขององค์กรจากการรับรู้ของพนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทย. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(1), 23-33.
สมพล ทุ่งหว้า. (2561). พฤติกรรมผู้บริโภคและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด(7Ps) ของร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม (โชห่วย). ใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติครั้งที่ 41 และนานาชาติครั้งที่ 5 (หน้า 143-156). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ร่างยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579). สืบค้นเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562, จาก http://www.nesdb.go.th/article_attach/article
Creswell, JW. (1998). Qualitative Inquiry and Research Design: Choosing Among Five Traditions. Thousand Oaks, CA: Sage.
James P. Spradley. (1979). The Ethnographic Interview. The University of Michigan. Holt, Rinehart, and Winston.
Nastasi, B. K., & Schensul, S. L. (2005). Contributions of qualitative research to the validity of intervention research. Journal of School Psychology, 43(3), 177-195
Pablos-Mendez, A., Cavanaugh, K., & Ly, C. (2016). The new era of health goals: universal health coverage as a pathway to the Sustainable Development Goals. Health Systems & Reform, 2(1), 15-17.
Patton, MQ. (1990). Qualitative Evaluation and Research Methods. Second Edition. Newbury Park, CA: Sage.
Thai news. (2561). จำนวนผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ในจังหวัดชลบุรี. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2562, จาก (http://.prd.go.th/th/news/print_news/WNSOC6112210010045)