วัฒนธรรมการบรรเลงดนตรีไทใหญ่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน Tai Yai’s Musical Performing Culture in Mae Hong Son Province

Main Article Content

ขำคม พรประสิทธิ์ Kumkom Pornprasit

Abstract

งานวิจัยเรื่องวัฒนธรรมการบรรเลงดนตรีไทใหญ่ จังหวัดแม่ฮ่องสอนมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบรรเลงดนตรีไทใหญ่ที่ปรากฏในจังหวัดแม่ฮ่องสอนและรวบรวมทำนองเพลง ผลการวิจัยพบว่าการตีกลองก้นยาวกับการฟ้อนมือปรากฏกระสวนทำนอง 16 รูปแบบจำแนกได้ 2 กลุ่ม การตีกลองก้นยาวกับการฟ้อนดาบปรากฏกระสวนทำนอง 22 รูปแบบมีการเลือกใช้เสียงที่ดังมากที่สุดคือเสียงเปิ้ง การตีกลองก้นยาวกับการฟ้อนนกมีสำนวนห่างๆประกอบกับสำนวนที่ลดรูปหรือทอนและลักษณะถามตอบ การตีกลองก้นยาวกับการฟ้อนโตใช้เสียงเปิ้งและยังคงรูปแบบการลดรูป การตีกลองก้นยาวกับการแห่มีความหลากหลายและพบการกำมือทุบลงหน้ากลองเป็นเสียงทุม ทำนองกลองมองเซิงกับการฟ้อนมีพยางค์เสียงถี่ มีการรวบทำนองให้ถี่เฉพาะช่วงท้ายของกลุ่มทำนองและการตีลักจังหวะ  การตีกลองมองเซิงในการแห่พบ 4 ลักษณะสำคัญ การบรรเลงดนตรีจ้าดไตพบการใช้เสียงครบ 7 เสียง ไม่มีการแปรทำนอง ปรากฏเสียงลูกตกส่วนใหญ่เป็นเสียงโด พบลักษณะการซ้ำทำนอง มีทั้งการเว้นและการเพิ่มพยางค์เสียงคละกัน มีทำนองลักจังหวะ ทำนองถามตอบ การสะบัดเข้าไปในทำนองเพลง การใช้เสียงคู่ 4 และคู่ 5 ร่วมดำเนินทำนอง  เพลงสำนวนเดียวกันมีการเปลี่ยนระดับเสียง  ทำนองยืนเสียงคล้ายลูกโยนและทำนองคล้ายสำเนียงฝรั่ง การตีมองกากปรากฏทำนองสำคัญ 3 ลายคือลายก้นยาวปรากฏ 4 รูปแบบ ลายมองเซิงปรากฏ 3 รูปแบบและลายนกหมาบุ๊กปรากฏ 4 รูปแบบ 

 

This research project aims to study Tai Yai music performance in Mae Hong Son province as well as collect the repertoire of their musical tradition.  The findings show that sixteen drumming patterns accompanying dancing are found.  These patterns can be categorized into two types: (1) twenty-two patterns for an accompaniment of dancing and (2) drumming for procession.  Sword dancing applies the Peung sound, the most flamboyant sound of drumming pattern.  The drumming pattern for bird dancing characterizes thin-texture phrases, asking-answering phrases, and shortened phrases in half.  A drumming pattern accompanying a lion-like creature dance consists of the Peung sound and shortened phrases in half.  The processional drumming patterns includes a variety of techniques as well as a hitting technique by a fist making “tum” sound.  Mong seung drumming patterns is characterized by tensing texture at the ending of phrases and syncopation.  There are four tyeps of Mong seung drumming patterns.  Jat Tai of Tai Yai music utilizes all seven pitches without an application of musical variation.  The ending pitch is usually ended with “Do” pitch.  Repetitive motives, adding, and omitting melodic syllables, syncopation, question-and-answer phrases, triplets, a fourth and fifth interval are found in melodic lines.  Metabole, tonic-pendulum, western-like melodic lines are also found in Tai Yai compositions. Mong-gak patterns reveals three types of patterns: (1) four patterns of Lai kon yao; (2) three patterns of Lai Mong seung; and (3) four patterns of Lai Mabook.

Article Details

How to Cite
Kumkom Pornprasit ข. พ. (2016). วัฒนธรรมการบรรเลงดนตรีไทใหญ่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน Tai Yai’s Musical Performing Culture in Mae Hong Son Province. Journal of Fine and Applied Arts Khon Kaen University, 8(2), 206–229. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/fakku/article/view/93359
Section
Research Articles