จิตรกรรมหลวงพระบาง ผลกระทบต่อสังคมก่อนและหลังปี ค.ศ.1995 LUANGPRABANG PAINTING: THE EFFECTS ON SOCIETY BEFORE AND AFTER A.D.1995

Main Article Content

วัชรินทร์ สินศิริ Wacharin Sinsiri

Abstract

                งานวิจัยเรื่อง จิตรกรรมหลวงพระบาง  ผลกระทบต่อสังคมก่อนและหลังปี ค.ศ.1995  นี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ  มีวัตถุประสงค์การวิจัย คือ 1) ศึกษาประวัติความเป็นมาของผลงานจิตรกรรมในแขวงหลวงพระบาง  2) ศึกษาเนื้อหาแนวคิด  รูปแบบของงานจิตรกรรมในแขวงหลวงพระบาง  3) ศึกษาผลกระทบต่อสังคมสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว  ด้านการศึกษา ศาสนา เศรษฐกิจ และความเชื่อทางวัฒนธรรม ก่อนและหลังปี ค.ศ. 1995 โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสาร และกลุ่มตัวอย่างจำนวน 18 คน ได้แก่ ศิลปินที่สร้างผลงานจิตรกรรมที่มีผลกระทบต่อสังคมในหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวก่อนและหลังปี ค.ศ. 1995 จำนวน 8 คน และหลังจำนวน 10 คน โดยวิเคราะห์ผลงานศิลปกรรมร่วมสมัยจำนวน 59 ชิ้น ใช้การสัมภาษณ์เจาะลึก การสนทนากลุ่ม และการระดมความคิดเห็นแบบมีส่วนร่วม

ผลการศึกษาพบว่า จิตรกรรมหลวงพระบางในยุคต้นได้รับอิทธิพลรูปแบบจากอาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรสยามและอาณาจักรพม่า – ไทใหญ่ ซึ่งมีอายุในช่วงปี ค.ศ.  1900 เป็นต้น โดยปรากฏจิตรกรรมทั้งภายในอาคาร และภายนอกอาคาร จิตรกรรมหลวงพระบางที่ได้รับอิทธิพลของศิลปะตะวันตกแบบร่วมสมัยเริ่มปรากฏขึ้นในช่วงปี  ค.ศ. 1940 ในยุคอาณานิคม และได้รับการพัฒนาเรื่อยมาจากศิลปินชาวต่างชาติและภาครัฐบาล จนมีการก่อตั้งสถาบันวิจิตรกรรมแห่งชาติ ขึ้นในปี ค.ศ.  1959 พร้อมๆกับการส่งนักศึกษาชุดแรกไปศึกษาต่อทางด้านจิตรกรรมยังประเทศเวียดนาม เมื่อจบการศึกษา ในปี ค.ศ.  1964  บัณฑิตกลุ่มนี้จึงกลายเป็นผู้นำทางด้านจิตรกรรมในแขวงหลวงพระบาง และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวโดยทำหน้าที่เป็นทั้งครูผู้สอนจิตรกรรมและศิลปิน ในปี ค.ศ.  1970  เริ่มมีการก่อตั้งแกลเลอรี่เพื่อจำหน่ายผลงานให้กับนักท่องเที่ยวในแขวงหลวงพระบาง และทำให้มีการติดต่อซื้อผลงานกับต่างประเทศจนงานจิตรกรรมของแขวงหลวงพระบางเป็นที่รู้จักแพร่หลายในปัจจุบัน ด้านเนื้อหาแนวคิดและรูปแบบของงานจิตรกรรมสามารถจำแนกจิตรกรรมหลวงพระบางออกได้เป็นสามกลุ่ม คือ 1) กลุ่มศิลปินที่ได้แนวคิดมาจากวิถีชีวิต (Way of  Life) สิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัวหรือสิ่งที่ได้พบเห็นจากการดำเนินชีวิตของชุมชน วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อทางศาสนา 2) กลุ่มศิลปินที่แสดงเนื้อหา แนวคิดเกี่ยวกับบริบทของสังคม เช่น ความเหลื่อมล้ำของสังคม ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง และความยากจนของประชาชน  3) กลุ่มศิลปินที่นำเสนอรูปแบบอารมณ์ และการแสดงออกของผลงาน เช่น สี และการจัดรูปทรง (Colour and Form)

ด้านผลกระทบของจิตรกรรมหลวงพระบางในช่วงก่อนปี ค.ศ. 1995  พบว่า ด้านสังคม ความงดงามของจิตรกรรมหลวงพระบางช่วยพัฒนาจินตภาพ และยกระดับจิตใจของผู้คนในสังคมเชิงคุณธรรม จริยธรรม และสติปัญญาให้ดีขึ้น ด้านการศึกษา จิตรกรรมหลวงพระบางคือต้นแบบจิตรกรรมของชาติ
ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดการจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนทางด้านจิตรกรรมและมีการจัดตั้งโรงเรียนวิจิตรศิลป์อย่างเป็นรูปธรรมในปี ค.ศ. 1959 ด้านศาสนา จิตรกรรมหลวงพระบางมีส่วนในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา โดยทำให้คำสอนและธรรมะปรากฏเป็นรูปธรรมที่สามารถเข้าใจได้ง่าย
ด้านเศรษฐกิจ ปรากฏอยู่ในการรับใช้ชนชั้นสูง ซึ่งจิตรกรรมหลวงพระบางถือเป็นสิ่งทรงคุณค่าและสามารถแสดงออกถึงสถานะในทางเศรษฐกิจของผู้อุปถัมภ์การสร้างจิตรกรรม ด้านความเชื่อทางวัฒนธรรม จิตรกรรมหลวงพระบางได้ถ่ายทอดความจริงที่เป็นสากล  เช่น ความไม่เที่ยง ความพลัดพราก ที่มนุษย์ทุกคนต้องประสบ  หรือพลังแห่งความกรุณาปราณีที่โอบอุ้มมนุษยชาติเอาไว้โดยปรากฏอยู่ในจิตรกรรมที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา ผลกระทบของจิตรกรรมหลวงพระบางในช่วงหลังปี ค.ศ. 1995  ด้านสังคม จิตรกรรมหลวงพระบางสมัยใหม่สามารถยกระดับภาพลักษณ์ของประเทศให้กลายเป็นชาติที่มีศิลปะและวัฒนธรรมแบบสากล และสร้างความร่วมแรงร่วมใจกันระหว่างประชาชนและความเป็นรัฐชาตินิยม
ด้านการศึกษา กลุ่มศิลปินศิลปะร่วมสมัย (Contemporary art) ในหลวงพระบางได้มีการจัดการแสดงผลงานต่างๆ มากขึ้น จนเกิดเป็นการยกระดับการศึกษาจิตรกรรมของชาติในระดับภูมิภาค ด้านศาสนา จิตรกรรมหลวงพระบางยังคงมีส่วนในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา ในด้านการสร้างความเป็นรูปธรรมให้กับหลักธรรมคำสอนในศาสนา ด้านความเชื่อทางวัฒนธรรม ผลงานจิตรกรรมหลวงพระบางได้ทำหน้าที่ทางศิลปะคือ เป็นตัวประสานความงาม ความดี และความจริงให้เป็นหนึ่งเดียวกันโดยแสดงออกผ่านทางผลงานแบบสัจจะนิยมสมัยใหม่ซึ่งผสมผสานกันระหว่างความเชื่อในหลักธรรมคำสอนชองพระพุทธศาสนาและแนวคิดปรัชญาตะวันตกสมัยใหม่

 

          The  research LUANGPRABANG painting that affects on society before and after 1995.

the objectives of this reseearch were as follows. 1) To study history of yaiming in Luang Prabang. 2) To study the concepts ang styles of painting in Luang Prabang. 3) To study the paintings that had an impact on society in education, religion and cultural beliefs of Luang Prabang before and after 1995. The study was qualitative research that focused on contemporary art. The research data was collected form documents, indepth interviews, group discussion and cooperative brainstorming. Were analyzed by using the concepts of aesthetic theory, mythology and the theory of creative thinking.

          The research found that the paintings of Luang Prabang during the time before 1995

reflected the beauty of traditional life style of lao people in the past. With historical value, these paintings have passed through the ages gracefully. The artists could create their work and clearly relay the life style of people in Lao society. In addition , the paintings of Luang Prabang during the time after 1995 reflected that the basis of simple life, traditions, culture, religion and social beliefs which is the graceful identity of the Lao people. The majority of the artists’ work were in the style of Impressionism, while others were in the combination of Cubism. A minority of them were Abstract Art and Neo-Impressionism.

         The research also revealed that the painting of luang Prabang had 4 impacts on society, namelyin education, religion and cultural beliefs.

1)      Painting with social impact. This reflects the important stories from the past to the present. Psychological response.

2)      The impact on Education. The Lao PDR government had encouraged and sent students to study abroad in the art field. After graduating, they came back to gradually develop art education in Luang Prabang. Consequently, the National Seiss Institute of Paonting was set up.

3)      The impact on Religion. Art has played an important role as a moral basis. Painting clearly reflects religious ptinciples that influeneces the actions, beliefs and faiths of people so that they are gentle and conduct themselves in a decent way.

4)      The impact on Cultural Beliefs. Painting is a good medium to encourage people to be good and truthful and can inspire them to be faithful and gain peace of mind and transcendence.

Article Details

How to Cite
Wacharin Sinsiri ว. . . . ส. (2016). จิตรกรรมหลวงพระบาง ผลกระทบต่อสังคมก่อนและหลังปี ค.ศ.1995 LUANGPRABANG PAINTING: THE EFFECTS ON SOCIETY BEFORE AND AFTER A.D.1995. Journal of Fine and Applied Arts Khon Kaen University, 8(2), 315–339. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/fakku/article/view/93367
Section
Research Articles