ผลของโปรแกรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ตำบลหนองแคน อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

กฤษฎา หาสีงาม
ลาวัลย์ บาลศิริ

บทคัดย่อ

โรคเบาหวานเป็นสาเหตุโดยตรงของการเสียชีวิตประชากรโลก 1.5 ล้านคน ในปี 2562 ทั้งนี้ผู้ป่วยเบาหวานนานๆ ไป โรคเบาหวานจะทำอันตรายต่อหัวใจ หลอดเลือด ดวงตา ไต และ ระบบประสาท การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง และมีวัตถุประสงค์ศึกษาผลของโปรแกรมป้องกันภาวะแทรกซ้อนเบาหวานโดยประยุกต์ใช้รูปแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ เพื่อพัฒนาพฤติกรรมป้องกันภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวาน กลุ่มทดลองจำนวน 30 คน ได้รับโปรแกรมที่ประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพมาใช้พัฒนาพฤติกรรมเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ตำบลหนองแคน อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด กิจกรรมประกอบด้วยการบรรยายประกอบสื่อ การให้ดูวีดีโอ การอภิปรายกลุ่ม และการสร้างแนวทางการปฏิบัติตัว ระยะเวลาดำเนินการ 12 สัปดาห์ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยคะแนนภายในกลุ่มใช้สถิติ Paired Sample t-test กำหนดระดับความเชื่อมั่น 95%


ผลการทดลอง ภายหลังการทดลองพบว่า การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเบาหวาน การรับรู้ความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนแทรกซ้อนของผู้ป่วย การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเบาหวาน การรับรู้อุปสรรคของการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเบาหวาน และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีค่าเฉลี่ยมากกว่ากว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยทางสถิติ p-value<0.001 ข้อเสนอแนะ สามารถนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้ในการป้องกันภาวะเสี่ยงของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้


Article Details

How to Cite
หาสีงาม ก., & บาลศิริ ล. (2022). ผลของโปรแกรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ตำบลหนองแคน อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 1(2), 60–72. https://doi.org/10.14456/hsi.2022.14
บท
บทความวิจัย

References

ณัฐนิชา หาญลือ, สุภัสสร สิมอุด, สุวิมลรัตน์ รอบรู้เจน และ ภคิน ไชยช่วย. (2561). ประสิทธิผลโปรแกรมดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 1(2), 20-31.

ดวงเดือน หันทยุง, วรพล แวงนอก และ วรากร เกรียงไกรศักดา. (2559). ผลของโปรแกรมประยุกต์ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบ้านไผ่. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 11 (1), 36-51.

ฐานข้อมูล HostXP โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดู่ฝายใหญ่. (2564). รายงานผู้ป่วยประจำเดือนมิถุนายน 2564. (เอกสารสำเนา)

ระบบคลังข้อมูลสุขภาพ. (2565). อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่ขึ้นทะเบียน และมารับการรักษาในเขตพื้นที่รับผิดชอบ. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2565, จาก http://203.157.184.9/hdc/reports/report.php?source=pformated/format1.php&cat_id=b2b59e64c4e6c92d4b1ec16a599d882b&id=e9fb648fe9f1858878714a410222eef1

วรกร วิชัยโย, เพ็งศิริ จงสมัคร, สิริพร ชัยทอง และ ศิริษา โคตรบุดดา. (2564). ผลของโปรแกรมการประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและผู้ป่วยโรคเบาหวาน อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 14 (2), 25-35.

สายใจ โพนาม. (2558). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ตำบลฟากห้วย อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 10 (1), 108-130.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2547). ชีวสถิติที่ใช้ในงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : บริษัท

ส.เอเซียเพรส (1989) จำกัด.

Centers for Disease Control and Prevention. (2022). Living With Diabetes. Retrieved May 20, 2022 from https://www.cdc.gov/diabetes/managing/index.html

Chohen. J. (1988). Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences. Retrieved August 5, 2022 from https://www.utstat.toronto.edu/~brunner/oldclass/378f16/readings.

National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases. (2016). Symptoms & Causes of Diabetes. Retrieved August 5, 2022 from https://www.niddk.nih.gov/health.

World Health Organization. (2021). Diabetes. Retrieved January 12, 2022 from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/diabetes.

Rosenstock, I.M. (1974). Historical Origins of the Health Belief Model. Health Education

Monographs, 2, 329-333.

Janz, K.N. and Backer, H. M. (1984). The Health Belief Model: A Decade Later. Health Education Quarterly, 11 (1), 1-47.

Singh, A., Niranjan, A. S., Singh, A., Meena, S., and Sial, S. (2021). Effectiveness of an Educational Intervention via Health Belief Model in Promoting Self Care Behavior in Type II Diabetes Mellitus Patients in Lucknow Province of Uttar Pradesh, India: Randomized Controlled Trial. International Journal of Contemporary Medical Research, 8 (2), 22-27.