การมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านวังไทร ตำบลถ้ำใหญ่ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของสมาชิก 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับการเปิดโอกาสของผู้นำชุมชนกับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาของสมาชิกชุมชน และ 3) เพื่อทราบปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาของสมาชิกชุมชน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวมรวมโดยใช้แบบสอบถาม สมาชิกชุมชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนบ้านวังไทร โดยกลุ่มตัวอย่างคือสมาชิกที่อยู่ในวัยทำงาน จำนวน 73 ราย และผู้นำชุมชน จำนวน 10 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และการทดสอบแบบยู (TheMann-Whiney Utest) ผลการวิจัย พบว่าข้อมูลพื้นฐานของชุมชนด้านปัจจัยด้านสังคม สถานภาพทางสังคม (ร้อยละ 88.00) เป็นสมาชิกในชุมชน และ (ร้อยละ12.00) เป็นผู้นำชุมชน และ (ร้อยละ72.60) ทั้งสองกลุ่มส่วนใหญ่ไม่มีการเข้าร่วมกลุ่มใด ๆ ส่วนระดับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของสมาชิก ในภาพรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง ประกอบด้วย ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ และด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล และการเปรียบเทียบระดับการเปิดโอกาสของผู้นำชุมชนกับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาของสมาชิกชุมชน พบว่า ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ และด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (p≤0.01) ในส่วนของปัญหาอุปสรรคในการเปิดโอกาสของผู้นำชุมชน ผลการวิจัยพบว่า ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ปัญหาที่ประสบ คือ การเข้าถึงข้อมูลของทางราชการและวิถีการบริหารทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนและบางส่วนยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาของชุมชน ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานปัญหาที่ประสบคือ มีสมาชิกในชุมชนขาดความรู้ความเข้าใจในการจัดทำหรือร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ในชุมชนและบางส่วนยังไม่สนใจ ที่ใช้เวลาว่างไม่ก่อให้เกิดประโยชน์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความในวารสารนี้ไปเพื่อการค้าหากำไร
References
ณรงค์ศักดิ์ สาธิตศานนท์. (2550). การพัฒนาการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของประชาชนบ้าน ทุ่งมหา ตำบลปากคลอง อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร, ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชา ยุทธศาสตร์การพัฒนา, มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี.
ยุทธศักดิ์ บัวแก้ว. (2553). การพัฒนาการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของประชาชนในเขตอำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี, ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา, มหาวิทยาลัย ราชภัฏอุดรธานี.
วรชาติ แก้วก่า. (2552). การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของคณะกรรมการชุมชนในเขตเทศบาล ตำบล พรรณานิคม อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร, ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขา ยุทธศาสตร์การพัฒนา, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
วิษณุ หยกจินดา. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน หมู่บ้านทุ่งกร่าง ตำบลทับไทร อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี, วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการจัดการ ภาครัฐและเอกชน, มหาวิทยาลัยบูรพา.
เศรษฐไชย หทัยวรรธน์. (2551). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การ บริหารส่วนตำบลน้ำพี้ อำเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์, วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาประชาคมเมืองและชนบท, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
องค์การบริหารส่วนตำบลถ้ำใหญ่. (2560). แผนพัฒนาสามปี, เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่, อำเภอทุ่งสง, จังหวัด นครศรีธรรมราช.
อนงค์ แสงสว่าง. (2554). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาสามปีขององค์การบริหารส่วน ตำบลสงเปือย อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น, ปริญญานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, สาขา รัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
อรรณพ เนตรทิพย์. (2551). การมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในตำบลดงพญา อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน, วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารและพัฒนา ประชาคมเมืองและชนบท, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.