การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชากฎหมายว่าด้วยทรัพย์สินของนิสิตหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง (Flipped Classroom)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของนิสิตหลักสูตรนิติศาสตร์บัณฑิตที่เรียนวิชากฎหมายว่าด้วยทรัพย์สินด้วยการจัดการเรียนรู้นอกห้องเรียน โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง (Flipped Classroom) 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชากฎหมายว่าด้วยทรัพย์สินของนิสิตหลักสูตรนิติศาสตร์บัณฑิตก่อนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง (Flipped Classroom) กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนิสิตระดับปริญญาตรี คณะสังคมศาสตร์ ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา นต211 กฎหมายว่าด้วยทรัพย์สิน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 59 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยของการสุ่ม (Sampling Unit) แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มเดียวสอบก่อนและหลัง (One-Group Pretest-Posttest Design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับทาง 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง เรื่อง กฎหมายว่าด้วยทรัพย์สิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-test) แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (Dependent) การหาคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ (RG)
ผลการวิจัยพบว่า
- พัฒนาการทักษะการเรียนรู้ของนิสิตหลักสูตรนิติศาสตร์บัณฑิตที่เรียนวิชากฎหมายว่าด้วยทรัพย์สินด้วยการจัดการเรียนรู้นอกห้องเรียน โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง (Flipped Classroom) อยู่ในระดับสูง
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชากฎหมายว่าด้วยทรัพย์สินของนิสิตหลักสูตรนิติศาสตร์บัณฑิต คณะสังคมศาสตร์ หลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง (Flipped Classroom) สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความในวารสารนี้ไปเพื่อการค้าหากำไร
References
กาญจนา จันทร์ช่วง. (2560). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาสังคมศึกษา เรื่อง เศรษกิจพอเพียงโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต (การวิจัยและพัฒนาหลักสูตร). ปทุมธานี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี.
กุลิสรา จิตรชาญาวณิช, และเกศราพรรณ พันธุ์ศรีเกตุ คงเจริญ. (2563). วิธีการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กฤตนุ วิเศษประสิทธิ์. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิดบูรณาการแนวคิดห้องเรียนกลับด้านที่มีต่อการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต (วิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชวาล แพรัตกุล. (2536). เทคนิคการวัดผล. กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช.
ณัซรีน่า อุเส็น. (2559). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับทางที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนการเรียนรู้ด้วยตนเอง และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต (การสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์). ปัตตานี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2524). รูปแบบของผลการเรียนในโรงเรียน. ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรนีครนิทรวิโรฒ.
พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์. (2561). ผลของการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับทางร่วมกับการศึกษาบันเทิงที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลักภาษาไทย และความสุขในการเรียนของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต (วิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้), กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ตถาตาพับลิเคชั่น จำกัด.
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2540). รวมบทความทางการประเมินโครงการ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2544). วิธีวิทยาการประเมินทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุภาพร สุดบนิด. (2557). การเปรียบเทียบความรับผิดชอบต่อการเรียน เจตคติต่อการเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ ตามแนวคิดห้องเรียนกลับทาง (Flipped Classroom) และกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต (วิจัยและประเมินผลการศึกษา). มหาสารคาม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย มหาสารคาม.
สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์. (2544). แผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. ชัยนาท : ชมรมพัฒนาความรู้ด้านระเบียบกฎหมายและพัฒนาวิชาชีพครู.
สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2557, พฤศจิกายน 5). ห้องเรียนกลับทางห้องเรียนมิติใหม่ในศตวรรษที่ 21. [ออนไลน์] จาก http://www.mbuisc.ac.th/phd/academic/flipped%20classroom2.pdf. [สืบค้นข้อมูลเมื่อ 06 สิงหาคม 2564]
อมรรัตน์ รัชตทวีกุล. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบห้องเรียนกลับทางที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนวรรณคดีไทยของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6. ปริญญา การศึกษามหาบัณฑิต (วิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อุทุมพร จามรมาน. (2535). การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดคุณลักษณะผู้เรียน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : ฟันนี่พลับริชชิ่ง.
Anastasi, Anne. (1982). Psychological Testing. 6 th.ed. New York : Macmillan. Publishing Co. Inc.
Eysenck, J., Arnold, W., and Meili, R. (1972). Encyclopedia of Psychology. London : Search Press Limited
Gagne, R. M. (1970). The Condition of Learning. New York : Holt, Rinchart and Winston.