การออกแบบงานวิจัยทางนาฏยศิลป์ กรณีศึกษาการสร้างงานนาฏยศิลป์ไทยเพื่อการอนุรักษ์และสร้างสรรค์สำหรับคนรุ่นใหม่ Research design of Dance : Thai Dance Creation Using Conservation and Creative Ideas for the New Generation

Main Article Content

มาลินี อาชายุทธการ Malinee Achayutthakan

Abstract

                  การอออกแบบการวิจัยเป็นขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญที่ช่วยผู้วิจัยให้สามารถวางแผน กำหนดโครงสร้าง และวิธีการต่างๆ เพื่อให้ได้คำตอบของการวิจัยอย่างชัดเจน  โดยเฉพาะการทำวิจัยเกี่ยวกับงานนาฏยศิลป์ที่สามารถวางแผนได้หลากหลายขึ้นอยู่กับกรณีที่ศึกษา  จึงเลือกใช้เครื่องมือต่างๆในการปฏิบัติการวิจัยได้หลายวิธี จากหลายเครื่องมือ โดยบทความนี้ได้ใช้กรณีศึกษาจากงานวิจัยเรื่องการสร้างงานนาฏยศิลป์ไทยเพื่อการอนุรักษ์และสร้างสรรค์สำหรับคนรุ่นใหม่   นำมาเป็นตัวอย่างประกอบการอธิบายเพื่อให้เกิดความเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น  ซึ่งงานวิจัยดังกล่าวได้ออกแบบการวิจัยให้ใช้เครื่องมือต่างๆ ได้แก่ 1) การสำรวจข้อมูลเชิงเอกสาร 2) ร่วมสัมมนา 3) การทำการแสดงซ้ำ โดยทดลองสร้างการแสดงชุด “เพนดูลัม” ขึ้นใหม่และประเมินผลเพื่อหาวิธีการทำงาน 4) สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้แสดงและบุคคลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง  5) สื่อสารสนเทศอื่นๆที่เกี่ยวข้อง  6) การสำรวจข้อมูลภาคสนาม 7) การทดลองสร้างผลงานการแสดงเพื่อทดสอบแนวคิด    8) เกณฑ์มาตรฐานศิลปินทางด้านนาฏยศิลป์   ทั้งนี้ยังนำตัวอย่างขั้นตอนการปฏิบัติการวิจัยมาประกอบเพื่อให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของการออกแบบการวิจัยด้วย

            เมื่อการออกแบบการวิจัยสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย     ย่อมส่งผลให้คำถามการวิจัยที่ถูกตั้งขึ้นสามารถตอบประเด็นปัญหา นำมาซึ่งผลของการวิจัยที่ตรงตามวัตถุประสงค์ของงานวิจัยนั่นเอง

 

          Research design is one of the most significant steps in carrying out a research project because it allows a researcher to formulate a plan, structure, and a method.  Research in dance can be plotted in many ways it depends upon a case study of each individual project which can be drawn upon a variety of methods and several types of tools.  This article is based upon a research project that employs a case study of conserving and promoting a creative work of Thai dance for a new generation.  The inquiry deals with a research process including the following: (1) document survey; (2) organizing a seminar; (3) reproducing “Pendulum” with a post-production evaluation; (4) interviewing experts, dancers; and related individuals, (5) surveying interactive-media on the subject, (5) conducting a fieldwork; (6) a production and experimentation of a performance to test a hypothesis; and (7) applying a set of standardized criteria for dance artists.  All seven methods are shown in the article as an example of a coherent research design. 

          When a research design complies with research objectives, research findings will be precisely obtained according a set of research questions.

Article Details

How to Cite
Malinee Achayutthakan ม. . อ. (2016). การออกแบบงานวิจัยทางนาฏยศิลป์ กรณีศึกษาการสร้างงานนาฏยศิลป์ไทยเพื่อการอนุรักษ์และสร้างสรรค์สำหรับคนรุ่นใหม่ Research design of Dance : Thai Dance Creation Using Conservation and Creative Ideas for the New Generation. Journal of Fine and Applied Arts Khon Kaen University, 8(2), 144–160. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/fakku/article/view/93343
Section
Research Articles