ความสามารถทางการจัดการสื่อสารกับการปรับตัว ของแรงงานกัมพูชา จังหวัดจันทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสามารถทางการจัดการสื่อสารกับการปรับตัวของแรงงานกัมพูชา จังหวัดจันทบุรี และเพื่อศึกษาระดับการปรับตัวของแรงงานชาวกัมพูชา จังหวัดจันทบุรี และเพื่อหาความความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถทางการจัดการสื่อสารกับการปรับตัวของแรงงานกัมพูชา จังหวัดจันทบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แรงงานกัมพูชา จังหวัดจันทบุรี จำนวน 1,816 คน กำหนดขนาดตัวอย่างใช้สูตรของทาโร่ยามาเน่ ได้ขนาดของตัวอย่าง จำนวน 328 คน และทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติหาค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า ความสามารถทางการสื่อสารของแรงงานกัมพูชา จังหวัดจันทบุรี โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านความสามารถความรู้สึก อยู่ในระดับมาก ด้านความสามารถทางการปฏิบัติ และด้านความสามารถทางความคิด อยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ และการปรับตัวของแรงงานกัมพูชา จังหวัดจันทบุรี โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านมีความสุข กินดีอยู่ดี อยู่ในระดับมาก รองลงมาด้านทำงานได้อย่างประสบความสำเร็จ ด้านการนับถือและสัมพันธ์ที่ดีเยี่ยม และด้านความคุ้นเคยกับวัฒนธรรมไทย อยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ ส่วนผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่าความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถทางการจัดการสื่อสารกับการปรับตัวของแรงงานกัมพูชา จังหวัดจันทบุรี มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ดังนั้น ผู้ประกอบการที่มีการจ้างแรงงานกัมพูชา ควรสนับสนุนการเรียนรู้ทางภาษาและการสื่อสารในรูปแบบต่างๆ ให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อความสะดวกสบายต่อการอยู่ร่วมกันระหว่างคนไทยกับแรงงานกัมพูชา ประกอบกับควรจัดกิจกรรมให้แรงงานกัมพูชากับแรงงานคนไทยร่วมทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อให้แรงงานกัมพูชามีการเรียนรู้วัฒนธรรมของคนไทยที่แท้จริง ที่จะช่วยให้สามารถปรับตัวได้ดีขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความในวารสารนี้ไปเพื่อการค้าหากำไร
References
ขวัญชนก พันธุฟัก. (2554). การสื่อสารและการปรับตัวของแรงงานกัมพูชาในสังคมไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญา นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต, คณะนิเทศศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จันทนา ห่านรุ่งชโรทร. (2542). การปรับตัวของแรงงานต่างชาติ : ศึกษาเฉพาะกรณีแรงงานในจังหวัดสมุทรสาคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
จารุวัฒน์ เกยูรวรรณม และ วิทยากร บุยเรือง. (2555). บันทึกเดินทาง : ข้ามชาติ สร้างเมือง. กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์คนทำงาน.
ธัชชา วิทยวิโรจน. (2552). ความสามารถทางการสื่อสารและการปรับตัวทางวัฒนธรรมของชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
เมตตา วิวัฒนานุกูล. (2548). การสื่อสารต่างวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิพิมพ์ ศรบังลังก์. (2555). การทำให้แรงงานข้ามชาติเป็นปัญหาความมั่นคง ศึกษากรณีพม่าในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว. (2558). จำนวนคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานคงเหลือทั่วราชอาณาจักร ประจำปี 2558. กรุงเทพฯ : กลุ่มงานการจัดระบบองค์การเอกชนการเคลื่อนย้ายบุคคลตามข้อตกลงการค้าเสรีและสารสนเทศ.
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว. (2565). สถิติจำนวนคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานคงเหลือทั่วราชอาณาจักร ประจำเดือน สิงหาคม 2565. กรุงเทพฯ : กลุ่มงานพัฒนาระบบควบคุมการทำงานของคนต่างด้าว.
สุนทรี ยี่ร้า. (2552). การปรับตัวของแรงงานพม่าในเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.
Taro Yamane. (1970). Statistics : An Introductory Analysis, (2nd ed.). Tokyo : John Weather-hill
Young Yun Kim. (1995). Cross-cultural adaptatiom : an integrative theory intercultural Communication Theory. California : Wadsworth.