ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการสั่งอาหารผ่านแอพพลิเคชันบนสมาร์ตโฟน ของผู้บริโภคในเขตภาคตะวันออก

Main Article Content

ดวงรัตน์ เหลืองอ่อน
คณิติน จรโคกกรวด
ณัชชา รวินนทกิจ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านคุณภาพการให้บริการ ปัจจัยด้านส่วนประสมตลาดบริการ และปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยี ที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการสั่งอาหารผ่านแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนในเขตภาคตะวันออก เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) มีเครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามออนไลน์ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ.ผู้บริโภคที่เคยใช้บริการสั่งอาหารผ่านแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนที่อาศัยอยู่ในเขตภาคตะวันออก จำนวน 450 คน ที่มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน โดยมีค่าความเที่ยงของแบบสอบถามออนไลน์ (α) เท่ากับ .95 แล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้จากแบบสอบถามมาวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานและและการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านคุณภาพการให้บริการ ปัจจัยด้านส่วนประสมตลาดบริการ และปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยี ที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการสั่งอาหารผ่านแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนในเขตภาคตะวันออก ในด้านต่าง ๆ โดยรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และจากผลทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยด้านคุณภาพการให้บริการ ปัจจัยด้านคุณภาพการให้บริการ ปัจจัยด้านส่วนประสมตลาดบริการ และปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยี ไม่มีตัวแปรใดที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการในด้านความถี่การใช้บริการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

มาร์เก็ตเธียร์. (2565). ตลาดฟู้ดเดลิเวอรี่ ยิ่งกดสั่ง ยิ่งแข่งกันสนุกกว่าเดิม. สืบค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2565, จาก https://marketeeronline.co/archives/218958.

Ayre, C., & Scally, J. (2014). Critical Values for Lawshe’s Content Validity Raio: Revisiting the Original Methods of Calculation. Measurement and Evaluation in Counseling and Development, 47(1), 79-86.

Boom, B. H., & Bitner, M. J. (1981). Marketing Strategies and Organization Structures for Service Firms. In: Marketing of Services. Chicago: American Marketing Association.

Cochran, W. G. (1953). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons. Inc.

Cronbach, L.J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16(3), 297-334.

Davis, F. D. (1989). Perceived usefulness, perceived ease of use, and user acceptance of information technology. MIS Quarterly, 13(3), 319–339.

Jun, K., Yoon, B., Lee, S., & Lee, D. S. (2021). Factors Influencing Customer Decisions to Use Online Food Delivery Service during the COVID-19 Pandemic. Foods (Basel, Switzerland), 11(1), 64.

McCarthy, E. Jerome. (1978). Basic marketing: A managerial approach (6th ed.). Illinois: Richard D. Irwin, Inc.

Wu, W. J. (2013). How can online store layout design and atmosphere influence consumer shopping intention on a website?.” International Journal of Retail & Distribution Management, 42(1), 4-24.

Zeithaml, V. A., Parasuraman, A., & Berry, L. L. (2013). Services marketing: Integrating customer focus across the firm. New York: McGraw-Hill.

Zhou, T. (2013). An empirical examination of continuance intention of mobile payment services. Decision Support Systems, 54 (2), 1085-1091.

Zhu, L., Li, C., & Phongsatha, S. (2021). Factors influencing purchase intention toward online food delivery service: a case study of experienced consumers in Hunan Province. China. AU EJournal of Interdisciplinary Research (ISSN: 2408-1906), 6(2), 103-112.